เปลี่ยนนามบัตรกันทั่วหน้า

ตอนนี้หลาย ๆ คนที่มีนามบัตรแล้วอันเก่ามันออกแบบมาไม่ดี หรือไม่โดนใจแต่ด้วยเหตุว่าพิมพ์มาเยอะ ไม่อยากเปลี่ยน ตอนนี้ได้โอกาสเปลี่ยนโดยไม่ต้องเสียดายแล้ว ฮ่า ….. เพราะเหมือนโดนบังคับกลาย ๆ ว่าต้องเปลี่ยน ด้วยเหตุผลที่ว่า ตอนนี้ระบบหมายเลขมือถือของประเทศไทยเปลี่ยนจาก 9 หลัก เป็น 10 หลัก เพิ่มหมายเลข 08 แทนที่เลข 0 ตัวหน้า เช่น

เลขหมาย รูปแบบเดิม (9 หลัก)

 เลขหมาย รูปแบบใหม่ ( 10 หลัก)

0-1XXX-XXXX

08-1XXX-XXXX

0-3XXX-XXXX

08-3XXX-XXXX

0-4XXX-XXXX

08-4XXX-XXXX

0-5XXX-XXXX

08-5XXX-XXXX

0-6XXX-XXXX

08-6XXX-XXXX

0-7XXX-XXXX

08-7XXX-XXXX

0-8XXX-XXXX

08-8XXX-XXXX

0-9XXX-XXXX

08-9XXX-XXXX

ผมใช้ DTAC อยู่แล้วโดย DTAC มีบริการสำหรับลูกอยู่ด้วยวิธีคือ

แบบที่ 1

  1. กด *7099 แล้วโทรออก
  2. ท่านจะได้รับบริการ Service ให้ท่านกด Retrive (โทรศัพท์ของท่านต้องเปิด GPRs) เพื่อเข้าสู่เว็ปไซต์ของDTAC
  3. จากนั้นให้ท่าน Download ตามขั้นตอนในเว็บ
  4. จากนั้นให้ทำการ Install Program
  5. เปิดโปรแกรม TenDigits แล้วเลือก Options Convert to 10 Digits

* สามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2549

แบบที่ 2

  1. ส่ง SMS ไปที่ 7099 โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความ
  2. ท่านจะได้รับบริการ Service ให้ท่านกด Retrive (โทรศัพท์ของท่านต้อง เปิด GPRs) เพื่อเข้าสู่เว็ปไซต์ของ DTAC
  3. จากนั้นให้ท่าน Download ตามขั้นตอนในเว็บ
  4. จากนั้นให้ทำการ Install Program
  5. เปิดโปรแกรม TenDigits แล้วเลือก Options Convert to 10 Digits

* สามารถใช้ได้รูปแบบนี้ได้ทันที

ส่วน AIS ก็

  1. กดหมายเลข *184# แล้วกดโทรออก
  2. ท่านจะได้รับบริการService ให้ท่านกด Retrive (โทรศัพท์ของท่านต้องเปิด GPRs) เพื่อเข้าสู่เว็ปไซต์ของAIS
  3. จากนั้นให้ท่าน Download ตามขั้นตอนในเว็ป
  4. จากนั้นให้ทำการ Install Program
  5. เปิดโปรแกรม 08_PhoneBook เพื่อ Convert หมายเลขโฟนบุ๊ค ตามขั้นตอนของโปรแกรม

* สามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549

สำหรับ TRUE MOVE

สำหรับ TRUE ไม่มีโปรแกรมให้ Download นั้นหมายความว่าคุณต้อง MOVE (เข้าใช้บริการ) ได้ที่ True Shop ทุกสาขาแทน -_-‘ (เฮ้อ ……)

* สามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549

ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ หาอ่านเอาตามเว็บของผู้ให้บริการของท่านเองแล้วกัน ;)

