ลักษณะการทำงานเป็นทีม

คำถาม ทีมเราได้ทำการไปแข่งคอมพิวเตอร์ สมาชิกในทีมมี 3 คน … แต่ computer เครื่องเดียว .. โดยให้เวลา 5 ชั่วโมง ซึ่งมีปัญหาอยู่ 8 ข้อ ควรจะทำยังไงดี?

ส่วนใหญ่จะคิดว่า

1) แบ่งกันทำคนละข้อ หรือไม่ก็ 2) สุมหัวกันคิดให้หมดทุกข้อ

ซึ่งทั้งสองแบบมันไม่ใช่การทำงานเป็นทีม และถ้าจะทำได้นั้นคนในทีมจะต้องมีพวกอัจฉริยะอยู่ด้วย

ซึ่งมันไม่มีจริงหรอก เอางี้นะ ปกติเรามีสามคนใช่มั้ย? เราทำแบบนี้

1) คนที่มองปัญหาเก่งที่สุด รู้ algorithm มากที่สุด แม่น data structure มากที่สุด จะเป็นคนนั่งอ่านปัญหา วิเคราะห์ปัญหา … จากนั้นเมื่อได้แล้ว จะเรียกคนที่สอง มาทำงานต่อ

2) คนที่สอง ก็คือ คนที่แม่น library ที่สุด แม่น feature ต่างๆ ใน programming language ที่ใช้ที่สุด เมื่อฟังจากคนแรก แล้วก็จะนั่ง implement idea, algorithm, data นั้นลง และเนื่องจากมี com เครื่องเดียว ดังนั้นการ debug จึงต้องทำ “นอกจอ” เพื่อไม่ให้เสียเวลา

3) คนที่สาม คือ debugger ที่จะเอามาจากการ printout และมาทำการ core dump เพื่อมานั่งวิเคราะห์

ซึ่งถ้า “แบ่งๆ กัน -> สุดท้ายนะ มันแก้ได้แต่ข้อง่ายๆ พอข้อยากๆ จะตายหมด เพราะว่า บางคน คิดออก แต่ว่าไม่รู้ feature ของภาษาที่ใช้มากพอ พอเอามา debug ก็ ช่วยกันไม่ได้ เพราะว่าแต่ละคนเขียนต่างกัน”

หรืออย่าง “สุมหัวกันทำ -> ทะเลาะกันก่อนจะได้ลงมือเขียน แย่ง keyboard กัน แล้วมาทะเลาะกันตอน debug ฯลฯ มันไม่ใช่ team work”

มันแค่ทำงาน “ด้วยกัน” ไม่ใช่ทำงาน “ร่วมกัน”

ตัวอย่าง

นาย A จะอ่านปัญหา ทำการวิเคราะห์ และจะมาอธิบายให้ นาย B ฟัง และนาย C จะฟังด้วย เพื่อให้รับรู้ algorithm

จากนั้น นาย B จะไปพิมพ์ implement ให้เร็วที่สุด ให้ได้ working program ที่คิดว่าเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพราะว่าในตอนนี้ นาย B เป็นคนเดียวที่จำ standard c++ ได้มากที่สุด ใช้ stl ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องเปิดอะไรเลย

นาย C จะมานั่งดูด้วย เพื่อให้เห็นวิธีที่นาย B เขียนอะไรบ้าง จากนั้น compile, run test .. แน่นอนว่าไม่ work ก็จะจะทำการ print เอา source code และ memory core dump จาก printer ส่วนกลางออกมา

นาย C จะมานั่ง debug ไล่ core จากนั้น นาย B ก็จะไปฟังการวิเคราะห์ปัญหาข้อใหม่จาก นาย A ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างอิสระ ไม่ต้องยุ่งกับเรื่อง implementation และอาจจะช่วย debug บ้างนิดหน่อย

นาย B ไม่ต้องคิดมากเรื่องการแก้ปัญหา หรือว่า debug เท่าไหร่

นาย C ไม่ต้องคิดแก้โจทย์ แต่ว่าต้องแก้ปัญหาในโปรแกรมที่ นาย B เขียน

แบบนี้สิ คือการทำงานเป็นทีม

ซึ่งการแบ่งโจทย์ไปคิดคนละข้อ หรือการสุ่มหัวกันคิด –> นี่เค้าเรียกการแบ่งหน้าที่ด้วยเหรอ จริงไหม

