อยากจะเขียนโปรแกรม ควรจะศึกษาโปรแกรมอะไรก่อน ?

คำถาม … อยากจะเขียนโปรแกรม ควรจะศึกษาโปรแกรมอะไรก่อนครับ
ไม่รู้จะไปปรึกษาใครแล้วนะครับ พอดีอยากจะเรียนเขียนโปรแกรม แต่เห็นมีโปรแกรมเยอะมากๆเลย ไม่รู้ว่าโปรแกรมอะไรทำหน้าที่อะไรบ้าง

พี่ๆที่พอจะช่วยผมได้ ช่วยผมทีนะครับ อยากจะศึกษา แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี

ขอบพระคุณมากครับ

ขอบคุณจากใจจริงครับ

จากคุณ : NismoO -[ 22 พ.ย. 47 – 01:25:56 ]

กระทู้จาก Pantip.com ครับ http://www.pantip.com/tech/coffee/topic/JX1662452/JX1662452.html

พอดีว่า พี่เดฟ (ithilien_rp) มาตอบให้ …. เลือกภาษาซักตัว อะไรก็ได้ แล้วก็หา compiler ของภาษานั้นๆ แล้วก็มาหัดเขียนโปรแกรมง่ายๆ พวกรับ input แสดง output คิดเลขง่ายๆ แล้วก็หัดใช้พวก loop

compiler หลายตัวก็ฟรี หลายตัวก็เป็น commercial … แต่ว่าตอนแรกอยากให้หัดกับพวก free compiler ก่อน อันนี้ก็แล้วแต่ภาษาน่ะแหละ ว่าจะหาได้ยากง่ายแค่ไหน เช่น Java กับ .NET สามารถที่จะหา compiler ฟรีได้เลยจาก Sun กับ Microsoft โดยตรง ส่วนภาษาที่มีมาตรฐานกลาง เช่นพวก C/C++ ก็ต้องหา compiler เอา จริงๆ ใช้ MinGW ก็ไม่เลวหรอก หรือว่าจะใช้ Borland C++ command line edition ก็ได้

ไม่อยากให้ไปบ้าตามกระแสบางอย่าง ที่ต้องเล่น professional tools พวก visual studio.net enterprise ตั้งแต่ยังทำอะไรไม่เป็น ….

ค่อนข้าง ok มากสำหรับคนทีี่เพิ่งจะเริ่มทำหรือศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมครับ

อีกคำถามนึงจาก ThaiDev.com ครับ http://www.thaidev.com/board-c/view.php?1068

คำถาม … ความสามารถของ C “ตอนนี้ผมสามารถเขียน C ได้แต่ก็แค่ใช้แก้บัญหาคณิตศาสตร์เท่านั้นอยากทราบความสามารถอืนและแหล่งรวบรวมความรู้ดังกล่าว”

ตอบ …
1) ตอบแบบวิชาการหน่อยๆ ก็ programming language ไม่ว่าจะภาษาไหน .. ก็ถือว่าเป็น universal turing machine (UTM) ทั้งหมด และด้วยความเป็น UTM ทำให้มันมีความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ที่ UTM ตัวอื่นทำได้ และสามารถ emulate การทำงานของ UTM ตัวอื่นได้หมด และเนื่องจากคอมพิวเตอร์แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันก็เป็น UTM ดังนั้นการทำงานทุกอย่างของ computer ตลอดจนโปรแกรมทุกลักษณะ ก็สามารถใช้ภาษา C เขียนได้หมด

2) ตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ก็ จะเขียนอะไรก็ได้หมดน่ะแหละ ที่คุณเคยเห็นบนคอมพิวเตอร์น่ะ (ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิค เสียง ฯลฯ หรือว่าระบบอะไรก็ช่าง .. เขียน OS ยังได้เลย)

ดังนั้น…… ก็แล้วแต่ว่าคุณจะออกแบบโปรแกรมถูกหรือเปล่า จะใช้ data structures กับ algorithm เหมาะสมมั้ย และจะใช้ library อะไร (หรือว่าจะเขียน library ใหม่เอง) เช่นถ้าจะเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับทางกราฟฟิคก็อาจจะใช้ OpenGL อะไรประมาณนั้น เป็นต้น

จากคุณ rp@jp เมื่อ 11:22am (20/11/2004)

