Google เสียงอ่อนกรณี CalDAV API ยอมเปิดให้นักพัฒนาทุกคนเข้าถึงได้แล้ว

ถ้าเราจำกันได้ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Google ได้ประกาศว่า CalDAV ซึ่งเป็นมาตรฐานเปิดสำหรับการเข้าถึงข้อมูลปฏิทิน (calendar) ผ่านเว็บจะกลายเป็น API สำหรับพันธมิตรและนักพัฒนาเฉพาะกลุ่มของ Google ที่ได้รับการคัดเลือกเท่านั้น หลังจากนั้น Google ก็ได้รับข้อเรียกร้องให้กลับมาพิจาราณาให้ CalDAV สามารถเข้าถึงได้สำหรับนักพัฒนาทุกคน ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มตลอดมา

มาในวันนี้ Piotr Stanczyk ซึ่งเป็น Tech Lead ของ Google ได้ทบทวนนโยบายใหม่ตามข้อเรียกร้องของนักพัฒนา ให้สามารถเข้าถึง CalDAV API สำหรับนักพัฒนาทุกคนอีกครั้ง (We are keeping the CalDAV API public. And in the spirit of openness.) โดยสามารถเข้าถึงด้วย endpoint ใหม่ที่ https://apidata.googleusercontent.com/caldav/v2

ในด้านของ CardDAV API ซึ่งมาตรฐานเปิดสำหรับการเข้าถึงข้อมูลติดต่อ (contact) ผ่านเว็บ Piotr Stanczyk ได้ประกาศว่านักพัฒนาทุกคนสามารถเข้าถึง API ดังกล่าวได้แล้ว พร้อมทั้งแนะนำการเข้าถึงผ่าน OAuth 2.0 อีกด้วย

ที่มา: Google Developers Blog

Google ยกเลิกการสนับสนุน XMPP API

น่าจะเป็นการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตายของ Google ที่จะกีดกัน Microsoft อย่างชัดเจนอีกครั้ง เพราะ Microsoft ซื้อ Skype และควบรวม Messenger ของตัวเองเข้า Skype เพื่อเสริมแรงให้ตัวเอง และป้องกันการมาของ Google Talk และ Hangouts ที่อยู่ใน Google+ และ Gmail ที่ Google สนับสนุนบริการคล้ายๆ กัน

แน่นอนว่าตลาด Skype ที่รวมเอา Messenger เข้ามาด้วยนั้นใหญ่กว่า Google Talk และ Hangouts มาก อีกทั้งโฆษณาว่า Outlook.com ดีกว่า Gmail ก็มาตีคู่อยู่ตลอด Google พยายามดันให้ Hangouts กำลังเข้ามาแบ่งชิ้นเค้กของ Skype ที่เสริมทัพด้วย Messenger เดิมของตนทำให้ Google ต้องรีบดัน Hangouts ที่รวมเอาทุกๆ อย่างที่เดียวกับ IM ของตัวเองออกมา ซึ่งต้องยอมรับว่าบริการ Chat ของ Google นั้นกระจัดกระจายมาก

แต่เมื่อไม่นานมานี้ Microsoft เอา Outlook.com เชื่อมต่อกับ Google Talk ผ่าน XMPP API ตีคืน Hangouts ที่กำลังจะเกิด ทำให้ Outlook.com ติดต่อได้ทั้ง Skype, Outlook.com, Hotmail.com, Live.com, Passport.net, Facebook และ Google Talk ในหน้าเดียว และในอนาคตทั้ง Windows 8, Windows phone 8 และบริการอย่าง Skype คงตามมาแน่ๆ ทำให้ Microsoft ได้เปรียบในตลาดนี้เข้าไปอีก

มาวันนี้ Google กำลังยกเลิกการสนับสนุน  XMPP API (Google Drops XMPP Support – Slashdot) ซึ่งมามุขเดียวกับพอ Microsoft จะสนับสนุน CalDAV แต่ Google ก็ผลักผู้ใช้ไปใช้ Google Calendar API แทนต่อไป หาอ่านได้จากรายงานเก่าของผมที่ชื่อ สำหรับ Google แล้วผู้ใช้งานเป็นเพียงตัวประกันและลูกบอล?

สรุปสั้นๆ ว่าผู้ใช้งานก็ซวยไปอีกรอบครับ ><”

ชีวิตที่ใช้ Google น้อยลง

เหตุผลที่เริ่มใช้ Google น้อยลงคงเพราะใช้ Windows 8 และ Windows phone 8 เป็นหลัก และรู้สึกว่า Google พยายามที่จะดึง Services เหล่านี้ไม่ให้ทาง Microsoft นำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และคาดว่าจะให้ใช้กับ Android และ OS ของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่หลังจาก

  1. ยกเลิก Google Apps แบบฟรี (ก่อนหน้านี้ลดจำนวน user ใน free account ลงเรื่อยๆ)
  2. Google ถอด EAS (Exchange ActiveSync) ออกจาก Free Account ของ Gmail
  3. Google ประกาศปิด CalDAV API และแนะนำให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ Google Calendar API แทน
  4. ยกเลิก Google Reader

ผมก็รู้สึกว่าได้เวลาเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ผมจึงเริ่มค้นหาบริการและระบบที่ทดแทนบริการของ Google เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นตัวประกันและลูกบอลให้ Google อยากทำอะไรก็ได้อีกต่อไป (สำหรับ Google แล้วผู้ใช้งานเป็นเพียงตัวประกันและลูกบอล?) ซึ่งผมก็ได้ย้ายบริการต่างๆ ที่เคยใช้กับ Google เมื่อหลายปีที่ผ่านมาแล้วย้ายออกมาเกือบหมดแล้ว เลยเอารายการมาแบ่งปันครับ