ดังนั้น … “แบ่งโจทย์ไปคิดคนละข้อ หรือการสุ่มหัวกันคิด ..” มันไม่ใช่ “แบ่งหน้าที่”

หน้าที่ของ programmer คืออะไร
1) วิเคราะห์ปัญหา
2) เขียนโปรแกรม
3) แก้โปรแกรม

…….. มันควรจะเป็นแบบนี้

อนาคตเราใครกำหนด (2)

“มันน่าจะเป็นสภาวะก้ำกึ่งนะ เช่น เราอาจจะดับดวงอาทิตย์ได้ อาจจะมีชีวิตอยู่ไปจน
จักรวาลสิ้นสุดได้ แต่เราก็จะมีมวลไม่พอจะล้มล้าง sigularity หรือ เราคงหยุดการ
สิ้นสุดของจักรวาลไม่ได้ เพราะชีวิตก็มีกรอบของมัน หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่คำตอบ
สำหรับชีวิตทุกชีวิต ดังนั้นส่วนตัวคิดว่า การกำหนดบทบาทตัวเอง เป็นสภาวะขับเคี่ยว
(dual state nature) ของ self (อัตตา) กับ universe (ปรมัตตา,อนัตตา)
จริงๆคิดว่า อะไรที่ทำแล้วมีความสุขความสงบก็น่าจะเป็นทางออกของชีวิต แต่ปัญหาคือ
ไอ้พวกที่มันไม่คิดอย่างนี้มันมักจะมายุ่มย่ามกับชีวิตเราและทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุข :)

จาก ที่ได้อ่านไปแล้วในตอนแรกนะครับ ก็อย่างที่ว่าไปแล้ว เราคนไทยมอง และกำหนดคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า เค้าเป็นเรา หรือเราเป็นเค้า หรืออย่างไร จริงๆ

ผมว่าไม่ควรกำหนดว่าใครต้องทำอะไรเพื่อใคร ถ้าเค้าไม่เต็มใจทำ แต่ที่แย่กว่าคือ เมื่อเค้าทำตามอย่างที่เราต้องการแล้ว ! ดันไปบอกว่ามันยังไม่ดี หรือยังดีไม่พอ มันดูเป็นการตั้งความหวังในตัวเค้ามากเข้าไปอีก เออ มันกลายเป็นการบันทอน ศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการทำงานรวมถึงกำลังใจ เข้าไปอีก

แต่เหตุและปัจจัยที่ผมได้กล่าวไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้มากนัก แต่อยู่ที่ค่านิยมครับ

สังคมเราเปลี่ยนไปหรือเปล่า ?

เปล่าเลย มันเป็นมาแต่เริ่มมีระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยแล้ว หล่ะ

เราคาดหวังกับการเรียนว่าออกมาต้อง “เข้าไปรับราชการ” กันมากเกินไป เราไม่ได้มองถึงส่วนที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่า “จบออกมาต้องเป็นหัวหน้า หรือผู้สร้าง ในอีกนัยความหมายนึงคือเจ้าของกิจการ รวมถึง สร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา”

รวมถูกสอนให้ “ตาม หรือลอก” มากกว่า “คิด และสร้าง”

ช่างน่าภูมิใจที่เราเป็นนักลอกเลียนที่เก่ง แต่เรากลับสร้างได้น้อยมาก …..

ปัญหาคือ !!!

เราไม่มี R&D รองรับมากเท่ากับคนจบ หรือคนเก่งๆ

คำตอบคือ !!!

มันทำให้เกิดปัญหาคนเรียนเปลี่ยนสายการเรียน เพราะ “เรียนไปแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรได้มากเท่าที่เห็น” หรือ “มองที่ด้านหลังของคำถามมากกว่า ด้านหน้าของคำตอบที่ออกมา”

ก็อย่างที่บอกในตอนที่แล้วว่า “มองผล ก่อนเหตุ” มอง “ตัวงานที่จะทำ มองค่าตอบแทน ค่านิยม หรือความเท่ห์ ก่อนความพอใจ หรือความสนใจ ของเรา”

แล้วจะไปรอดหรือ ……. ?