แต่เรามีของฝาก อิๆๆ ถ้าแค่นี้เอามาเขียน blog มันก็ดูจะธรรมดา พอดีว่าไปเจอซอฟต์แวร์เล็ก ๆ ตัวหนึ่งชื่อว่า 0x <-> 08x จากเว็บ http://www.nuuneoi.com/ ซึ่งเอาไว้แปลงตัวเลขภายในสมุดโทรศัพท์ของมือถือของเราเอง ลองเข้าไปดูว่าโปรแกรมที่เค้าเขียนนั้นสามารถใช้กับเครื่องเราได้หรือเปล่า ถ้าได้ก็เอามาลงแล้วก็ให้มันจัดการให้ จะไ้ด้ไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนกันมือหงิก ฮ่า ……..

เรื่องราวของกูเกิล (The Google Story)

วันนี้ไปที่ CU Book ที่ ม. ก็เรื่อยๆ ไปหาหนังสือเท็คภาษาอังกฤษด้านไอทีใหม่ ๆ ที่น่าอ่าน และเผื่อ ๆ อาจจะมีหนังสือที่ลดราคาให้เราซื้อมั้ง แต่พอดีว่าไปเจอ หนังสือชื่อ "เรื่องราวของกูเกิล" ซึ่งเป็นหนังสือฉบับแปลจาก "The Google Story" ของ David A. Vise และ Mark Malseed  เลยหยิบมาแบบไม่คิดว่าจะแปลดีไม่ดี โดยรายละเอียดง่าย ๆ หนังสือหนา 376 หน้า ราคา 230 บาท ซึ่งราคาต่อจำนวนหน้าถือว่าถูกมาก ๆ สำหรับหนังสือแปล และจำนวนหน้าที่มากมายขนาดนี้ (แต่ภายในผมยังไม่คิดนะว่า ok บางคนซื้อหนังสือคุ้้มเพราะจำนวนหน้า -_-‘ เลยบอกไว้ก่อน ฮ่า …. )

พอซื้อเสร็จตอนกินข้าวเลยหยิบมาอ่าน โดยรวมถือว่าแปลออกมาได้ดีพอสมควรเลย โดยคนแปลถือว่ามีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เป็นทุนอยู่แล้ว การแปลเลยออกแนวเข้าใจศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร แปลไม่แข็งและกระด้าง โดยรวมแปลได้ดี แต่อาจจะไม่เท่ากับคุณ SuperU:-) (หรือ eS_U) ผู้แปลหนังสือแนวคอมฯ อีกท่านที่ผมเคยเอาเรื่องปิดทาง Hacker มาลง รวมถึง CyberPunk มาลงในเว็บเมื่อหลายปีก่อน และผมมีผลงานของท่านอีก 3 เล่มทั้ง โคตรเคี้ยว (Hard Drive, Bill Gates and the Making of the Microsoft Empire), ล่าแฮกเกอร์ป่วนโลก และวิสามัญฯ แฮกเกอร์ ซึ่งทั้งสามเล่มนี้แปลและเรียบเรียงได้ดีมาก ๆ อ่านแล้วมันมาก ๆ ว่างไม่ลง เลย

นอกเรื่องไปไกล ซะแล้วเรา

โดยรวมหนังสือ เรื่องราวของกูเกิลถือว่าเป็นหนังสือที่รอคอยอีกเล่มเลยทีเดียวแถมผู้แปลทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เป็นหนังสือที่น่าสนใจรองจาก Icon:Steve Jobs เพียงเล่มเดียวในปีนี้

คงต้องรอต่อไปสำหรับ Icon:Steve Jobs ;)


