Google ยกเลิกการสนับสนุน XMPP API

น่าจะเป็นการต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตายของ Google ที่จะกีดกัน Microsoft อย่างชัดเจนอีกครั้ง เพราะ Microsoft ซื้อ Skype และควบรวม Messenger ของตัวเองเข้า Skype เพื่อเสริมแรงให้ตัวเอง และป้องกันการมาของ Google Talk และ Hangouts ที่อยู่ใน Google+ และ Gmail ที่ Google สนับสนุนบริการคล้ายๆ กัน

แน่นอนว่าตลาด Skype ที่รวมเอา Messenger เข้ามาด้วยนั้นใหญ่กว่า Google Talk และ Hangouts มาก อีกทั้งโฆษณาว่า Outlook.com ดีกว่า Gmail ก็มาตีคู่อยู่ตลอด Google พยายามดันให้ Hangouts กำลังเข้ามาแบ่งชิ้นเค้กของ Skype ที่เสริมทัพด้วย Messenger เดิมของตนทำให้ Google ต้องรีบดัน Hangouts ที่รวมเอาทุกๆ อย่างที่เดียวกับ IM ของตัวเองออกมา ซึ่งต้องยอมรับว่าบริการ Chat ของ Google นั้นกระจัดกระจายมาก

แต่เมื่อไม่นานมานี้ Microsoft เอา Outlook.com เชื่อมต่อกับ Google Talk ผ่าน XMPP API ตีคืน Hangouts ที่กำลังจะเกิด ทำให้ Outlook.com ติดต่อได้ทั้ง Skype, Outlook.com, Hotmail.com, Live.com, Passport.net, Facebook และ Google Talk ในหน้าเดียว และในอนาคตทั้ง Windows 8, Windows phone 8 และบริการอย่าง Skype คงตามมาแน่ๆ ทำให้ Microsoft ได้เปรียบในตลาดนี้เข้าไปอีก

มาวันนี้ Google กำลังยกเลิกการสนับสนุน  XMPP API (Google Drops XMPP Support – Slashdot) ซึ่งมามุขเดียวกับพอ Microsoft จะสนับสนุน CalDAV แต่ Google ก็ผลักผู้ใช้ไปใช้ Google Calendar API แทนต่อไป หาอ่านได้จากรายงานเก่าของผมที่ชื่อ สำหรับ Google แล้วผู้ใช้งานเป็นเพียงตัวประกันและลูกบอล?

สรุปสั้นๆ ว่าผู้ใช้งานก็ซวยไปอีกรอบครับ ><”

ชีวิตที่ใช้ Google น้อยลง

เหตุผลที่เริ่มใช้ Google น้อยลงคงเพราะใช้ Windows 8 และ Windows phone 8 เป็นหลัก และรู้สึกว่า Google พยายามที่จะดึง Services เหล่านี้ไม่ให้ทาง Microsoft นำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และคาดว่าจะให้ใช้กับ Android และ OS ของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่หลังจาก

  1. ยกเลิก Google Apps แบบฟรี (ก่อนหน้านี้ลดจำนวน user ใน free account ลงเรื่อยๆ)
  2. Google ถอด EAS (Exchange ActiveSync) ออกจาก Free Account ของ Gmail
  3. Google ประกาศปิด CalDAV API และแนะนำให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ Google Calendar API แทน
  4. ยกเลิก Google Reader

ผมก็รู้สึกว่าได้เวลาเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ผมจึงเริ่มค้นหาบริการและระบบที่ทดแทนบริการของ Google เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นตัวประกันและลูกบอลให้ Google อยากทำอะไรก็ได้อีกต่อไป (สำหรับ Google แล้วผู้ใช้งานเป็นเพียงตัวประกันและลูกบอล?) ซึ่งผมก็ได้ย้ายบริการต่างๆ ที่เคยใช้กับ Google เมื่อหลายปีที่ผ่านมาแล้วย้ายออกมาเกือบหมดแล้ว เลยเอารายการมาแบ่งปันครับ