คนมันไม่มีใจเรียน มองแต่การตอบแทนในอนาคต คือบางคนมองด้านเดียว บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนไปทำไม หรือเอาไปทำอะไร

ตีโจทย์ในการค้นหาตัวเองไม่ออก ก็เหมือนกับ คนเดินป่าไม่รู้ทิศทาง

ชีวิตมันไม่ง่ายเหมือนกับ จีบสาว หรือชงเหล้า ….

ถ้ามันง่ายขนาดนั้น ป่านนี้คงไม่มีคนจนหรอก ….. ซึ่งเรามองแต่ด้านนอก เรามองที่มายา เราโดนการตลาดของ สื่อยัด เขาขยะเข้าหัว ขยะโฆษณาที่พร้อมจะทำให้เราตกเป็นทาสของมันได้ไม่ยาก

ใครเป็นคนกำหนดว่า เราต้องใช้ หรือไม่ใช่สินค้านั้นๆ นอกจากตัวเราเอง แล้วทำไมเราต้องไปตาม มันด้วย

อีกอย่างที่ตอนนี้เราตกเป็นทาส “เทคโนโลยี” มากมายเกินไป …. แถม ไม่ยอมรับในสิ่งที่คนไทยด้วยกันเองผลิต แต่กลับไปชื่นชม สินค้าต่างประเทศ มากกว่า

เพราะเราไม่เคยมองว่ามันดี ทั้งๆ ที่ของที่เราผลิต ต่างประเทศยอมรับมากมาย ขึ้นชื่อว่าสินค้า เกรด A ด้วยซ้ำไป

เรากำลังดูถูกตัวเอง ดูถูกคนในชาติกันเอง มันเลยย้อนกลับมาคนคนรุ่นใหม่ และทัศนคติใหม่ๆ ว่า …

“คุณต้องออกมาทำงาน ไม่ต้องคิดเองหรอก เอาความรู้ที่ได้มา เอามาทำยังไงให้มันขายได้เป็นพอ ส่วนเรื่องอื่น นายจ้างจัดการเอง”

เวรกรรม กลายเป็นว่าเราเป็นเครื่องจักรไปซะแล้ว

เอ้า !!! กลับมาที่เรื่องเราต่อ เท้าความมากเกินไปเดี่ยวออกทะเลอีก ……..

เราจะเห็นได้ว่าสังคมเรานั้นชอบกำหนดตัวบุคคล ทุกๆ คนว่าต้องไปตามนี้มากกว่า จะถามเค้าว่าอยากไปทางไหน เรากำหนดโดยยึดตัวเราว่า เราทำได้ เค้าต้องทำได้ ….

อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นชัด …… และชัดมากคือ มาตรฐานการเรียนการสอน การออกข้อสอบ …

เราสอนให้ทำ ให้ท่อง แต่ไม่ได้สอนให้ “เข้าใจ” ทำให้เราเรียนขั้นสูงแล้วหัวไม่ดี หางก็เสีย สรุป ตายน้ำตื่น ……

ตัวอย่างง่ายๆ คือ พีรามิด …… หรือรากของต้นไม้ …. มันต้องเริ่มจากฐานที่แน่นหรือใหญ่ หรือรากต้นไม้ที่ฝั่งลึกลงไปไปในดิน

แต่เรากลับไปเอาแต่กิ่งได้ ก้าน หรือลำต้น กันก่อน ……

อย่างใกล้ตัวที่สุด เรื่องการเรียนคอมฯ ถ้าไม่เข้าใจหลักการทำงานของคอมฯ คือ Computer Architecture หรือ Computation Theory แล้ว เราจะมองอะไรได้น้อย และเข้าใจมันลำบาก หรืออาจจะแค่ท่องๆ มันเท่านั้น ให้ผ่านๆ ไป แล้วก็สอบ

แล้วอย่างนี้ พอไปเจอตัวต่อไป ก็หน้าหงายครับ เพราะว่ามันใช้พื้นเดิมมาช่วยกัน ปัญหานี้เจอมากับตัวเลยต้องไปนั่งอ่านใหม่อีกรอบ มันถึงจะไม่งง ถึงได้เข้าใจเลยว่าพื้นไม่ดี ก็จบกัน …..

