VMWare กับแนวโน้นตลาด IT ปี 2016 เมื่อองค์กรสร้าง Private Cloud บน Software Defined Data Center

ได้มีโอกาสไปร่วมงาน Blogger ที่จัดโดย VMWare Thailand เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา อาจจะล่วงเลยมาสักพักใหญ่ๆ แต่คิดว่าข้อมูลที่ได้รับน่าจะยังคงสดใหม่อยู่ เพราะเป็นการคาดการณ์อนาคตของตลาด Private Cloud บน Software Defined Data Center

เริ่มต้นงานด้วยการพูดถึงเรื่องของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนเราทั่วโลก โดยในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น ปัจจุบันเราเรามีค่าเฉลี่ยอุปกรณ์ต่อผู้ใช้งานที่ 2.9 ชิ้นต่อคน และในปี 2020 จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวที่ 5.9 ชิ้นต่อคน ซึ่งอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นนั้น คือกลุ่ม Wareable, Internet of Things และ Automotive นั่นทำให้ตลาดในการพัฒนาแอพและกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น

โดยความต้องการของฝั่งธุรกิจ (Business) ที่เป็น 3 อันดับแรกสุดคือการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากขึ้นที่สุด (Resource Optimization) นำเสนอสินค้า-บริการใหม่ๆ สู่ตลาดให้ได้เร็วมากที่สุด (Bringing New Product and Service to the Market ) และสามารถทำงานร่วมกันระหว่างระบบได้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ (Greater Ecosystem Collaboration )

สำหรับในฝั่งไอที (IT) นั้น 3 อันดับแรกที่ให้ความสำคัญคือ มุ่งเน้นไปที่การดูแลรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มีประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น (Operational Efficiency) มีระบบสำรอง ช่วยให้ยังคงรันระบบให้ทำงานได้ตลอดเวลา (Disaster Recovery and Business Continuity ) และมาพร้อมกับระบบที่รันได้อย่างความปลอดภัยจากการโจมตีรูปแบบต่างๆ (Security)

ทำให้สอดคล้องกับสิ่งที่ IDC ได้ทำนายไว้ว่าแนวโน้มเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจหลักคือมี 4 ปัจจัยคือ

1. เครือข่ายและแหล่งเก็บข้อมูลที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Software Defined Networking and Storage)

2. การบูรณาการของระบบคอมพิวเตอร์ แหล่งเก็บข้อมูล และการจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นระบบเดียวกัน(Converged Infrastructure)

3. ศูนย์ข้อมูลที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Software Defined Data Center)

4. ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซสำหรับคลาวด์ (Open Source for Cloud)

สำหรับในตลาดไทยนั้น ความต้องการในกลุ่มคลาวด์นั้นมีมาก และต้องสามารถเคลื่อนย้ายไปแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ง่าย เพราะในปัจจุบันทุกคนต้องการที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ง่ายและยังคงทำงานได้อย่างราบรื่น เพราะ 88% ของผลสำรวจมองว่า Cloud ช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น และ 75% ของความต้องการ ช่วยในการเคลื่อนย้ายระบบได้ง่าย (Mobility) ซึ่ง มี 3 ปัจจัยที่จำเป็นต้องมีในการนำเสนอโซลูชั่นต่างๆ คือ ขยายออกได้ง่าย มีความยืดหยุ่น และจัดการมันได้ง่าย (Scalability, Flexibility and Simple to Manage)

จากประเด็นต่างๆ ข้างต้น ทาง VMwAre มองเห็นโอกาสเรื่องช่องว่างของ Public cloud กับ On-premises, Cloud App กับ Tranditional App และ Device ที่ยังแยกระหว่าง Content กับ App ทำให้เห็นโอกาสที่นำมาสู่ Ready for Any

Ready for Any คือวิธีคิดแบบ One Cloud, Any App และ Any Device โดยมองว่า ทุกอย่างสามารถทำงานบน Cloud โดยไม่สนใจว่า Infrastureture จะทำงานสอดประสานกันอย่างไร (VMware พยายามห่อหุ้มให้มันทำงานสอดรับกันได้บน logical design) โดยที่ยังคงทำงานรองรับกับ App ใหม่ๆ และ App ตัวเดิมได้เหมือนเดิม บนอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ ช่วยให้ลูกค้าสามารถย้ายสิ่งเหล่านี้ขึ้น Cloud ได้รวดเร็วแต่ยังตอบโจทย์สิ่งเก่าๆ ได้อยู่