ทุกๆ คำถามมีคำตอบครับ วันนี้ผมรวบรวม คำถาม และคำตอบมาให้้อ่านกันเดี่ยวจะหายไปครับ หวังว่าคงมีประโยชน์กันนะครับ

ขอบ่น 1 – “เฮ้ย ทำไมไม่หากันเองก่อนฟร่ะ และหายนะที่จะตามมา”

เดี่ยวนี้เริ่มมีเพื่อนๆ น้องๆ เริ่มขอโน้นขอนี่ทาง IM มากขึ้นไอ้เราก็ไม่มีเวลา แต่เออ ช่วยๆ กันก็ได้เลยหาให้ แต่จนแล้วจนรอดเวลาเราไม่ว่างก็ดันมาถาม โทรหามั้งหล่ะ ทำอย่างกับเราเป็น Technician Support อย่างงั้นหล่ะ ไอ้ช่วยอ่ะช่วยได้ แต่นี่เล่นแม่งเช้าสายบ่ายเย็นก็ไม่ไหวนา …..

หากันเองก่อนได้ไหม Google, Yahoo หรือแม้ต่ MSN Search ใช้หากันก่อนถ้ามันไม่ได้แล้ว ค่อยว่ากันอีกที

ทุกวันนี้มันทำไมเป็นกันแบบนี้ผมก็ไม่เข้าใจว่าที่เค้าเล่นอินเตอร์เน็ตกันเนี่ย เค้าไม่ได้ศึกษาหลักการใช้งาน Search Engine กันเลยหรือไง ถึงได้ใช้กันไม่เป็น

ภาษาก็เหมือนกัน ใช้กันหน่อย ศึกษากันมาตั้งแต่ ป.1 เนี่ยจะม.6 หรือ ม.3 บางคนจะจบ ป.ตรี ยังขี้คร้านจะอ่านมันอีก

ผมเป็นเทวดาหรือไง ถึงให้แปลให้เนี่ย แค่พออ่านออก จับใจความได้ ไม่ได้ถึงขนาดแปลได้เล่าได้เหมือนเจ้าของภาษานะ

เฮ้อ ….. เซง จริงๆ มันเกิดจากอะไรผมไม่แน่ใจนะนิสัย ป้อนเอาๆๆ

แต่สังเกตไหมหล่ะว่า นักเรียนไทย หรือแม้แต่ประชาชน ไทยของเราเข้าร้านหนังสือเป็นอัตราส่วนที่ยังคงน้อยอยู่ ที่อ่านกันจริงจะเป็นหนังสือแนวแฟชั่น มากกว่าส่วนพวกสาระความรู้แบบเต็มๆ ทั้งเล่มแทบจะหาได้ลำบากมาก ส่วนใหญ่จะเอาไปลงแทรกๆ ซะมากแต่ว่าหาคนอ่านได้น้อย เพราะว่ามันไม่น่าสนใจกว่าดาราคนที่เราชื่อชอบเท่าไหร่น่ะซิ

สังคมเรานี่แปลกนะ รายการ Reality Show ตอนนี้ก็ปา ไปหลายรายการแล้วแถมพวกประกวดทางความสวยความงาน ใครได้ก็ดังกันใหญ่ แต่ทีพวกความรู้ โอลิมปิก หรือแข่งขันงานด้านวิชาการต่างๆ เงียบเป็นป่าช้า

“เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา งานวิชาการ และความรู้มากเท่ากับสิ่งที่เป็นมายา สังคมเราอ่อนแอลงเพราะภาพมายาที่คนเหล่านั้นสร้างขึ้น มันกำลังบ่อนทำลายสังคมนี้อย่างช้าๆ และกำลังเห็นผลในเร็ววัน”

มันเลยทำให้เราถูกยัดเยียดความสบายจากสิ่งที่ได้มาง่ายๆ ทั้งการประกวดที่ไปยืดๆ แสดงความสามารถปัญญาอ่อน (บางคน) หรือไปเดินส่ายๆ ร้างเพลงปาวๆๆ แล้วก็ได้รางวัลมา นี่หรือสิ่งที่เรียกว่าสังคมที่จะเป็นสังคมอุดมปัญญา(อ่อนนะซิ)

แต่ผมรู้สึกดีนะในบางแง่ บางช่องรายการทีวีของเรา ยังมีรายการดีๆ ให้ดูบาง ถึงแม้มันจะน้อยก็เถอะ มันก็ยังทำให้เราเพิ่มรอยหยักสมองได้มากกว่าที่ควรเป็น