นั้นก็เหมือนกับที่ผมเขียนมายืดยาวครับว่า

“ถ้าไม่รู้จักตัวเอง, ไม่มีจุดยืดที่แน่นอน และสร้างสรรค์ ก็หาทางไปไม่เจอ เราก็จะโดนคนอื่น(สังคม) กระทำอย่างที่เค้าต้องการ รวมถึงค่านิยม และสื่อโฆษณาที่ประดังเข้ามา โดยเฉพาะสังคมที่พร้อมจะเหยียบคุณเมื่อคุณแพ้ได้เสมอ ซึ่งถ้าคุณไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แล้วก็ยากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไข หรือสร้างใหม่ได้ คนรุ่นใหม่ มักจะกลบความอ่อนแอด้วยการแสดงออกไหนหลายรูป ทั้งดี และไม่ดี ความอ่อนแอเหล่านี้ถ้าเราสร้างมันเป็นจุดด้อย มันจะกัดกินเรา แต่ถ้าเราสร้างมันให้กลายเป็นปมเขื่องใจ บอกให้สู้กับมัน น่าจะดีกว่ามันนั่งกลบมันไว้”

(ปมเขื่อง ตรงข้ามกับปมด้อย)

อยากให้คนที่ได้ blog เข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับชีวิต มากกว่าที่จะไหลไปตามกระแสสังคม มันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ว่ามันดีกว่าเราไหลไปแล้ว หาจุดยืนไม่เจอ ……

“คนเราล้มแล้วลุกยืนที่มั่นคงเดินไปในสิ่งที่ต้องการ ดีกว่ายืนแล้วเหมือนคนเมาใครจูงไปไหนก็ไป”

อนาคตเราใครกำหนด

นี่คือคำถามที่ใครหลายคนคิดไว้ในใจ ตั้งแต่ เราเริ่มรู้หลักเหตุ และผล รวมถึงเสรีภาพในด้านต่างๆ

ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน การเรียนก็ดี ทั้งในระดับ ประถมฯ, มัธยมฯ, สถาับันด้านวิชาชีพต่างๆ หรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยฯ (หมายรวมถึงสถาบันที่ว่าด้วยการจบมาได้วุฒิปริญญาตรี) ถึงแม้เป็นการศึกษาที่เราๆควรจะได้ศึกษากันทุกคน หรือย่างน้อยๆ ก็มีความรู้ติดตัว

แต่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดตัวเองเสียแล้ว ในเรื่องที่ว่าเราจะได้เล่าเรียน หรือจะได้เรียนให้สิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่สนใจหรือไม่

เรากลับหันหลัง และมองในสิ่งที่ชอบ ที่สนใจ ที่รัก เป็นงานอดิเรก หรืองานที่ทำยามว่างเท่านั้น

แต่เราหน้าไปหาสิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดแทน น่าแปลกที่สิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดนั้น 80% ของคนที่ทำให้ตัวเองอยู่รอด ไม่มีความสุขในสิ่งที่ทำ เพราะด้วยเหตุและปัจจัยรอบด้าน รุมเร้าให้ต้องทำ เช่น ต้องส่งเสียเหล่าพี่น้องในครอบครัว, ทำให้ได้ดั่งใจพ่อแม่, เพราะตามเพื่อนจนตัวเองลำบาก ฯลฯ ปัญหาอีกมากมายนานับประการนี้ มีปัญหานึงที่เราจะมาพูดกันในวันนี้คือ “ค่านิยมในอาชีพของสังคมไทย”

