ไม่ใช่แค่ปกป้องคนที่ใช้ แต่คนที่ไม่ได้ใช้งานก็ต้องปกป้องด้วย

จากกรณี Don’t drive on glass! Lawmakers want to ban wearing Google Glass while on the road ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากเรื่อง Google Glass กับการถูกละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว โดยในมุมมองส่วนตัวแล้วนั้น ถึง Google Glass จะยังไม่ได้ถูกใช้จริงในสภาพความเป็นจริงมากนัก แต่เมื่อรู้หรือพอเดาออกว่ามันจะเกิดผลอะไร สิ่งที่ต้องทำคือ “ปกป้องคนที่ใช้และคนที่ไม่ได้ใช้งาน” เราไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบอะไรกับคนใช้แค่ไหน แต่การเทียบเคียงกับโทรศัพท์มือถือก็เพียงพอที่จะตีความได้บางส่วน เพราะฉะนั้นมันไม่แปลกที่จะถูกเสนอให้ควบคุมการใช้งานในวงจำกัด นี่ยังไม่รวมไปถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ที่อยู่รอบตัวผู้ใช้งานที่พวกเค้าพร้อมจะพูดละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวได้ทุกเมื่ออีกด้วยจากข่าวก่อนหน้านี้

Google Glass กับการถูกละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว

จากข่าว ร้านอาหารในซีแอทเทิลประกาศแบน Google Glass ห้ามนำมาใช้ภายในร้าน นั้น

ผมอ่านความคิดเห็นหลายคนแล้วมีความรู้สึกว่า “คนอื่นจะละเมิดสิทธิ์ของเราไม่ได้นะ มันสิทธิ์ของเรา บลาๆๆ แต่การกระทำของตัวเองกลับกำลังเข้าค่ายละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของคนอื่นอยู่ คำตอบกลับบอกมันเรื่องปรกติ ตูจะทำ จะทำไม”  (╯°□°)╯︵ ┻━┻)

การถ่ายรูปน่ะมันไม่มีปัญหาหรอก ถ้าไม่ได้ไปติดคนอื่นๆ ที่เค้าไม่อยากเข้าในเฟรมของรูปเรา เพราะรูปหรือวิดีโอที่เราบันทึกไปแล้วอาจเอาไปโพส-แชร์ต่อนั้น มันอาจมีปัญหาในภายหลังได้ ซึ่งมันไปละเมิดสิทธิ์คนอื่นเค้าอยู่นะเว้ย

ซึ่งเรื่อง Google Glass ที่โดนแบนก็เพราะเหตุนี้แหละ เพราะถ้ามันถ่ายรูปหรือบันทึกวิดีโอไม่ได้ มันคงไม่มีปัญหาหรอก แต่มันมีปัญหาเพราะมันทำได้ และนั้นแหละคือสิ่ง “อาจ” ถูกนำไปใช้ในการละเมิดสิทธิ์คนอื่นได้ง่ายมากๆ

ผมเคยเขียนเรื่องนี้แบบเต็มๆ ไว้แล้วใน การแอบอ้างหรือนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ แนะนำให้ตามไปอ่านดูครับ