ถึงแม้ผมจะได้ดูพวก UBC Excite หรือแม้แต่ Discovery ซึ่งมันได้ความรู้อย่างมาก แต่ผมกลับสงสารคนที่ไม่ได้ดู เค้ามีทางเลือกอะไรไหมในการได้ความรู้ต่างๆ มามันน่าแปลกที่เรายัดเยียดภาพมายา แต่ไม่เห็นมีใครยัดเยียดความรู้ให้มั่งเลย

ภาพมายาเหล่านั้น ทำให้เราอยากสบายอย่างนั้นบ้าง วันๆ ไม่ต้องทำอะไร เอาแต่หาคนรัก เอาแต่แก้แค้น หรือแม้แต่ทำงานสบายๆ ซึ่งชีวิตจริงๆ มันมีหรือเปล่าหล่ะ

คนไทยเราเลยได้ภาพว่า เฮ้ย จบไปทำงานแล้วสบาย ไม่ต้องคิดเอง มีหนังหรือละครสักเรื่องไหมหล่ะครับ ที่เป็นแนวสาระ หรือบ่งบอกความเป็นคนให้ความรู้แนวต่างๆ ผมว่ามีอยู่ไม่ถึง 10% และส่วนมากจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะไปเหยียบหางพวกใหญ่ๆ โตๆ ก็มี

เวรกรรมจริงๆ ส่งที่อยู่ในย่อหน้าที่แล้ว ทำให้เราไม่หาอะไรเอง เพราะ “หวัง” ว่าจะมีคนเอาสิ่งเหล่านั้นมาให้ ทั้งๆ ที่ชีวิตจริงมันไม่มีหรอก จะบ้าเหรอ ถ้ามันมีและเจอกันทุกคน คงไม่มีคนจนหรอกครับ เราไม่ยอมรับความจริงในเรื่องนี้กันหรือย่างไร ทำไมถึงได้เป็นกันแบบนี้

“เราเป็นแต่ผู้รับแต่ไมได้เป็นผุ้ให้ หรือให้มากไป จนคนรับคิดว่าไม่ต้องหาเองก็ได้ มีคนให้อยู่แล้ว “

มันเลยทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ว่า เราไม่ต้องทำอะไรนอกจากนอนรอ ความรู้ที่มันวิ่งชนเรา มีคุณครูสอน มีอาจารย์สอน สิ่งที่เค้าไม่สอน คือสิ่งที่ไม่ออก หรือสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทั้งๆ ที่บางครั้งมันมีประโยชน์มากในอนาคต

ตอนนี้ผมเริ่มทำใจกับเรื่องนี้แล้ว บางครั้งเพื่อนผมส่งเมลมา มักจะส่ง links กลับไปหาเองซะมาก อ่านเอง เพราะว่ามันจะมีประโยชน์อะไรถ้าไม่มีใครคิดอะไรเอง แล้วต่อไปประเทศไทยจะแย่ เพราะว่าไม่มีคนคิดเป็น มีแต่คนใช้งาน เราจะล่มสลายแน่ในตอนนั้น เพราะว่านวัตกรรมใหม่ไม่เกิด เงินตราต่างประเทศ จะไหลออกไปเรื่อยๆ จนหมด

แล้ววิกฤตเศรษฐกิจ จะกลับมาเยือนเราอีกครั้งแน่นอนในตอนนั้น เพราะเราใช้แต่ของนอก และเงินตราสำรองที่เป็นเงินดอลล่าหมดประเทศ ….

ผมหวังว่ามันจะไม่เป็นแบบนั้นในช่วงชีวิตผมอีก ……

Firefox จิ้งจอกไฟ ผยองเดช ท้าชน IE หมัดดาวเหนือ …..