จริงๆ ไม่อยากหยิบเรื่องเหล่านี้มาพูดหรือมาเขียนหรอก เพราะอาจโดนตีหัว หรือโดนต่อต้านได้ แต่มันรู้สึกว่ามันหน้าจะสะท้อนอะไรในสังคมไทย ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ผมเห็นเพื่อนๆ ผม ,รุ่นพี่ หรือรุ่นน้องผม มักถามผมตอน ม.6 ก่อน Entrance ว่า จะไปต่ออะไรหล่ะ แล้วจบไปอยากทำงานอะไร ผมต่อว่า อยากเรียน “วิทยาการคอมพิวเตอร์” เหล่าคุณครู หรือแม้แต่เพื่อนๆ มองผมด้วยสายตา สงสัยในตัวผมด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่า “ไอ้ฟอร์ด เก่งคอมฯ ตายห่า เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หล่ะ” ทุกคนถามผมด้วยคำถามนี้จนต้องมาอธิบายยืดยาว …….

ใช่ผมอยากเข้า “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นวิชาเอกที่ชื่อดูดี “แต่ผมอยากเรียน” แม่ผม ก็ถามด้วยคำถามนี้เหมือนกัน แต่ก็ด้วยว่าผมยืนกราน แน่วแน่ แล้วท่านก็ปล่อยถามความคิดของผม เพราะท่านให้อิสระกับการตัดสินใจของผมอยู่แล้ว

ทำไมหล่ะ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หางานง่ายกว่า เท่ห์ กว่าด้วย สาวกรี้ด อีกต่างหาก จบไปบอกว่าจบ วิศวกรรม ใครๆ ก็มองว่าคนเก่ง แต่พอบอกว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์ กลับมองเหมือนพวก คนชั้น 2 – 3 ไปได้ ……”

น่าคิดนะ “สังคมไทย เป็นอะไรกันไปแล้ว”

เรามองคนระดับหัวกระทิผิดแนวทางกันไปหรือเปลา่ ???

จริงอยู่คนที่เข้าคณะวิศวกรรม คือคนเก่ง คนมีคะแนน Entrance สูง แต่ที่มันสูงเพราะค่านิยมมิใช่หรือ คนแห่กันไปเข้า คะแนนมันก็ปีนกันไป จนมันสูงโด่ง …….

รากหญ้าแห่งการแก้ปัญหาทั้งหมด คือ “วิทยาศาสตร์” แต่เราคนไทย มอง เป็นเพียงแค่วิชาที่เอามาใช้การอะไรได้ยาก เพราะอะไรหรือ ???

เพราะ “เราไม่ได้ผลิต นวัฒกรรม ต่างๆ ขึ้นใจเอง เราเป็นเพียงแค่ ประเทศผู้ถูกจ้างให้ผลิตสินค้าตามที่ต้องการ” ซึ่งทำให้เรา มองสิ่งที่เรียกว่า “รากแห่งความรู้เป็นเรื่องรองๆ” แทนที่จะมองเป็นเรื่องหลัก

เรามีนักวิชาการที่จบ ปริญญาเอก หรือสูงกว่านี้ นั้นน้อยมาก และในตอนนี้เราน้อยกว่า เวียดนาม แล้ว และเมื่อ 50 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เราได้ส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่อเมืองนอกมากมาย ตอนนี้เค้ากลับมาใช้สิ่งที่ควรมากเพียงใด หลายคนจบมา อุดมการณ์แรงกล้า หวังกลับมาช่วยชาติบ้านเมืองพัฒนา ด้วยแนวคิดใหม่ๆ แต่กลับถูก วัฒนธรรมองค์กรแบบ “ข้าราชการ ไทยเช้าชาม เย็นชาม เ้ข้าเสียส่วนมาก” เพราะทำอะไรเกินหน้าเกินตาเจ้ากระทรวงไป, เจ้านาย หรือหัวหน้า ก็จะโดนเล็งหมายหัว หรือจะโดนยิงหัวเอา ……

นั้นกลับทำให้สังคมไทยเราย่ำอยู่กับที่มานานกว่า 20 ปีีแล้ว เราถูกสิงค์โปร์ และมาเลเซียแซงไปแล้ว ซึ่งในตอนนี้เวียดนาม ก็กำลังตามเรามาติดๆ เรียกได้ว่าเราล้มเมื่อไหร่ โดนเวียดนามเหยียบเมือนั้น ……

อ้าว !!! ………. ไปไกลแล้ว กลับๆๆๆ

ดังเรื่องที่ออกทะเลไปเมื่อด้านบนนั้น จะเห็นได้ว่า เรามองตัวเองผิดกันไป ……..

