เมื่อซื้อบัตรดู Manchester United จาก ThaiTicktetMajor แต่ระบบไม่รีเซตจำนวนโควต้าบัตรให้เมื่อมีข้อผิดพลาด

ระบบ ThaiTicktetMajor มีข้อผิดพลาดหรือไม่ได้คิดถึงอยู่อย่างในเรื่องของการกำหนดโควต้ากลับมาที่ค่า 0 ในตอนซื้อบัตรแล้วยกเลิกหรือมีข้อผิดพลาด

ขยายความก็คือ ถ้าบัตรการแสดงนั้นๆ มีการกำหนดโควต้าจำนวนบัตรที่ซื้อแล้วทำรายการซื้อบัตรของกิจกรรมนั้นไป แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ทำรายการไม่สำเร็จหรือคลิ๊กลงเลือกที่นั่งนั้นเฉยๆ แล้วยกเลิกกลับมาเลือกที่นั่งใหม่ ระบบจะยังนับว่าได้ซื้อบัตรไปตามโควต้าที่เหลืออยู่ และถ้าจะซื้อบัตรจริงๆ จะเหลือแค่ส่วนที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเท่านั้น

ไอ้เราตอนซื้อบัตรดู Manchester United vs Singha All Star Singha ก็งงว่าทำไมทำรายการไม่ได้ฟร่ะ เล่นซะสมัคร 3 Account กว่าจะทำรายการได้

คือตอนแรกเลือก 2,500 แล้วมันมีเหลือ 2-3 ที่มั้ง แล้วเลือกไปแล้ว ยกเลิกมาเพราะไม่พอ จะเอา 5 ใบ แต่ระบบมันไม่รีเซตค่ากลับมาค่า 0 ให้ ทำให้ซื้อ 1,500 ที่จะซื้อ 5 ใบไม่ได้ พอสมัครใหม่จะซื้อ 1,500 ที่จะเอา 5 ใบ ระบบ Payment ดันขึ้น Failed เลยกลับมาซื้อใหม่ ก็ไม่รีเซตค่ากลับมา 0 ให้เลยต้องสมัครใหม่อีกรอบ รอบนี้ซื้อผ่านเลย

นั่งงมอยู่เป้นชั่วโมง ><“

ร้านที่อาจไม่ได้ขายแต่กาแฟ

ส่วนตัวแล้วคิดว่า การนั่งทำงานในร้านกาแฟเช่น Starbucks , Tom N Tom, True หรือ Dean & Deluca นั้นเป็นเรื่องปรกตินะ (ร้านอื่นๆ ไม่ได้กล่าวเพราะนานๆ ไปที) คือร้านพวกนี้เป็นร้านที่ขายเครื่องดื่มพร้อมบริการที่นั่ง ซึ่งค่อนข้างจะสบายในการนั่งดื่มและซึมซับบรรยากาศของร้านอยู่แล้ว รวมไปถึงร้านพวกนี้ “ยินดี” ที่จะให้เป็นที่นั่งสำหรับทำงานหรืออ่านหนังสือด้วยซ้ำไป เพราะมีทั้งปลั๊กไฟ ระบบ WiFi และแสงสว่างที่เพียง คือสังเกตได้ว่าร้านไหนทำที่ ไม่มีปลั๊กไฟให้ ระบบ WiFi ไม่ใช่ของร้าน รวมไปถึงนั่งแข็งๆ ไม่สบายเท่าไหร่ มักจะให้เราอยู่ในร้านไม่นานนัก แต่ร้านกาแฟที่เน้นให้เรานั่งนานๆ นั้น เค้ามองว่าเค้าไม่ได้ขายกาแฟเท่านั้น แต่เค้ามองที่เรื่องการเช่าพื้นที่ใช้สอยชั่วคราวด้วย ซึ่งมันถูกรวมลงไปในราคาเครื่องดื่มอยู่แล้วทุกแก้ว (ถ้าเอากลับบ้านคุณจะได้บริการห่อและรูปแบบการห่ออย่างดีเช่นกันเพื่อชดเชยเรื่องพวกนี้บ้าง) ไม่อย่างนั้นร้านพวกนี้จะทำร้านให้นั่งสบาย และตกแตกสวยงามทำไม? คือถ้าได้อ่านหนังสือ The Starbucks Experience: 5 Principles for Turning Ordinary Into Extraordinary คงทราบว่าทำไม

IMG_20121009_155043

แต่ปัญหาที่เจอในไทย หรือทั่วโลกบางที่ในตอนนี้คือ การใช้พื้นที่ในร้านกาแฟที่ถือว่าเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันของแต่ละคนนั้น ถูกใช้เกินความพอดีในช่วงเวลาที่คนเข้าใช้บริการร้านพวกนี้เยอะ ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวร้านหรือการออกแบบสักเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ความพอดีของแต่ละคนที่ใช้บริการนั้นไม่เท่ากันมากกว่า