มันจะอะไรกันหนักหน่า โลกนี้มันจะหาความสงบไม่มีกันเลยเหรอ ……… อย่างวันนี้ข่าวเรื่องเด็กตกรถเมล์ อีกแล้ว ทำไมช่างเป็นสิ่งที่หดหู่เช่นนี้

เราฝากอะไรไว้กับสังคม หรือผู้ให้บริการทัั้งภาครัฐบาล และเอกชนบ้าง ซึ่งทั้งๆ ที่มันน่าจะเป็นบริการที่ดีเยี่ยม แต่กลับได้ผลกลับมาตรงกันข้ามแบบสุดขั่ว ……

แต่เอาเหอะ เข้าเรื่องของเราดีกว่า ตอนนี้ผมเริ่มปลงๆ กับสิ่งเหล่านี้แล้ว หล่ะ



เมื่อวันที่ 9 ที่ผ่านมาเราได้ต้อนรับ Web Browser “Firefox” ที่ได้ออก Version 1.0 สักทีหลังจากใช้ รุ่นที่ไม่เต็มบาทด้านตัวเลข แต่ประสิทธิภาพ เซงหน้าไอ้พวกเกินบาทอย่าง IE ไปหลายขุม ……. ทั้งด้าน Stable หรือ Security
โอ้วววววววว มันเป็นสวรรค์สำหรับคนใช้งานจริงๆ …….

ส่วนแบ่งของ Web Browser “Firefox” บนโลกจะอยู่ที่ 6% ก็ตาม แต่ทุกอย่างกำลังไปได้สวย ……

จน Microsoft ต้องออกมากล่าวตอบโต้ที่ Security Roundtable Discussion ที่ Sydney เมื่อพฤหัสที่ผ่านมาก Ben English ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่าย Security and Management Product ของ Microsoft กล่าวว่าใน “rigorous code reviews” และบอกว่า Browser ทุกๆ ตัวก็มีความปลอดภัยพอๆ กัน หรือไม่ได้น้้อยหน้าใครเลย

“Because IE is ubiquitous, you hear a lot more about it, but I don’t think that Internet Explorer is any less secure than any other browser out there,” นาย English กล่าว

โอ้ววววว พระเจ้าจอร์จ ……..

ท่านช่างกล่าวได้ เบี้ยงเบนเกินไปหรือไม่ และยังตามด้วยนาย Steve Vamos ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ Microsoft สาขา Australia ว่า “เข้าไม่เชื่อว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของ IE จะถูก Firefox แย่งไปจาก IE ดั่งที่ Mozilla Foundation ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ Firefox browser”

“Steve Vamos, Microsoft Australia’s managing director, agreed, saying he does not believe IE’s market share is under attack following the recent high-profile debut of the Mozilla Foundation’s Firefox browser”

ซึ่งก็อย่างที่บอกหล่ะครับ ตอนนี้ IE โดนโจมตีมากมาย จากเหล่า Hacker, Spyware , Virus และอีกหลากหลายรูปแบบ

ช่างน่าเศร้าหนักที่คนใช้อินเตอร์เน็ตบ้านเราก็ยังใช้ IE อยู่เพราะว่ามันสะดวกกว่า ทำงานได้ง่ายกว่า (อันนี้ไม่แน่) และมันติดมากับ Windows มันเลยได้ส่วนแบ่งไปจาก Browser อื่นๆ ได้ง่ายดาย

ผมว่า เราน่าจะเอาอะไรจากการแข่งขันพวกนี้มาใช้ให้มาก เราทุนคนใช้สิ่งง่ายๆ กันเคยตัว คิดเองกันไม่เป็น ลำบากหน่อย ผมว่าชีวิตมันน่าจะดีขึ้นมากนะ …….

อยากให้ลอง Firefox แล้วจะรู้ถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความปลอดภัย” มันเป็นแบบไหน ……

เดี่ยวมาบ่นต่อแล้วกันไม่ไหวแล้วนอนก่อนดีกว่า ………

ref : Microsoft says Firefox not a threat to IE

อนาคตเราใครกำหนด (2)

“มันน่าจะเป็นสภาวะก้ำกึ่งนะ เช่น เราอาจจะดับดวงอาทิตย์ได้ อาจจะมีชีวิตอยู่ไปจน
จักรวาลสิ้นสุดได้ แต่เราก็จะมีมวลไม่พอจะล้มล้าง sigularity หรือ เราคงหยุดการ
สิ้นสุดของจักรวาลไม่ได้ เพราะชีวิตก็มีกรอบของมัน หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่คำตอบ
สำหรับชีวิตทุกชีวิต ดังนั้นส่วนตัวคิดว่า การกำหนดบทบาทตัวเอง เป็นสภาวะขับเคี่ยว
(dual state nature) ของ self (อัตตา) กับ universe (ปรมัตตา,อนัตตา)
จริงๆคิดว่า อะไรที่ทำแล้วมีความสุขความสงบก็น่าจะเป็นทางออกของชีวิต แต่ปัญหาคือ
ไอ้พวกที่มันไม่คิดอย่างนี้มันมักจะมายุ่มย่ามกับชีวิตเราและทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุข :)