แนวคิด DevOps กำลังเป็นที่จับตา VMware เห็นแนวทางและมองว่าขั้นตอน  Run, Build และ Deliver ของ Docker เป็นสิ่งที่องค์กรกำลังต้องการ แต่เรื่อง Security ยังเป็นคำถาม VMware เห็นช่องทางนี้จึงได้เพิ่มเติมมันลงไป จนเป็น Run, Build, Deliver และ Security  เพื่อตลาดองค์กร โดยการ Build/Deliver ตัว Docker จะทำงานภายใต้สภาวะคล้ายๆ sandbox โดยช่วยให้แต่ละ container มี security policy กั้นไว้เพื่อป้องกันการแฮกหรือเข้าถึงข้าม container

จาก VMware EVO RAIL สู่ VMware EVO SDDC (Software Defined Data Center) ช่วยให้แนวคิดแบบ Converged Infrastructure ยืดหยุ่นมากขึ้น เริ่มต้นที่ครึ่งตู้ Rack โดยอุปกรณ์ต่างๆ ได้รับ Certified โดย VMware ทำให้เชื่อมั่นในการเข้ากันได้ระหว่างอุปกรณ์แม้จะต่างผู้ผลิตกันก็ตาม ช่วยเรื่องความยืดหยุ่นได้มากขึ้น

ซึ่งในชุด VMware EVO SDDC  จะประกอบด้วยชุดจัดการ Converged Infrastructure ครบทุกจุด ซึงทุกอย่างที่ให้มาสามารถนำไปสร้างระบบ Software Defined Data Center ได้ทันที โดยประกอบไปด้วย

  • VMware EVO SDDC Manager
  • VMware VSAN
  • VMware NSX
  • VMware vRealize Operations และ Log Insight
  • VMware Site Recovery Manager
  • VMware Integrated OpenStack
  • vSphere Integrated Containers
  • VMware Photon Platform
  • Project Fargo
  • Pivotal
  • Repository Image
  • VMware Project A2 (Identity Management Advanced และ AppVolume)
  • VMware Horizon 6.2
  • VMware Project Enzo
  • VMware Fusion
  • VMware Workstation

โดยทั้งหมดนี้จะได้เป็น license ครบชุดพร้อมใช้งาน

ส่วนต่อมาคือ AirWatch by VMware เป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการ mobile devices โดยรองรับ platform ได้หลากลายผ่านทางหน้า Dashboard ทำให้เราสามารถดูสถิติการใช้งาน, การเชื่อมต่อเครือข่าย และข้อมูลอื่นๆ ได้ง่าย รองรับความสามารถ Mobile device management (MDM) พื้นฐานทั้ง remote wipe, locate, printer profile settings, security profile, certificate/token โดยมีระบบที่ชื่อ Secure ContentLocker ในการจัดเก็บไฟล์ซึ่งทำหน้าที่แทนซอฟต์แวร์จำพวก Dropbox โดยสามารถส่งแอพต่างๆ ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้ลงทะเบียนไว้ทั้งแอพที่พัฒนาภายใน แอพที่มี license เฉพาะ และแอพภายนอกที่มีลักษณะคล้ายกับ Store โดยการเข้าถึงระบบมีความสามารถแบบ single sign-on ผ่าน SAML-based Single Sign-On (SSO) ซึ่งสามารถกำหนดสิทธิ์ผู้ดูแลให้ต่างกันตามหน้าที่ได้ตามต้องการ อีกทั้งผู้ดูแลระบบมีระบบ Inventory สามารถรองรับการบริหารจัดการทรัพยาการของบริษัทได้ สุดท้าย ความสามารถ Horizon View ที่ใช้งาน ArcGIS บน VM ที่มี vGPU เพื่อ Render งานแทน vGPU ของ client ช่วยในการแชร์ทรัพยาการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งเจ้า AirWatch เป็นโซลูชั่นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดตั้งเข้าเครื่อง Client พร้อมทั้งสามารถเข้าข้อมูลและแอพต่างๆ ได้ทันที ช่วยให้การทำงานราบรื่นและสะดวกไม่ว่าจะทำงานที่ได้ แน่นอนว่ายังรองรับอุปการณ์อย่าง Internet of Things (IoT) ที่จะเป็นเทรนในอนาคตอีกด้วย

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในงานนี้ VMWare นั้นสร้าง””โซลูชั่นเหล่านี้เพื่อตอบโจทย์เทรนที่กำลังจะมาในปี 2016 อย่าง Digital Transformation (การประยุกต์ใช้ดิจิตอลเพื่อโอกาสทางธุรกิจ) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่สิ่งใหม่ๆ ต่อไป