Barcamp Krungthep – Note

เห็นเล่นๆ บน Twitter เมื่อตอนเย็นวันที่ 30 มิถุนายน 53 จาก blog ของพี่เก่ง http://keng.ws/2010/06/barcamp-chiang-mai-3/ เลยปรึกษาและเสวนาบน Twitter กันระหว่าง @sugree @lewcpe และ @rtsp เลยได้ชื่องานเป็น Barcamp Krungthep สถานที่ก็ ม.เกษตรฯ บางเขน ส่วนวันและเวลา เดี่ยวว่ากันอีกที แต่น่าจะเดือนสิงหาคมนี้ จำนวนห้องค่อยว่ากัน แต่ concept ผมคิดไว้ประมาณนี้

  • Reset Matrix !!!
  • ลดขนาดจำนวนคนเข้าร่วมงาน เราต้องการการมีส่วนร่วม จำนวนคน 100 –200 (หรือน้อยกว่านี้)
  • ย้อนกลับสู่อารมณ์เดิม เล็กๆ แต่ทำเยอะๆ เพราะเราอยากให้ทุกคนที่มางานต้องนำเสนอ
  • ไม่มีสปอนเซอร์ (ยินดีรับ แต่ว่าจะไม่ให้มีอิทธิผลต่องาน) ทำให้ทุกอย่างต้องดูแลตัวเอง ข้าว อาหารทุกอย่าง หากินกันเอง
  • ในงานไม่มีของแจก ซึ่งแน่นอนไม่มีเสื้อบาร์แคมป์ (แต่ใครจะทำมาขายก็ได้)
  • ไม่มีกำหนดการณ์แน่ชัดตามแนวทางบาร์แคมป์
  • ขายของในการนำเสนอได้ตราบใดที่คุณได้โหวตหัวข้อเข้าร่วม

มาตรฐานเปิดทำไมถึงเพิ่งเริ่มได้ไม่นานนี้

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจนะ แต่พอได้อ่านเยอะๆ ได้คุย ได้พบกับคนที่เข้าไปร่วมร่างมาตรฐานพวกนี้อยู่บ้างแล้วก็เริ่มจะเข้าใจ และรู้สึกถึงความจำเป็น และผลประโยชน์มหาศาลในการทำมาตรฐานเปิดเหล่านี้ในอนาคต มันเป็นเรื่องธุรกิจเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มาตรฐานเปิดแต่ละอย่างกว่าจะออกมาได้ใช้เวลานานมากๆ ทีเดียว แต่ผลสุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์ก็คือทุกกลุ่มของสังคมนั้นแหละ

ปัจจัยที่ทำไมไม่ทำเสียตั้งแต่ตอนนั้น คงเพราะการเริ่มต้นพัฒนาในอดีต มันไม่ได้มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ บริษัท หรือประเทศที่เกี่ยวข้องกันมากนัก แถมด้วยความที่อยู่ห่างไกลกันมาก บางประเทศคนละมุมโลก และกว่าที่มนุษย์จะพัฒนาการ ในการเดินทาง กว่าจะทำให้ข้อมูลส่งไปและกลับได้รวดเร็ว กว่าจะคุยกันรู้เรื่องอีก กว่าจะส่งของเอาไปทดสอบ จนเอาไปค้าขายแลกเปลี่ยนกัน มันไม่ได้ทำได้สะดวกสบายและรวดเร็วอย่างปัจจุบัน

ดังนั้นนวัตกรรมต่างๆ วิธีคิด มาตรฐาน แนวทางการใช้งานและส่วนใช้งานที่เกี่ยวข้องกับคนที่ใช้งาน ซึ่งมันก็รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม ความคุ้นชิน ผลประโยชน์ ฯลฯ ก็ได้พัฒนาจากอดีต จนขึ้นสู่ขีดสูงสุดจนยาก หรือไม่สามารถกำหนดเป็นสากลได้อย่างง่ายดายนัก

แต่โชคดีที่หลายๆ อย่างก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ในยุคใหม่ที่เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตเรามากขึ้น การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เริ่มมุ่งมาตรฐานเปิดกันตั้งแต่เริ่มต้น จนเป็นการรวมกันเป็นสากล อย่างการมีสมาคม ชมรม สหพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อความร่วมมือกัน