จาก ที่ได้อ่านไปแล้วในตอนแรกนะครับ ก็อย่างที่ว่าไปแล้ว เราคนไทยมอง และกำหนดคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า เค้าเป็นเรา หรือเราเป็นเค้า หรืออย่างไร จริงๆ

ผมว่าไม่ควรกำหนดว่าใครต้องทำอะไรเพื่อใคร ถ้าเค้าไม่เต็มใจทำ แต่ที่แย่กว่าคือ เมื่อเค้าทำตามอย่างที่เราต้องการแล้ว ! ดันไปบอกว่ามันยังไม่ดี หรือยังดีไม่พอ มันดูเป็นการตั้งความหวังในตัวเค้ามากเข้าไปอีก เออ มันกลายเป็นการบันทอน ศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการทำงานรวมถึงกำลังใจ เข้าไปอีก

แต่เหตุและปัจจัยที่ผมได้กล่าวไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้มากนัก แต่อยู่ที่ค่านิยมครับ

สังคมเราเปลี่ยนไปหรือเปล่า ?

เปล่าเลย มันเป็นมาแต่เริ่มมีระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยแล้ว หล่ะ

เราคาดหวังกับการเรียนว่าออกมาต้อง “เข้าไปรับราชการ” กันมากเกินไป เราไม่ได้มองถึงส่วนที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่า “จบออกมาต้องเป็นหัวหน้า หรือผู้สร้าง ในอีกนัยความหมายนึงคือเจ้าของกิจการ รวมถึง สร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา”

รวมถูกสอนให้ “ตาม หรือลอก” มากกว่า “คิด และสร้าง”

ช่างน่าภูมิใจที่เราเป็นนักลอกเลียนที่เก่ง แต่เรากลับสร้างได้น้อยมาก …..

ปัญหาคือ !!!

เราไม่มี R&D รองรับมากเท่ากับคนจบ หรือคนเก่งๆ

คำตอบคือ !!!

มันทำให้เกิดปัญหาคนเรียนเปลี่ยนสายการเรียน เพราะ “เรียนไปแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรได้มากเท่าที่เห็น” หรือ “มองที่ด้านหลังของคำถามมากกว่า ด้านหน้าของคำตอบที่ออกมา”

ก็อย่างที่บอกในตอนที่แล้วว่า “มองผล ก่อนเหตุ” มอง “ตัวงานที่จะทำ มองค่าตอบแทน ค่านิยม หรือความเท่ห์ ก่อนความพอใจ หรือความสนใจ ของเรา”

แล้วจะไปรอดหรือ ……. ?

คนมันไม่มีใจเรียน มองแต่การตอบแทนในอนาคต คือบางคนมองด้านเดียว บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนไปทำไม หรือเอาไปทำอะไร

ตีโจทย์ในการค้นหาตัวเองไม่ออก ก็เหมือนกับ คนเดินป่าไม่รู้ทิศทาง

ชีวิตมันไม่ง่ายเหมือนกับ จีบสาว หรือชงเหล้า ….

ถ้ามันง่ายขนาดนั้น ป่านนี้คงไม่มีคนจนหรอก ….. ซึ่งเรามองแต่ด้านนอก เรามองที่มายา เราโดนการตลาดของ สื่อยัด เขาขยะเข้าหัว ขยะโฆษณาที่พร้อมจะทำให้เราตกเป็นทาสของมันได้ไม่ยาก

ใครเป็นคนกำหนดว่า เราต้องใช้ หรือไม่ใช่สินค้านั้นๆ นอกจากตัวเราเอง แล้วทำไมเราต้องไปตาม มันด้วย

อีกอย่างที่ตอนนี้เราตกเป็นทาส “เทคโนโลยี” มากมายเกินไป …. แถม ไม่ยอมรับในสิ่งที่คนไทยด้วยกันเองผลิต แต่กลับไปชื่นชม สินค้าต่างประเทศ มากกว่า