เตรียมพบกับ E-Book -> Python Programming

ช่วงนี้ไม่ได้เขียน Blog มันๆ เท่าไหร่เพราะนั่งทำ รายงานและ Keynote ของภาษา Python อยู่ครับ โดยจาก ภาษาโปรแกรมมิ่งไพธอน (Python programming language) ซึ่งนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของรายงานเท่านั้น (ไม่ถึง 10%) โดยตอนนี้ตัวรายงานทำไปได้แล้วกว่า 70% ของทั้งหมด โดยในรายงานจะเป็นลักษณะคล้าย ๆ หนังสือทั่วไปเลย มีการจัดหน้าสารบัญต่าง ๆ , ข้อมูลอ้างอิงและมีดรรชนี เพื่อใช้ในการค้นหาคำต่าง ๆ ด้วย (คล้ายๆ หนังสือ Text Book ทั่วไป) เอกสารรายงานนี้ทำด้วยซอฟต์แวร์ Latex แล้วทำการ Compile มาเป็น PDF ซึ่งอ่านบน Adobe Arcobat Reader ได้เลย ในนั้นมีทั้งแต่ประวัติ (ตามที่ได้มีอยู่ใน Blog อยู่แล้ว) แล้วก็แนะนำ Interpreter Python เล็กน้อย แล้วก็วิธีการลงตัว Interpreter Python และรวมไปถึง Tools อีก 2 ตัวซึ่งมี Add-on 1 ตัวคือ wxPython (สำหรับงานด้าน GUI และเป็น GUI-Runtime ของ IDE ที่จะกล่าวต่อไป) และมี IDE อีก 1 ตัวที่แนะนำและใช้งานได้ง่ายคือ Stani’s Python Editor (SPE) ซึ่งใช้งานได้ง่าย ในเอกสารมีการแนะนำตัว IDE เล็กน้อยรวมถึงการใช้งานพอสังเขป แล้วที่น่าจะถูกใจหลาย ๆ คนคือมีส่วนการอธิบายการใช้งานตัวคำสั่งโปรแกรมต่าง ๆ อยู่พอสมควรเลย คือมีส่วนของ concept และเรื่อง data type ต่าง ๆ บางอันหยิบจากหลาย ๆ เว็บมาลง (มีแต่ส่วนน้อย) รวมถึงเรียบเรียงเองเสียส่วนใหญ่ มีตัวอย่างประกอบในแต่ละแบบให้ดูด้วย ยังไงถ้าเสร็จแล้วจะนำมาให้โหลดกัน โดยรวมน่าจะทำออกมาได้ถูกใจหลาย ๆ คนแน่นอน

Download
** อ่านก่อนได้ แต่ยังไม่ครบดี และเอกสารอ้างอิงหลาย ๆ แห่ง ยังไม่ได้ใส่ อาจจะตกหล่นไป (ต้องขออภัยหลาย ๆ แห่งที่ยังไม่ได้ใส่ให้เพราะเวลาในการทำเนื้อหาในการส่วนนั้นผมต้องส่ง progress ให้อาจารย์ดูก่อน และเวลาในการทำเอกสารนั้นสั้นกว่าที่ควรจะเป็นครับ ทำให้บางส่วนยังไม่ได้ใส่ให้ในตอนนี้ครับ)

คอมไพล์เลอ ต้องมังกร & โอเอส ต้องไดโนเสาร์ หนังสือที่อ้างอิงและศึกษาได้ดี

ทำไม !! คอมไพล์เลอ ต้องมังกร และ โอเอส ต้องไดโนเสาร์

เป็นคำถามที่ผมว่ามันก็หาคำตอบลำบาก แต่วันนี้ผมจะมาแนะนำหนังสือ คงไม่บอกว่ามันดียังไง เพราะว่าหนังสือมันก็ดีทุกเล่มนั้นแหละ เพียงแต่ว่าเล่มนั้นจะให้แนวคิดและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่ากันเท่านั้นเอง (หนังสือบางเล่มจำเป็นต้องมีพื้นความรู้หลายๆ อย่างก่อนไม่งั้นอ่านแล้ว งง โคตรๆ)