เพราะฉะนั้น มันก็ไม่แปลกที่ต่อไปนี้การทำมาตรฐานอะไรสักอย่างนึงเพื่อใช้ในวงกว้างเราคงได้เห็นสิ่งที่เป็นการถกเถียงคะคานกันจนกลายเป็นมาตรฐานที่ทุกๆ กลุ่มผลประโยชน์สามารถนำไปใช้กันในการแข่งขันกันอย่างเสรีได้มากขึ้น

Intel Insider Day (วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน, วาวี คอฟฟี่ ซอยอารีย์)

ผมได้รับเชิญจากทางบริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ให้ไปเข้าร่วม Intel Insiders Day (ไม่แน่ใจว่ารอบที่เท่าไหร่แล้วแต่น่าจะมากกว่า 2 เพราะรอบนี้ผมไปครั้งแรกครับ) โดยอินเทลจะเชิญบล็อคเกอร์ พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดชั้นสองของร้านวาวีคอฟฟี่ โดยงานนี้ผมขอสรุปใจความสำคัญเท่าที่จำได้มานะครับ

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

เมื่อเริ่มงานก็บรรยายเล็กน้อยประกอบกับการตามตอบเป็นระยะๆ ไม่ใช่แนวบรรยายในห้องเรียนสักเท่าไหร่ เพราะทางอินเทล เชื่อแน่ว่าทุกคนที่มางานก็ติดตามข่าวสารของอินเทลอยู่แล้วไม่น่าพลาดในรายละเอียดทั่วไปเท่าใดนัก

DSC_8982

ประเด็นที่คุณเอกรัศมิ์หยิบยกมาเป็นอย่างแรกคือ การผสมการทำงานในทุกๆ ระดับที่สามารถทำได้ และอินเทลคิดการณ์ใหญ่ในการนำชิปประมวลผลของตัวเองลงไปในทุกๆ อุปกรณ์ที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางในทุกระดับตั้งแต่ระดับ Enterprise (Super Computer) จนถึงระดับ Consumer ทั่วไปที่บุกไปถึงห้องนั่งเล่นและอุปกรณ์พกพาทุกรูปแบบ โดยใช้ Atom เป็นหัวหอกในด้านนี้ โดยรหัสพัฒนาที่ชื่อ Medfield  ที่จะออกมาในอนาคตอินเทลได้บอกเป็นนัยๆ ว่าจะมีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่นำไปใช้งาน โดยที่ราคาของ Atom นั้นจะลดต่ำลงจนสามารถสู้กับ ARM ในด้านราคาได้มากกว่านี้ และสิ่งที่อินเมลมั่นใจว่า Atom จะไปได้ดีคือ ARM นั้นจะทำให้นักพัฒนาที่อยู่บน x86 เข้าถึงได้ยากเพราะต้องเรียนรู้และศึกษาใหม่เยอะ และอาจจะไม่คุ้ม การที่ Atom ลงมาแข่งทำให้ x86 บุกเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ทำให้นักพัฒนามีทางเลือกนอกจาก ARM

ซึ่งทางคุณเอกรัศมิ์ ระบุต่อไปอีกว่า Atom จะถูกนำมาใช้ในงาน SoC (System On Chip) มากขึ้น และกินไฟน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่ใช่ปัญหาและข้อแตกต่างจาก ARM ในสถาปัตยกรรมที่ผลิตเล็กลงเรื่อยๆ นำไปสู่การเอาไปใส่ในอุปกรณ์ทั่วๆ ไปมากขึ้น

DSC_8979

ซึ่งสิ้นปีและต้นปีหน้า เราจะเห็น Atom ที่เป็น Series ใหม่ๆ ออกมา โดยตัวที่มุ่งเน้นก็คงเป็น Z-Series สำหรับโทรศัพท์มือถือ และ CE-Series สำหรับ TV ที่ไม่แน่ว่าเราอาจจะเห็นมากขึ้นในปลายปีนี้

DSC_8992

โดยทางคุณเอกรัศมิ์บอกต่อไปอีกว่าอินเทลมองเห็นทิศทางของ Netbook จะไปได้ไกลในปีนี้และต้นปีหน้า เพราะราคาของ Windows ที่ถ้าผู้ผลิตได้ราคาลิขสิทธิ์จากทาง Microsoft ต่อเครื่องลดต่ำลงเพื่อลงมาสู้กับ Android OS และ Ubuntu Linux เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโดยตัดราคาให้ได้ส่วนแบ่งมากที่สุดก่อนเน้นมูลค่าทางการตลาด