โดยปรกติการใช้บริการต่อ 1 แก้วอาจจะมีระยะเวลาประมาณ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก็แล้วแต่คนที่สามารถที่จะใช้พื้นที่ตรงนั้นได้ แต่เยอะกว่านั้นดูจะมากไปสำหรับ 1 แก้ว สำหรับช่วงเวลาที่คนเยอะ (ถ้าซื้อเพิ่มก็ยังโอเคนะ ผมถือว่าแฟร์ดี) การใช้วิธีคิดแบบนี้ค่อนข้างโอเค แต่จะใช้ไม่ได้ผลถ้าคนในร้านหรือช่วงเวลาที่คนไม่มาก ซึ่งผมมองว่าร้านพวกนี้มีพื้นที่เหลือให้บริการอยู่แล้ว และคิดว่าเค้ายินดีให้แน่นอน

IMG_20120430_190121

บางครั้งการต่อว่าแบบเหมารวมในเรื่องของคนเข้าไปใช้บริการแล้วกาง Notebook หรืออ่านหนังสือนั้นดูง่าย และใช้เวลาที่รวดเร็ว แต่ส่วนตัวแล้วนั้นไม่ค่อยจะเหมาะนักกับพื้นฐานวิธีคิดแบบนี้ เพราะดูจะสรุปบนความฉาบฉวยไปหน่อย เพราะบางคน (รวมถึงผม) อาจจะไม่ได้นั่งนานขนาดครึ่งวัน อาจจะขอเวลา 30 นาทีถึงชั่วโมงในการนั่งทำงานเล็กๆ น้อยๆ หรือนั่งรอคนอยู่ก็ได้ การกาง Notebook หรือเปิดหนังสือมานั่งอ่านเพียงเวลาไม่นานอาจโดนเหมารวมได้เช่นกัน ผมมองว่าปัจจัยเรื่องนี้มันเยอะมากทีเดียว

จริงๆ ผมอยากหาที่ที่เป็น Co-Worker ที่มันใกล้ๆ รถไฟฟ้าหรือในห้างก็น่าจะดีนะ ที่ที่มีอยู่ตอนนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสะดวก อย่างเช่น Hubba Thailand นี่ใกล้บ้านผมมากไป ไปนั่งทำงานคนเดียวมันแปลกๆ ผมเดินทางกลับบ้านผมทำงานที่ห้องง่ายกว่า ><” (ใช้เวลาเดินทางห่างกัน 15 นาทีเอง)

ซื้อของให้ตั้งราคาตั้งต้นก่อน

เท่าที่ลองเล่นมาทั้ง Dell Latitude 10, Lenovo ThinkPad 2 และ ASUS VivoTab Smart ตัวเลือกที่ตัวเองสนใจและคิดจะซื้อกลับกลายเป็น ASUS VivoTab Smart ซะงั้น เพราะส่วนตัวแล้วงานประกอบและวัสดุตัว Latitude และ ThinkPad ทำได้ดี แต่ VivoTab ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกแตกต่างจนรู้สึกได้ คือส่วนตัวเอาฟังค์ชันปรกติทั่วไป ผมว่ามันก็ตอบโจทย์งานผมได้เยอะแล้วนะ

คือในด้านราคาที่ตั้งธงไว้เนี่ยสำคัญ อย่าง Tablet Android ผมจะไม่ซื้อเกินราคา 9,000 บาท มือถือจะซื้อไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนถ้าเป็น Tablet Windows 8 ผมตั้งธงไว้ในใจว่าจะซื้อไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับ Notebook ผมตั้งธงไว้ที่ 40,000 บาท เพราะงั้นต้องคิดให้เยอะเข้าไว้

จริงๆ อย่าง Mouse/Keyboard ผมตั้งราคาไว้ว่าทั้งเซ็ต 2 ตัวนี้ต้องราคาไม่ถึง 5,000 บาท ซึ่งหลายคนคิดว่าอาจดูเยอะ แต่ถ้ามองว่ามันใช้งาน 3 ปีและเราต้องสัมผัสมันทุกวันตลอดการใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าเราใช้ของไม่ดีอาจมีปํญหาด้านสุขภาพและการทำงานได้

การซื้อของถ้าเราตั้งธงด้านราคาไว้ เราจะรู้ว่าควรได้อะไรและไม่ควรได้อะไร ไม่จำเป็นต้องได้อะไรที่ใหม่สุดหรือท็อปของสายการผลิตนั้นๆ หรอก บางครั้งเราก็ไม่ได้ใช้งานมันเลย