  • Gmail ที่เสียเงินผ่าน Google Apps แต่ไม่สนับสนุน Windows phone 8 ย้ายไปใช้ Office 365, Outlook.com, Hotmail.com และ Yahoo.com
  • Google Talk ย้ายไปใช้ Skype และต่อ Google Talk ผ่าน Outlook.com
  • Google+ เล่นให้น้อยลง และใช้ Facebook และ Twitter เป็นหลัก
  • YouTube ย้ายไปใช้ Vimeo แทน
  • Blogger ย้ายไปใช้ WordPress และติดตั้ง WordPress บน Host ตัวเอง
  • Google Music ปรกติซื้อแต่ใน iTunes
  • Google Photos (Picasa) ย้ายไปใช้ 500px, Flickr และ Facebook แทน
  • Google Reader ยกเลิกบริการและจ่ายค่าบริการให้กับ NewsBlur แทน
  • Google Code ระบบ SVN มันล้าสมัยไปแล้ว ใช้ Git บน GitHub และ BitBucket แทน
  • Google Drive ระบบ Cloud Storage ยังไม่ดีพอ ใช้ SkyDrive, Dropbox, Box และ SugarSync แทน
  • Google Docs ยังมีปัญหากับภาษาไทยและยังทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ (คนใช้ computer ทั่วไป ไม่ใช่ geek) ย้ายมาใช้ Office Web Apps และ Office 365 แทน
  • Google Calendar ระบบ Task และ Note ทำการ Sync ลำบาก ใช้ Outlook, Office 365 และ Yahoo.com แทน

ตอนนี้ที่ใช้จริงๆ มีเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ

  • Google Maps ตัวนี้ยังใช้คู่กับ Bing Maps และ Here Maps อยู่
  • Google Search ตัวนี้ยังเป็นหลัก แต่เริ่มๆ ปรับตัวมาใช้ Bing อยู่บ้างแม้ผลการค้นหาจะยังไม่เท่า แต่ขยะ SEO ก็น้อยกว่า ส่วนพวกงานวิจัยผมเปลี่ยนมาใช้ Microsoft Academic Search แทนแล้ว

ก็หวังว่าคนที่คิดแบบเดียวกันจะได้นำไปปรับใช้กันได้ครับ ;)

Google’s MASTER PLAN!. from Thomas Marsh-Connors on Vimeo.

ความเห็นต่อการที่ outlook.com รองรับการใช้งาน gtalk

ผมมองว่า outlook.com จะกลายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ใช้ทั้งในตอนนี้และในอนาคต สำหรับการใช้อีเมลและใช้ IM ไปพร้อมๆ กัน เพราะเข้า outlook.com ที่เดียว online ได้ทั้ง skype (กำลังมา), microsoft account (MSN), gtalk, facebook และตัวอื่นๆ ในอนาคต กลับกัน ทาง gmail กลับ online เพียง gtalk อย่างเดียว

แน่นอนว่าในอนาคตมันจะถูกรวมไปใน Windows 8 และ Windows phone 8 อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการมาของ IM ที่รวมบริการ chat ของ google ที่กระจัดกระจายตัวอยู่ตอนนี้ ทำให้ Microsoft มีความพร้อมในการให้ผู้ใช้งานย้ายมาใช้ platform ด้าน IM ของตน ที่ถูกแย่งชิงไปกลับมาจากตลาด Mobile ที่ถูกค่ายอื่นๆ ครองส่วนแบ่งอยู่ให้กลับมาได้ง่ายมากขึ้น

Nokia Lumia 925 ต่างจาก Lumia 920 ตรงไหนบ้าง?

919602_10151385666612397_2046909235_o

ข้อมูลจาก Nokia Lumia 925: our latest innovations in imaging and design – Nokia Conversations : the official Nokia blog

  • จอภาพ 4.5” AMOLED (PureMotion HD+)
  • ความจุเหลือ 16GB (Lumia 920 ให้มา 32GB)
  • กล้องมี sensor ขนาด 8.7MP โดยเป็นเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างถึง f/2.0 พร้อมกับ OIS และประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น ทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น
  • วัสดุเป็น polycarbonate และ aluminium มาออกแบบร่วมกัน ซึ่งทำออกมาได้สวยงามมาก
  • มีสีให้เลือก 3 สีคือดำ ขาว และสีเทา
  • น้ำหนักเหลือ 139g และบางลงเหลือ 8.5mm น้ำหนักน้อยลงคาดว่าเพราะเอา wireless charging ออกจากเครื่อง ใส่ cover แทน (คงเพราะต้องการลดความหนาและน้ำหนักลง)