เพราะเราไม่เคยมองว่ามันดี ทั้งๆ ที่ของที่เราผลิต ต่างประเทศยอมรับมากมาย ขึ้นชื่อว่าสินค้า เกรด A ด้วยซ้ำไป

เรากำลังดูถูกตัวเอง ดูถูกคนในชาติกันเอง มันเลยย้อนกลับมาคนคนรุ่นใหม่ และทัศนคติใหม่ๆ ว่า …

“คุณต้องออกมาทำงาน ไม่ต้องคิดเองหรอก เอาความรู้ที่ได้มา เอามาทำยังไงให้มันขายได้เป็นพอ ส่วนเรื่องอื่น นายจ้างจัดการเอง”

เวรกรรม กลายเป็นว่าเราเป็นเครื่องจักรไปซะแล้ว

เอ้า !!! กลับมาที่เรื่องเราต่อ เท้าความมากเกินไปเดี่ยวออกทะเลอีก ……..

เราจะเห็นได้ว่าสังคมเรานั้นชอบกำหนดตัวบุคคล ทุกๆ คนว่าต้องไปตามนี้มากกว่า จะถามเค้าว่าอยากไปทางไหน เรากำหนดโดยยึดตัวเราว่า เราทำได้ เค้าต้องทำได้ ….

อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นชัด …… และชัดมากคือ มาตรฐานการเรียนการสอน การออกข้อสอบ …

เราสอนให้ทำ ให้ท่อง แต่ไม่ได้สอนให้ “เข้าใจ” ทำให้เราเรียนขั้นสูงแล้วหัวไม่ดี หางก็เสีย สรุป ตายน้ำตื่น ……

ตัวอย่างง่ายๆ คือ พีรามิด …… หรือรากของต้นไม้ …. มันต้องเริ่มจากฐานที่แน่นหรือใหญ่ หรือรากต้นไม้ที่ฝั่งลึกลงไปไปในดิน

แต่เรากลับไปเอาแต่กิ่งได้ ก้าน หรือลำต้น กันก่อน ……

อย่างใกล้ตัวที่สุด เรื่องการเรียนคอมฯ ถ้าไม่เข้าใจหลักการทำงานของคอมฯ คือ Computer Architecture หรือ Computation Theory แล้ว เราจะมองอะไรได้น้อย และเข้าใจมันลำบาก หรืออาจจะแค่ท่องๆ มันเท่านั้น ให้ผ่านๆ ไป แล้วก็สอบ

แล้วอย่างนี้ พอไปเจอตัวต่อไป ก็หน้าหงายครับ เพราะว่ามันใช้พื้นเดิมมาช่วยกัน ปัญหานี้เจอมากับตัวเลยต้องไปนั่งอ่านใหม่อีกรอบ มันถึงจะไม่งง ถึงได้เข้าใจเลยว่าพื้นไม่ดี ก็จบกัน …..

นั้นก็เหมือนกับที่ผมเขียนมายืดยาวครับว่า

“ถ้าไม่รู้จักตัวเอง, ไม่มีจุดยืดที่แน่นอน และสร้างสรรค์ ก็หาทางไปไม่เจอ เราก็จะโดนคนอื่น(สังคม) กระทำอย่างที่เค้าต้องการ รวมถึงค่านิยม และสื่อโฆษณาที่ประดังเข้ามา โดยเฉพาะสังคมที่พร้อมจะเหยียบคุณเมื่อคุณแพ้ได้เสมอ ซึ่งถ้าคุณไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แล้วก็ยากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไข หรือสร้างใหม่ได้ คนรุ่นใหม่ มักจะกลบความอ่อนแอด้วยการแสดงออกไหนหลายรูป ทั้งดี และไม่ดี ความอ่อนแอเหล่านี้ถ้าเราสร้างมันเป็นจุดด้อย มันจะกัดกินเรา แต่ถ้าเราสร้างมันให้กลายเป็นปมเขื่องใจ บอกให้สู้กับมัน น่าจะดีกว่ามันนั่งกลบมันไว้”

(ปมเขื่อง ตรงข้ามกับปมด้อย)

อยากให้คนที่ได้ blog เข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับชีวิต มากกว่าที่จะไหลไปตามกระแสสังคม มันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ว่ามันดีกว่าเราไหลไปแล้ว หาจุดยืนไม่เจอ ……