ปล. เอาจริงๆ ซื้อ Lumia 920 ที่ราคา 21,900 บาท ตอนเพิ่งเริ่มขายมันได้โปรลดราคาเพราะงั้นก็ยังถือว่าไม่เกิน 15,000 บาท คือได้ลดราคาทั้งราคาค่าเน็ต และได้ของแถมที่ชาร์จไร้สาย ซึ่งรวมกันแล้วมาหักลบกับราคาเครื่อง จะเหลือแค่ 12,000 – 13,000 บาทเองนะ

Facebook Timeline รุ่นล่าสุด การกลับมาตั้งหลักของ Facebook Timeline

สำหรับ Facebook Timeline รุ่นแรกนั้น ในครั้งแรกที่ที่ใช้ๆ มันเหมือนจะดีนะ แต่ไปๆ มาๆ มักเกิดปัญหาว่า ข้อมูลในตัว block ข้อมูลมันดันไม่เท่ากัน พอมันมันไล่ซ้าย-ขวาไปมาแล้ว ตัวผมจะเริ่มงงว่าอันไหนมาก่อนมาหลังน่ะ มันเลยดูใช้งานยากไปเลยในท้ายที่สุด

สรุปแล้วในตอนนี้ Facebook Timeline รุ่นล่าสุด ก็ต้องปรับมาใช้ Timeline แบบผสมระหว่าง Wall แบบเก่ากับ Timeline แบบใหม่แทน

การปรับก็คือ ตัวข้อมูลส่วนตัว มาวางแบบสรุปไว้ที่ Sidebar ด้านซ้ายแทน แล้วแก้ไขการแสดงผลข้อมูล Timeline ที่วิ่งไป-มาระหว่างซ้าย-ขวาในรูปแบบ 2 Column ซึ่งอ่านยาก มาเป็น 1 Colmun ซึ่งปรับแล้วก็เหมือน Wall แบบเก่านั้นแหละ ><”

ถือว่าเป็นการกลับมาตั้งหลักใหม่ เพราะแบบนี้ดูข้อมูลง่ายกว่าในการไล่ดูเนื้อหาที่ชีวิตคนเราไล่ข้อมูลจากบนลงล่างกันแบบนี้อยู่แล้ว

2013-04-16_235653

The Top 10 Mistakes of Entrepreneurs โดย Guy Kawasaki

นั่งไล่ดูชั่วโมงครึ่งเห็นจะได้ โดยรวมถือว่าสนุกและได้มุมมองใหม่ๆ ในด้าน Tech Startup จาก Guy Kawasaki ค่อนข้างเยอะ เพราะพี่ท่านปล่อยของเพียบเลย รายการ 10 ข้อ (จริงๆ มี 11 ข้อ) ก็ตามด้านล่าง แต่แนะนำให้ฟังเต็มๆ ครับ เป็นการพูดที่สนุกและฟังได้เรื่อยๆ สบายๆ กัดเจ็บในหลายๆ เรื่องมาก

    1. Multiplying big numbers by 1% to calculate an expected share of an addressable market.
    2. Scaling too soon
    3. Obsession with partnering
    4. Pitching instead of prototyping
    5. PowerPoint errors
    6. Doing things serially rather than simultaneously
    7. Believing that owning 51% of the company = control
    8. Believing that patents = defensibility
    9. Hiring in ur own image rather than hiring complementary skills
    10. Befriending your VC
    11. Thinking VCs can add value

ตัวอย่างสิ่งที่น่าสนใจก็อย่างเช่น

Pitching instead of prototyping ที่กล่าวถึงเรื่องของการขายไอเดียที่ควรจะมีต้นแบบในสิ่งที่จะขายด้วย การขายไอเดียอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับ Tech Startup

In the real world, the key is not the pitch. The key is the prototype. If someone gave me a choice of having a team come in with a great Powerpoint pitch or come in with the prototype that is working. I would pick the working prototype all day work. Because in a few hours I can help most of you fix your pitch. I cannot in a few hours helped anybody fix their prototype. Prototyping is the key.

ต่อมาก็เรื่อง Infrastructure ที่ Guy แนะนำว่าปัจจุบันเราใช้ Cloud ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของ Infrastructure ที่ต้องมานั่งคิดตอนเริ่มต้นทำ Tech Startup กับระบบที่ใช้ Infrastructure ซึ่งในตอนนี้ราคาถูกและเข้าถึงได้ง่ายมากๆ

Infrastructure today’s free or cheap you use rackspace. You use amazon web services. You don’t buy any servers anymore you don’t buy buildings you don’t lease buildings, Use amazon use rackspace thousand bucks to get terrabytes in the sky.

จริงๆ มีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจครับ ลองดูเต็มๆ แล้วได้อะไรเยอะ ;)