นอกนั้นส่วนใหญ่เหมือนกันหมดในด้านอื่นๆ แต่แน่นอนว่าคุณภาพของกล้องที่เป็นตัวชูโรงนั้นกล้องดีขึ้นมากเลยทีเดียวจากภาพตัวอย่าง ต้องรอดูว่าจะดีแค่ไหนเมื่อใช้งานจริงๆ

ยังมีการเปิดตัว App ที่ชื่อ Nokia Smart Camera เพื่อใช้ในการถ่ายรูปที่มี effect หลากหลายมากขึ้นเช่น Best Shot, Action Shot และ Motion Focus โดยทาง Nokia จะเรียกการอัพเดทซอฟต์แวรเหล่านี้ว่า Nokia Lumia Amber โดยรุ่นก่อนหน้านี้คงได้รับการอัพเดทด้วยเช่นกัน โดยคาดว่าจะออกอัพเดทภายในเวลากันใกล้นี้ครับ

ราคาเปิดตัวคือ 469 Euros (18,xxx.xx บาท เข้าไทยคงไม่หนี 21,900 – 22,900 บาทแน่ๆ หรือราคาเท่ากับ Lumia 920 ตอนเปิดตัวในไทย)

สำหรับการวางขายคงไม่เกินเดือน 7 ของปี 2013 ครับ

ปิดท้ายด้วยวิดีโอโฆษณา Nokia Lumia 925

ลองเล่น Oppo Find 5

ตัวนี้นำมาลองเล่นประมาณ 1-2 อาทิตย์โดยประมาณได้ เมื่อสักเดือนสองเดือนได้แล้วครับ ขำนำลงรีวิวสักหน่อย เพราะ draft มานานแหละ

ตัว Oppo Find 5 ถือเป็นมือถือที่มีจุดเด่นที่หน้าจอขนาด 1080p (Full HD) ตัวแรกของตลาดในประเทศไทย และพ่วงตำแหน่งให้หน่วยประมวลผลแบบคอร์ดคอร์ ( 4 Core) มีหน่วยความจำหลักที่ 2GB และกล้องถ่ายรูปความละเอียดขนาด 13 ล้านพิกเซลบนมือถือเป็นรุ่นแรกๆ ที่ขายในไทยอีกด้วย เรามาดูกันว่าตัวเครื่องต่างๆ เป็นยังไงกันบ้าง

ในด้านตัวเครื่องนั้นเป็น Polycarbonate แบบชิ้นเดียว (unibody) มาประกอบกับจอภาพ ทำให้เปลี่ยนแบตและหน่วยความจำเพิ่มเติมไม่ได้ แต่แบตที่ให้มานั้นมีขนาดความจุถึง 2,500 mAh ซึ่งเยอะเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าจอภาพระดับ Full HD ยังไงก็ใช้ทรัพยากรและความจุของแบตเยอะเช่นเดียวกัน

จากที่บอกไปแล้วว่าเป็นหน่วยประมวลผลแบบคอร์ดคอร์ ( 4 Core) โดยเลือกใช้ Qualcomm Snapdragon S4 Pro APQ8064 Quad Core ความเร็ว 1.5 GHz มีหน่วยความจำหลักที่ 2GB ซึ่งจากที่ได้ทดลองใช้นั้นตัว Android 4.1 (Jelly Bean) ก็ลื่นไหนดี พบอาการกระตุกบ้างเล็กน้อย โดยใช้งานหนักๆ ตัวเครื่องจะร้อนพอสมควรและแบตหมดเร็วมากขึ้นเยอะพอสมควร (คิดว่าเป็นปรกติสำหรับมือถือ CPU แรงๆ ไปแล้วมั้ง)

สำหรับหน่วยความจำ 16 GB ที่อยู่ภายในตัวเครื่องอาจจะดูน้อยไปสักหน่อย ถ้าเพิ่มเติมหน่วยความจำภายในไม่ได้ ก็น่าจะให้มาสัก 32GB ก็กำลังดีเลยทีเดียว

การเชื่อมต่อไร้สายมีให้มาครบอันนี้เรือธงคงตามมาตรฐานทั่วไปทั้ง 

  • WiFi (802.11b/g/n/a) ที่รองรับ Portable Wi-Fi Hotspot และใช้งานร่วมกับ DLNA ได้
  • Bluetooth 4.0
  • NFC (Near Field Communication)
  • GPS
  • Digital Compass