Operating System Concepts


by Abraham Silberschatz, Peter Baer Galvin, and Greg Gagne


ถือเป็นหนังสือที่เอาไว้ศึกษาหลักการ Operating System ได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียว ที่ผมเรียนตอนปี 3 ก็ใช้เล่มนี้สอนเป็นหลัก แต่เนื้อหามันเยอะมาก เลยเรียนไม่หมดเล่ม ด้วยความอยากรู้เลยไปซื้อที่ CU Book ที่ม. ตอนนั้นมี Wiley Asia Sutdent Edition ขายพอดีราคาเลยถูกกว่าเล่มที่วางขายทั่วไปพอสมควร (เล่มในรูปซื้อมาประมาณ 600 – 700 ไม่เกินนี้ จำราคาไม่ได้นานแล้วอ่ะ -_-‘) เอาไว้ศึกษาพวก thead, memory management แล้วก็พวก deadlock ต่าง ๆ จริง ๆ อ่านเล่มนี้ทำให้เราเขียนโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพสูงได้เลยหล่ะ ได้แนวคิดเยอะมาก ๆ จริง ๆ คนที่เขียนพวกซอฟต์แวร์ที่ใช้ thead หรือพวก control session ต่าง ๆ สมควรอ่านอย่างยิ่งเลย เล่มที่ได้มานี่ 7th Edition ถือน่าจะใหม่เกือบที่สุดแล้วในตอนนี้ (เห็นใน amazon มี with Java ด้วย อันนี้น่าจะใหม่กว่านิดหน่อย) แต่เนื้อหาหลัก ๆ ถือว่าควบถ้วนครับ ซึ่งเล่มถ้าจะอ่านต้องมีพื้นในด้าน Hardware พอสมควร แนะนำให้เปิดหนังสือเล่มนี้อ่านพร้อม ๆ กับพวกวิชา Introductrory to Computer หรือ Computer Organization and Architecture ไปด้วยจะดีมาก ๆ


Compilers: Principles, Techniques, and Tools


by Alfred V. Aho, Ravi Sethi, and Jeffrey D. Ullman


เล่มนี้ถือว่าหายากมากในไทย แถมเป็นเล่มที่ Classic ของคนเรียน Computer Science (ออกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-1986) เห็นว่าเดือนนี้ (สิงหาคม 2006) จะออก Edtion ที่สองแล้ว แต่ว่าเล่มนี้นี่ ผมก็ไม่รู้ทำไม ที่มหาวิทยาลัยก็ไม่มี ในหอสมุดก็เพิ่งจะเอามาลงเมื่อปลายปี 2548 นี้เอง จริง ๆ ดูราคาแล้วก็แพงมหาโหดมาก ราคาจาก US -> Thai นี่เกือบ ๆ 4,000 บาทได้ เลยต้องยืมของหอสมุดมาถ่ายเอกสารเอา เพราะว่าหาซื้อไม่ได้ แถมแพงอีก ยิ่งแล้วใหญ่เลย (ถ่ายยังราคาเกือบ ๆ 500 บาทได้) โดยภายในหนังสือสอนแนวคิดก่อน และก่อนจะอ่านเล่มนี้จริง ๆ ต้องมีพื้นหลายอย่างมาก่อนแล้วทั้ง Computationnal Thoery หรือพวก Regular Expression wi POSIX/Perl ไม่งั้น อ่านลำบากมาก เพราะด้านในนี้แทบจะหา code โปรแกรมน้อยมาก ส่วนใหญ่จะออกแนวสัญลักษณ์ Computationnal Thoery เยอะ แถมต้องแม่น Data Structure และ Programming Language พอสมควรอีก ถ้าใครคิดจะอ่านเล่มนี้ต้องหาหนังสือเล่มอื่น ๆ อ่านประกอบไปด้วยไม่งั้นนึกภาพตามไม่ออกจริง ๆ ขนาดเราว่าเราแม่น ๆ หลายวิชาแล้วนะ ยังอ่านแล้วอ่านอีก เพราะว่าอ่านยากจริง ๆ แต่ถ้าอ่านแรกเข้าใจนะ โห … สุด ๆ อ่านแล้วนี่ Optimize Code ที่เราเขียนห่วย ๆ ตอนปี 2-3 ได้สบาย ๆ เลย เหมาสำหรับคนที่ออกแนวชอบ Optimize Code หรือพวกชอบงานแนว ๆ Code Quality
เล่มต่อมาเป็น