“คนเราล้มแล้วลุกยืนที่มั่นคงเดินไปในสิ่งที่ต้องการ ดีกว่ายืนแล้วเหมือนคนเมาใครจูงไปไหนก็ไป”

อนาคตเราใครกำหนด

นี่คือคำถามที่ใครหลายคนคิดไว้ในใจ ตั้งแต่ เราเริ่มรู้หลักเหตุ และผล รวมถึงเสรีภาพในด้านต่างๆ

ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน การเรียนก็ดี ทั้งในระดับ ประถมฯ, มัธยมฯ, สถาับันด้านวิชาชีพต่างๆ หรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยฯ (หมายรวมถึงสถาบันที่ว่าด้วยการจบมาได้วุฒิปริญญาตรี) ถึงแม้เป็นการศึกษาที่เราๆควรจะได้ศึกษากันทุกคน หรือย่างน้อยๆ ก็มีความรู้ติดตัว

แต่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดตัวเองเสียแล้ว ในเรื่องที่ว่าเราจะได้เล่าเรียน หรือจะได้เรียนให้สิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่สนใจหรือไม่

เรากลับหันหลัง และมองในสิ่งที่ชอบ ที่สนใจ ที่รัก เป็นงานอดิเรก หรืองานที่ทำยามว่างเท่านั้น

แต่เราหน้าไปหาสิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดแทน น่าแปลกที่สิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดนั้น 80% ของคนที่ทำให้ตัวเองอยู่รอด ไม่มีความสุขในสิ่งที่ทำ เพราะด้วยเหตุและปัจจัยรอบด้าน รุมเร้าให้ต้องทำ เช่น ต้องส่งเสียเหล่าพี่น้องในครอบครัว, ทำให้ได้ดั่งใจพ่อแม่, เพราะตามเพื่อนจนตัวเองลำบาก ฯลฯ ปัญหาอีกมากมายนานับประการนี้ มีปัญหานึงที่เราจะมาพูดกันในวันนี้คือ “ค่านิยมในอาชีพของสังคมไทย”

จริงๆ ไม่อยากหยิบเรื่องเหล่านี้มาพูดหรือมาเขียนหรอก เพราะอาจโดนตีหัว หรือโดนต่อต้านได้ แต่มันรู้สึกว่ามันหน้าจะสะท้อนอะไรในสังคมไทย ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ผมเห็นเพื่อนๆ ผม ,รุ่นพี่ หรือรุ่นน้องผม มักถามผมตอน ม.6 ก่อน Entrance ว่า จะไปต่ออะไรหล่ะ แล้วจบไปอยากทำงานอะไร ผมต่อว่า อยากเรียน “วิทยาการคอมพิวเตอร์” เหล่าคุณครู หรือแม้แต่เพื่อนๆ มองผมด้วยสายตา สงสัยในตัวผมด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่า “ไอ้ฟอร์ด เก่งคอมฯ ตายห่า เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หล่ะ” ทุกคนถามผมด้วยคำถามนี้จนต้องมาอธิบายยืดยาว …….

ใช่ผมอยากเข้า “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นวิชาเอกที่ชื่อดูดี “แต่ผมอยากเรียน” แม่ผม ก็ถามด้วยคำถามนี้เหมือนกัน แต่ก็ด้วยว่าผมยืนกราน แน่วแน่ แล้วท่านก็ปล่อยถามความคิดของผม เพราะท่านให้อิสระกับการตัดสินใจของผมอยู่แล้ว

ทำไมหล่ะ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หางานง่ายกว่า เท่ห์ กว่าด้วย สาวกรี้ด อีกต่างหาก จบไปบอกว่าจบ วิศวกรรม ใครๆ ก็มองว่าคนเก่ง แต่พอบอกว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์ กลับมองเหมือนพวก คนชั้น 2 – 3 ไปได้ ……”

น่าคิดนะ “สังคมไทย เป็นอะไรกันไปแล้ว”

เรามองคนระดับหัวกระทิผิดแนวทางกันไปหรือเปลา่ ???

จริงอยู่คนที่เข้าคณะวิศวกรรม คือคนเก่ง คนมีคะแนน Entrance สูง แต่ที่มันสูงเพราะค่านิยมมิใช่หรือ คนแห่กันไปเข้า คะแนนมันก็ปีนกันไป จนมันสูงโด่ง …….