สำหรับช่องเชื่อมต่อนั้นมี

  • Micro Sim
  • Micro USB 2.0
  • ช่องเสียบหูฟัง 3.5mm

DSC_5734
DSC_5738 DSC_5748
DSC_5740 DSC_5743
DSC_5750
DSC_5753 DSC_5752

ตัวชูโรงอย่างที่บอกไปแล้วว่าอยู่ที่ตัวจอภาพเป็นหลักเลย ซึ่งจอภาพแบบ IPS Panel ขนาด 5” ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล (441 ppi) แบบ Capacitive Multitouch Screen นั้นให้สีสันและความคมชัดที่เด่นมากๆ เมื่อวางเทียบกับมือถือค่ายอื่นๆ เอาง่ายๆ ว่าวางข้างๆ Nokia Lumia 920 ที่ผมใช้งานอยู่ ภาพบนจอ Oppo Find 5 จะสว่างเด่นกว่าพอสมควร (เปิดความสว่างสุด 100%) แต่แน่นอนว่ากินแบตมากกว่าปรกติครับ ><” (คงต้องยอมรับตรงนี้)

DSC_5755 DSC_5758

ในด้านของตัวระบบปฏิบัติการนั้นเป็น Android version 4.1 หรือชื่อรหัส Jelly Bean ครับ

อย่างที่บอกว่าเป็น Android ที่ถูกปรับแต่งมาไม่เหมือนกับค่ายอื่นๆ เยอะพอสมควร แน่นอนว่าหลายๆ อย่างต้องปรับตัวสักหน่อยสำหรับ OS Android ใน Oppo Find 5 ตัวนี้

โดยโทนของไอคอนและสีของไอคอนนั้นจะออกหวานๆ ใครชอบแนวดุดันอาจจะต้องไปโหลดชุด Theme มาเปลี่ยนแปลงเอง แต่ส่วนใหญ่ก็ได้ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ครับ

จากที่บอกไปแล้วในด้านของการตอบสนองของตัว UI นั้นทำได้ดีครับ การควบคุมอาจจะแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ นิดหน่อยพวกปุ่ม Back, Home และ Menu ต่างๆ เรียนรู้สัก 1-2 วันก็ชินแล้ว

สำหรับปัญหาที่เคยเจอใน Oppo Find 3 ก่อนหน้านี้ส่วนใหย่ถูกแก้ไขใน Oppo Find 5 ไปแล้วเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องของ App ตัว Photos ที่โหลดภาพมาทั้งเครื่อง หรืออาการค้างหรือไม่ยอมจำตัว Launcher ที่ตั้ง default ไว้แล้วไม่จำเป็นต้น (แต่ไม่กลับมาแก้ให้ Find 3 บ้างเหรอ)

SCR_2013-03-01-17-33-53 SCR_2013-03-21-00-17-27

SCR_2013-03-21-00-17-50 SCR_2013-03-21-00-17-57 

SCR_2013-03-21-00-18-06 SCR_2013-03-21-00-18-17

ในด้านของกล้องถ่ายรูปนั้นส่วนตัวไม่ได้ทดสอบมากมายนัก เพราะ Oppo Find 3 ทำได้ดีมากอยู่แล้ว และใน Oppo Find 5 ก็ทำได้ดีไม่แพ้กันครับ ส่วนตัวแล้วไม่ได้เอาไปถ่ายเยอะมากตอนได้เครื่องมา พอมีโอกาสก็เลยถ่ายมาไม่เยอะมาก

แต่จากรูปด้านล่างที่ถ่ายมาให้ดู ผมถ่ายมาในช่วงเย็นเลือกถ่ายเก็บส่วนที่มืดและสว่างเพื่อให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลในส่วนมืดและส่วนสว่างนั้นทำได้ดีแค่ไหน สำหรับการใช้ App อื่นๆ ที่ฉลาดมากขึ้นก็ทำให้ได้ภาพที่ดีมากขึ้นกว่า App Camera ที่มากับเครื่องด้วยเช่นกัน

IMG20130321174946094

IMG20130321175236113

IMG20130321175324710

IMG20130321182946242

IMG20130321182922016

IMG20130321210555108