Languages and Machines
An Introduction to the Theory of Computer Science (3rd Edition)



by Thomas A. Sudkamp

อันนี้ไม่พูดอะไรมาก ราคาไม่แพงพอ ๆ กับ Operating System (เพราะว่ามันเป็น International Edition มันเลยถูก ;) ) เอาไว้อ่านประกอบ Compilers ด้านบนนั้นแหละ แต่บางอย่างอาจขัดแย้งกันในบางเรื่องกับ Compilers คงต้องเลือก ๆ อ่านสักหน่อย แต่ถือว่าช่วยให้อ่านเจ้า Compilers ได้เยอะ

ปิดท้ายด้วย หนังสือสำหรับคนที่ชอบการออกแบบ Database

Database Management Systems

by Raghu Ramakrishnan and Johannes Gehrke

เล่มนี้เอาไว้เรียนวิชา Database และมันเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีในการทำ Database Tuning ด้วย คงไม่บรรยายอะไรมาก หาอ่านเอาแล้วกัน เล่มนี้ Concept แน่นดีมาก ๆ

ว่าง ๆ จะหาหนังสือดีมาแนะนำอีกนะ ไปก่อนหล่ะ แว็บบบบบบบ

ว่ากันด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์

พอดีว่าอ่าน Studying Law is Important ของคุณ mk แล้วนั่งหา ๆ ค้น ๆ ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจกับความเป็นจริงนั้นถูกต้องหรือไม่

นั่งอ่านแล้วไปเจอที่ http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9 เลยนำมาเผยแพร่เสียเลยแล้วกัน ;)

สิทธิบัตร คือหนังสือสัญญา หรือเอกสารที่ได้รับการยินยอมและตรวจสอบแล้วจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะเป็นจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มักเป็นการต่อยอดทางปัญญา จึงคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นรางวัลแก่ผู้ทรงสิทธิ์ และไม่นานเกินไปจนไม่เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับสิทธิบัตรยาประเทศไทยคุ้มครองไว้ 20 ปี (นานกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศเสียอีก)

ลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับงานวรรณกรรม เช่นเพลง โดยคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ์และอีก 50 ปี ภายหลังจากผู้ทรงสิทธิ์เสียชีวิต โดยการดูแลของทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบมรดก

โดยแนวคิดแล้ว

ลิขสิทธิ์ มุ่งคุ้มครองการแสดงออก ไม่คุ้มครองสาระที่แฝงมากับการแสดงออกนั้น

สิทธิบัตร ก็จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยลิขสิทธิ์จะได้มาอัตโนมัติฟรี ๆ เมื่อแสดงออกต่อสาธารณะ (จดทะเบียนก็ได้ เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาทางกฎหมาย) และมีผลในทุกประเทศที่ร่วมใน Berne Convention (รวมไทย) ส่วนสิทธิบัตรต้องขวนขวายลงทุนให้ได้มา มีขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย มีผลเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสูตรปรุงอาหาร ถ้าเผยแพร่เป็นหนังสือ จะได้ลิขสิทธิ์ คนอื่นไม่มีสิทธิคัดลอกเผยแพร่โดยพลการ แต่จะปรุงอาหารตามนั้นกี่จานก็ได้ แต่ถ้าจะไปขึ้นสิทธิบัตร (ถ้าได้) คนอื่นไม่สามารถปรุงอาหารตามนั้นเลย แม้จะสามารถเข้าไปคัดลอกสูตรดังกล่าวได้ก็ตาม

ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า

มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

ใน พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522

มาตรา 9* การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]

มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

รายละเอียด ควรศึกษาเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายเอง จาก website ของ สนง กฤษฎีกา
http://www.krisdika.go.th

เอกสารอ้างอิง
http://www.krisdika.go.th
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9