DSC_8984

สำหรับ CPU Desktop ที่สามารถนำไป Overclock ได้โดย "ไม่หมดประกัน" และทำได้ง่ายๆ ผ่าน Software คือ K-Series ซึ่งเป็น Core รุ่นที่ Overclock ได้  ซึ่งการรับประกันตัว CPU จะยังคงอยู่ แต่ถ้า Overclock แล้วไปทำไหม้ก็ไม่รับประกันนะครับงานนี้ (คือข้างกล่องจะมีบอกว่า limit ของ CPU จะได้สูงสุดเท่าไหร่ถึงจะมีผลทำให้ไหม้ได้) ซึ่งรุ่นนี้จะไม่มีพัดลมมาชุดติดตั้ง เหตุผลเพราะคนที่เอามา Overclock มักใช้อุปกรณ์ระบายความร้อนที่ซื้อแยกต่างหากอยู่แล้ว

สำหรับเหตุผลว่าทำไมถึงทำ K-Series ออกมาให้ Overclock ได้ทั้งๆ ที่น่าจะทำ CPU ออกมาในขนาดความเร็วเท่านั้นไปเลย เหตุผลทางคุณเอกรัศมิ์ บอกว่าเป็นเหตุผลทางการตลาดและความสามารถในการผลิตตัว CPU ต่างๆ ในแผ่น Wafer เดี่ยวอาจจะเอามาทำรุ่น K-Series ได้ในจำนวนหนึ่งเท่านั้น รวมไปถึงบางครั้งความต้องการของ CPU บางรุ่นอาจจะต้องเอา Core CPU ที่ผลิตไดไป underclock เพื่อเอาไปขายให้ทันส่งลูกค้า นั้นคือเหตุผลว่าทำไม CPU บาง lot ที่ขายๆ กันในอดีต-ปัจจุบันจึงสามารถ Overclock ได้ในระดับสูง ในบาง lot บางช่วงเวลานั้นเอง ซึ่งอินเทลก็ใช้จุดนี้มาทำการตลาดแบบนี้เช่นกันใน K-Series นั้นเอง

สำหรับสุดท้ายตลาด Enterprise นั้นทางอินเมลระบุว่ากำลังไปได้ดีในตลาดนี้ ดูได้จากส่วนแบ่งในการนำไปใช้ในตลาด Super Computer ขนาดใหญ่ที่มีรายงานออกมาจากทาง TOP500 เมื่อไม่นานมานี้ ที่การใช้งานเป็น Xeon อยู่ 80% และคาดว่าจะกินส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในอนาคตเป็น 90% ได้ในไม่นานนี้

สำหรับข้อมูลอื่นๆ เก็บตกบางส่วน อ่านได้จาก Intel Insider Day: Medfield จะทำให้เราประหลาดใจ, TSMC ไม่เคยได้ผลิตชิป Atom ครับ