ในตอนนี้เด็กได้ในสังคมไทยเลือกเรียนที่ “จบออกมาแล้วมีงานทำ”, “จบออกมาแล้วเท่ห์”, “จบออกมาแล้วทำงานสบาย” หรือ “จบออกมาแล้วหวังเพียงมีใบปริญญาติดออกมาเท่านั้น”

จะมีสักกี่คนที่เลือกเพราะ “อยากเรียน”, “สนใจ” และ “อยากรู้”

ช่างน่าเศร้าจริงๆ ที่เท่าที่ผมถามมา 98% หาคนที่เลือกทางเดินชีวิตไม่ได้ ซึ่งคือยังคิดไม่ออกว่าตัวเองชอบอะไร (ค้นหาตัวเองไม่เจอนั้นเอง) หรือสนใจศาสตร์ด้านใด (ในที่นี้ไม่นับพวกหลุดเข้าไปวังวนของสิ่งไม่สร้างสรรค์นะครับ)

ซึ่งผมจากที่ผมได้ อ่านข่าว และได้ประสบ พบเจอ จะว่าเห็นคนที่ชอบ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเรียน และทำงานกับมันด้วยใจรัก ไม่ต่ำว่า 90% นั้นประสบความสำเร็จทั้งนั้น บุคคลเหล่านั้น ได้สิ่งดีๆ ในชีวิตโดยมีความสุขในสิ่งที่ทำ และทำได้ดีด้วย และอีกเช่นกันคนเหล่านี้มักถูกชาวต่างชาติ ชักชวนไปทำงานร่วมกับพวกเค้าที่ต่างประเทศ

“คนเราถ้าสนใจ และชอบในสิ่งที่ทำ ซะอย่าง แม้แต่ทำให้ดวงอาิทิตย์ดับก็ทำได้”

มันเป็นความจริงของโลกนี้นะ ที่คนเราควรจำกำหนดสิ่งที่ตัวเองจะต้องเจอในอนาคต

………………………………………………………..

เดี่ยวมาเขียนต่อนนะครับ ง่วงแล้วไปหล่ะ ………..

มันจะเป็นบทสรุปของการว่า “ทำไมต้องมีแฟน” หรือเปล่า

     จากหนังสือทางด้านจิตวิทยาเบื่องต้น ว่าการมีแฟน ผลดี ผลเสีย เป็นอย่างไรนั้นยังไม่มีใครตอบได้ครับซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันขึ้นอยู่ที่บุคคลนั้นตามแต่สภาพแวดล้อมต่างๆ ครับ

ทำไมเหรอ ? เรามาดูกันดีกว่า

     ถ้าคนพากันทำตัวดี ช่วยกันเรียน ไม่ไปทำในเรื่องผิดศีลธรรม การเป็นแฟนก็จะมีแต่ผลดีในเชิงสร้างสรรค์ พ่อแม่ และคนรอบข้างก็สนับสนุน ซึ่งแทบจะไม่มีผลเสีย

     ถ้าคนพากันเลว พากันเที่ยว พากันไปโน้นไปนี่ ทิ้งการเรียน ไม่มีพ่อแม่ของใครจะไม่ปฏิเสธว่ามีผลดี มีแต่ผลเสีย

     แต่ปัญหาสำคัญคือ "พ่อแม่เสียใจ" ถ้าเราทำตัวไม่ดีผิดจากที่เราควรจะเป็น ผิดต่อหน้าที่นั้นๆ ในช่วงนั้นๆ ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น

 เพราะอะไรเหรอ ?

     ตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วัยในช่วงไหนบ้างที่เหมาะ และไม่เหมาะ ที่ไม่เหมาะเพราะอะไรและจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

     หน้าที่ในการเรียนถ้าพูดตรงนี้แล้ว คู่ไหนที่เป็นแฟนกัน หรือดูๆ กันแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากการทำหน้าที่เรียนได้ดี และทำกิจกรรม เข้าร่วมงานสังคมได้สม่ำเสมอ ไม่ผิดประเพณีของสังคม นั้น และปฏิบัติไปพร้อมกับการเป็นแฟนกัน เป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยากเลย เพราะว่าในชีวิตช่วงการทำงานนั้นยากกว่าเรียน ทำไมยังทำงานไปอยู่เป็นแฟนเป็นคู่ไปได้ล่ะครับ

 ปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ตรงนี้ !!!

     แต่อยู่ตรงที่ว่าเรายับยั้งชั่งใจได้มากแค่ไหนเมื่ออยู่ในสถานที่ล่อแหลม (ขอใช้คำแรงหน่อยนะ) …..

 เพราะอะไรน่ะเหรอ ?

     เพราะว่าอารมณ์และสถิติ รวมไปถึงวุฒิภาวะของวัยต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

ซึ่งปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ "ทำให้บุพการีเสียใจ" และนำพาไปสู่สิ่งต่างๆ ที่ไม่คาดฝัน

     ฉะนั้น ผมจึงมองว่า หากพ่อแม่รับได้ สังคม ok กับสิ่งที่ทั้งคู่ทำ การจะเป็นแฟนไปด้วยเรียนไปด้วยก็ไม่มีใครว่า ซึ่งถ้าพ่อแม่รับไม่ได้ ก็ไม่ควรเป็นแฟนกันครับ อันนี้ตอบแบบตรงๆ เราเปลี่ยนความคิดพ่อแม่เราไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนตัวเราครับ เราต้องปรับตัวเราให้เข้ากับสังคม และความเข้าใจเพราะว่า พ่อแม่ ย่อมรู้จักเราดีมากกว่าคู่(แฟน) ของเรา นั้นทำให้เราควรอดทนเสียหน่อย คบกันเป็นเพื่อนไปแบบอยู่แยกกันซึ่งก็ไม่เห็นเสียหลายตรงไหนครับ ดีซะอีกจะได้เป็นการลองใจกัน ดูกันยาวๆ ผมว่าดูดีและไม่มีอันตรายต่อตัวเองตัว

     แต่ถ้ามีพ่อแม่หรือครู(อาจารย์) ห้ามคบเป็นเพื่อนเลย อันนี้นี่ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่าใจคนนั้นห้ามยากให้เค้าเปิดอกคุยกัน ดูเค้าห่างๆ ให้ตัวเราเหมือนเป็นเพื่อนคอยแนะนำการใช้ชีวิตห่างๆ ทำให้เค้าเห็นเราเป็นคนที่ปรึกษาได้ เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดงันเกิดขึ้นอย่างน้อยๆ เค้าก็บอกเรา ปรึกษาเรา จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา ช่วยเหลือกัน นั้นคิดสิ่งควรทำ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วแก้ไขไมได้ แต่ป้องกันได้ ครับ

     หลายคนก็บอกว่าถ้าไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ ก็ไม่เห็นต้องเป็นแฟนกัน เพราะว่าไอ้คนที่เข้ามาในชีวิตลูกเค้าก็ไม่รู้ว่ามันจะมาอีแบบไหน มันจะมาหวัง … หรือยังไง อันนี้แนะนำว่า ให้เป็นที่ปรึกษาอย่าไปห้ามทันทีทันใด จะกลายเป็นว่าทำให้เค้าแอบคบกัน หลับหลังเราเปล่าๆ

     แต่แนะนำว่าคบกันเป็นเพื่อนไปก่อน ก็ได้ครับ แต่ถ้าพ่อแม่ยอมรับ ok กับเค้าแล้ว อันนี้ต้องคิดเองแล้ว ว่าจะยังไง เพราะว่าอนาคตเราต้องตัดสินชีวิตเราเองบ้าง และการคบกันเป็นเพื่อนกันนั้นอย่างน้อยๆ ก็ทำให้มีคนช่วยคิด ช่วยเรียน ช่วยปรึกษา จริงไหมครับ