  • Gmail ที่เสียเงินผ่าน Google Apps แต่ไม่สนับสนุน Windows phone 8 ย้ายไปใช้ Office 365, Outlook.com, Hotmail.com และ Yahoo.com
  • Google Talk ย้ายไปใช้ Skype และต่อ Google Talk ผ่าน Outlook.com
  • Google+ เล่นให้น้อยลง และใช้ Facebook และ Twitter เป็นหลัก
  • YouTube ย้ายไปใช้ Vimeo แทน
  • Blogger ย้ายไปใช้ WordPress และติดตั้ง WordPress บน Host ตัวเอง
  • Google Music ปรกติซื้อแต่ใน iTunes
  • Google Photos (Picasa) ย้ายไปใช้ 500px, Flickr และ Facebook แทน
  • Google Reader ยกเลิกบริการและจ่ายค่าบริการให้กับ NewsBlur แทน
  • Google Code ระบบ SVN มันล้าสมัยไปแล้ว ใช้ Git บน GitHub และ BitBucket แทน
  • Google Drive ระบบ Cloud Storage ยังไม่ดีพอ ใช้ SkyDrive, Dropbox, Box และ SugarSync แทน
  • Google Docs ยังมีปัญหากับภาษาไทยและยังทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ (คนใช้ computer ทั่วไป ไม่ใช่ geek) ย้ายมาใช้ Office Web Apps และ Office 365 แทน
  • Google Calendar ระบบ Task และ Note ทำการ Sync ลำบาก ใช้ Outlook, Office 365 และ Yahoo.com แทน

ตอนนี้ที่ใช้จริงๆ มีเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ

  • Google Maps ตัวนี้ยังใช้คู่กับ Bing Maps และ Here Maps อยู่
  • Google Search ตัวนี้ยังเป็นหลัก แต่เริ่มๆ ปรับตัวมาใช้ Bing อยู่บ้างแม้ผลการค้นหาจะยังไม่เท่า แต่ขยะ SEO ก็น้อยกว่า ส่วนพวกงานวิจัยผมเปลี่ยนมาใช้ Microsoft Academic Search แทนแล้ว

ก็หวังว่าคนที่คิดแบบเดียวกันจะได้นำไปปรับใช้กันได้ครับ ;)

Google’s MASTER PLAN!. from Thomas Marsh-Connors on Vimeo.

ปรับ Adsense ให้รองรับหลายๆ ขนาดหน้าจอ (Responsive Design)

กระแส Responsive Design ที่ปรับหน้าของตัวเว็บให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แต่ละแบบที่กำลังเข้าถึงหน้าเว็บนั้นๆ กำลังเป็นหัวข้อที่กำลังทำให้การออกแบบเว็บในปีนี้ แต่ปัญหาของเว็บจำนวนหนึ่งคือตัว Ads ในบางผู้ให้บริการไม่ได้ออกแบบมารองรับและปรับสภาพขนาดแต่อย่างใด ซึ่งเว็บผมก็เจออยู่คือ Adsense นั้นจะเป็นลักษณะความกว้างและสูงตายตัว ทำให้ลำบากต่อการปรับแต่ง

แต่หลังจากที่ได้ค้นหา ก็พบว่ามีคนใช้ Media Query ใน CSS3 มาช่วย แต่ปัญหาคือ การทำแบบนี้จะผิดข้อกำหนดของ Google ที่ไม่ยอมให้ Adsense นั้นอยู่ใน tag “display:none;” หรือหลบด้วยการเลื่อนตำแหน่งไปซ่อน ซึ่งผิด TOS เต็มๆ และยังมีผลทางเทคนิคในเรื่องของการโหลด JavaScript เกินความจำเป็นทำให้หน้าเว็บโหลดช้า

แต่ก็เจอทางออกจนได้จาก Google Approves Responsive AdSense Ads นั้นสามารถใช้โค้ดจาก How to use Google AdSense Ads on Responsive Websites ได้ ผมจึงนำมาปรับแต่งเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอ 4 screen (960px, 800px, 480px และ 320px) ที่ Theme ของ Blog นี้ทำงานอยู่ ตามโค้ดด้านล่างนี้ คราวนี้ Ads ก็รองรับการทำงานควบคู่กับ Theme แบบ Responsive Design แล้วครับ

[javascript]


[/javascript]

ไม่ใช่แค่ปกป้องคนที่ใช้ แต่คนที่ไม่ได้ใช้งานก็ต้องปกป้องด้วย

จากกรณี Don’t drive on glass! Lawmakers want to ban wearing Google Glass while on the road ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากเรื่อง Google Glass กับการถูกละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว โดยในมุมมองส่วนตัวแล้วนั้น ถึง Google Glass จะยังไม่ได้ถูกใช้จริงในสภาพความเป็นจริงมากนัก แต่เมื่อรู้หรือพอเดาออกว่ามันจะเกิดผลอะไร สิ่งที่ต้องทำคือ “ปกป้องคนที่ใช้และคนที่ไม่ได้ใช้งาน” เราไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบอะไรกับคนใช้แค่ไหน แต่การเทียบเคียงกับโทรศัพท์มือถือก็เพียงพอที่จะตีความได้บางส่วน เพราะฉะนั้นมันไม่แปลกที่จะถูกเสนอให้ควบคุมการใช้งานในวงจำกัด นี่ยังไม่รวมไปถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ที่อยู่รอบตัวผู้ใช้งานที่พวกเค้าพร้อมจะพูดละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวได้ทุกเมื่ออีกด้วยจากข่าวก่อนหน้านี้