ประสบการณ์ระหว่างการ Upgrade ไปใช้ Microsoft Office Home and Business 2010

ทำเป็น Timeline ง่ายๆ ให้ดูกันครับ

  • 09:50 น. – เริ่มติดตั้ง Microsoft Office Home and Business 2010 Trial License โดยที่บนเครื่องยังมี Microsoft Office Small Business 2007 OEM License อยู่ โดยทำการ Upgrade แทนการ Clean Install
  • 10:10 น. – Error!!! ติดตั้งไม่ผ่าน คาดว่ามาจากไป Force Upgrade ด้วยการเลือก Outlook 2010 ในการติดตั้งลงไปด้วย ลงค้นใน Help มีคำแนะนำว่าไม่ควรติดตั้ง Outlook 2010 กับ Outlook 2007 ลงบนเครื่องเดียวกัน  รวมถึง SharePoint Workspace (Office Groove 2007) ด้วย (แต่ผมไม่ได้ใช้ Groove 2007 เลยไม่ได้ติดตั้งไว้)
  • 10:15 น. – ติดตั้งใหม่อีกรอบ โดยไม่เลือก Outlook 2010 ในการติดตั้ง เพื่อทดสอบว่าใช่ตามที่คำแนะนำใน Help บอกหรือไม่ (เสี่ยงมากๆ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว)
  • 10:30 น. – การอัพเกรด  Microsoft Office 2007 Small Business ไป Microsoft Office Home and Business 2010 ขึ้น Congratulations ถือว่าผ่านแล้วสำหรับ Word, Excel, PowerPoint และ OneNote สามารถติดตั้งและอยู่ร่วมกับ Office 2007 ได้เกือบทั้งหมด (ยกเว้นไอ้ 2 ตัวบนอย่างที่บอกไปแล้ว)
  • 10:35 น. – ถึงตรงนี้ก็เอาก็เอา ไหนๆ ก็ไหนๆ ทำการ Completed Remove ตัว Microsoft Office Small Business 2007 OEM License ทั้งหมด เงิน 7,600 บาทผม หายไปแล้ว!!!  ซึ่งการ Upgrade ใช้ลักษณะ Completed Remove ตัว Office 2007 แล้วติดตั้ง Office 2010 อีกครั้ง โดยเลือกติดตั้ง Outlook 2010 ลงไปเพิ่มเติมในลักษณธ Add/Remove Features ไม่งั้นจะติดตั้ง Outlook 2010 ไม่ได้
  • 10:55 น. – ทำอย่างขึ้น Congratulations อีกครั้ง \(^O^)/ ….
  • 10:58 น. – ทำการ restart เครื่อง 1 รอบ
  • 11:00 น. – เปิด Outlook 2010 ตัวโปรแกรม ทำการ Migrate ตัว Profile ของ Account E-Mail และ Config ของ Office 2007 และทำการ Optimize PST File (Outlook Data File) ทั้งหมด เมื่อตรวจสอบทุกอย่าง OK แล้ว Outlook 2010 จะโหลดตัว Config เก่ามาให้ครบไม่ต้อง Config ใหม่ !!!
  • 11:05 น. – ทดสอบ Sync ข้อมูลกับ BlackBerry 8520 ผ่าน BlackBerry Desktop Manager ทำได้ไม่มีปัญหา ทดสอบแล้วผ่าน ทั้ง Contact, Calendar, Note และ Task
  • 11:10 น. – ทดสอบกับ Official – Google Calendar Sync 0.9.3.5 ไม่สนับสนุน Outlook 2010!!! จบกัน!!!!
  • 11:15 น. – หาข้อมูลว่าทำยังไงดี มีหลายวิธีมาก แต่สุดท้ายที่ใช้กับคือใช้ HexEditor ไป Hex ไฟล์ GoogleCalendarSync.exe ให้ ไปโหลดตัวสำเร็จได้จาก http://pplware.sapo.pt/truques-dicas/usar-o-google-calendar-sync-no-office-2010/ ตอนนี้ Google Calendar Sync ก็ทำงานร่วมกับ Outlook 2010 ได้แล้ว!!!

 

image

LePhone – The First New! Lenovo Android Phone in Thailand

วันนี้ Fly with High Performance by Lenovo เพื่อพูดเรื่องว่าทำไมถึงใช้ ThinkPad ในฐานะผู้ก่อตั้งชุมชน ThaiThinkPad แล้วก็ได้พบกับ LePhone ในงานครับ เครื่องเดียวในไทย (เค้าว่าไว้แบบนั้น ;P) ก็เลยลองจับแล้วขอถ่ายรูปมาให้ชมกันครับ น้ำหนักก็พอสมควร แต่จอที่โอเคเลยสวยงามมาก เสปคก็ตามด้านล่างนี้ครับ

  • CPU Qualcomm Snapdragon 1GHz
  • หน้าจอสัมผัส AMOLED (800×400) ขนาด 3.7 นิ้ว
  • กล้อง 3 ล้านพิกเซล (และมีกล้องตัวที่สองใช้สำหรับวิดีโอคอลล์ด้วย)
  • บางเพียง 12 มม. 
  • GPS, Wifi, Bluetooth
  • OS Android 2.1

ดูรูปเอาแล้วกันนะครับ ถ่ายมานิดหน่อย

DSC_9416

DSC_9404 DSC_9405

DSC_9406 DSC_9410

DSC_9412 DSC_9417