รากหญ้าแห่งการแก้ปัญหาทั้งหมด คือ “วิทยาศาสตร์” แต่เราคนไทย มอง เป็นเพียงแค่วิชาที่เอามาใช้การอะไรได้ยาก เพราะอะไรหรือ ???

เพราะ “เราไม่ได้ผลิต นวัฒกรรม ต่างๆ ขึ้นใจเอง เราเป็นเพียงแค่ ประเทศผู้ถูกจ้างให้ผลิตสินค้าตามที่ต้องการ” ซึ่งทำให้เรา มองสิ่งที่เรียกว่า “รากแห่งความรู้เป็นเรื่องรองๆ” แทนที่จะมองเป็นเรื่องหลัก

เรามีนักวิชาการที่จบ ปริญญาเอก หรือสูงกว่านี้ นั้นน้อยมาก และในตอนนี้เราน้อยกว่า เวียดนาม แล้ว และเมื่อ 50 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เราได้ส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่อเมืองนอกมากมาย ตอนนี้เค้ากลับมาใช้สิ่งที่ควรมากเพียงใด หลายคนจบมา อุดมการณ์แรงกล้า หวังกลับมาช่วยชาติบ้านเมืองพัฒนา ด้วยแนวคิดใหม่ๆ แต่กลับถูก วัฒนธรรมองค์กรแบบ “ข้าราชการ ไทยเช้าชาม เย็นชาม เ้ข้าเสียส่วนมาก” เพราะทำอะไรเกินหน้าเกินตาเจ้ากระทรวงไป, เจ้านาย หรือหัวหน้า ก็จะโดนเล็งหมายหัว หรือจะโดนยิงหัวเอา ……

นั้นกลับทำให้สังคมไทยเราย่ำอยู่กับที่มานานกว่า 20 ปีีแล้ว เราถูกสิงค์โปร์ และมาเลเซียแซงไปแล้ว ซึ่งในตอนนี้เวียดนาม ก็กำลังตามเรามาติดๆ เรียกได้ว่าเราล้มเมื่อไหร่ โดนเวียดนามเหยียบเมือนั้น ……

อ้าว !!! ………. ไปไกลแล้ว กลับๆๆๆ

ดังเรื่องที่ออกทะเลไปเมื่อด้านบนนั้น จะเห็นได้ว่า เรามองตัวเองผิดกันไป ……..

ในตอนนี้เด็กได้ในสังคมไทยเลือกเรียนที่ “จบออกมาแล้วมีงานทำ”, “จบออกมาแล้วเท่ห์”, “จบออกมาแล้วทำงานสบาย” หรือ “จบออกมาแล้วหวังเพียงมีใบปริญญาติดออกมาเท่านั้น”

จะมีสักกี่คนที่เลือกเพราะ “อยากเรียน”, “สนใจ” และ “อยากรู้”

ช่างน่าเศร้าจริงๆ ที่เท่าที่ผมถามมา 98% หาคนที่เลือกทางเดินชีวิตไม่ได้ ซึ่งคือยังคิดไม่ออกว่าตัวเองชอบอะไร (ค้นหาตัวเองไม่เจอนั้นเอง) หรือสนใจศาสตร์ด้านใด (ในที่นี้ไม่นับพวกหลุดเข้าไปวังวนของสิ่งไม่สร้างสรรค์นะครับ)

ซึ่งผมจากที่ผมได้ อ่านข่าว และได้ประสบ พบเจอ จะว่าเห็นคนที่ชอบ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเรียน และทำงานกับมันด้วยใจรัก ไม่ต่ำว่า 90% นั้นประสบความสำเร็จทั้งนั้น บุคคลเหล่านั้น ได้สิ่งดีๆ ในชีวิตโดยมีความสุขในสิ่งที่ทำ และทำได้ดีด้วย และอีกเช่นกันคนเหล่านี้มักถูกชาวต่างชาติ ชักชวนไปทำงานร่วมกับพวกเค้าที่ต่างประเทศ

“คนเราถ้าสนใจ และชอบในสิ่งที่ทำ ซะอย่าง แม้แต่ทำให้ดวงอาิทิตย์ดับก็ทำได้”

มันเป็นความจริงของโลกนี้นะ ที่คนเราควรจำกำหนดสิ่งที่ตัวเองจะต้องเจอในอนาคต

………………………………………………………..

เดี่ยวมาเขียนต่อนนะครับ ง่วงแล้วไปหล่ะ ………..