แรกสัมผัส Samsung Blu-ray BD-C5500

ได้รางวัลมาจากกิจกรรม Sucker Punch Shooting Contest ผมได้รางวัลที่ 3 ครับ ได้ Samsung Blu-ray BD-C5500 มา ราคาไม่แน่ใจตอนนี้มันเท่าไหร่ ผมก็ไม่ได้ตาม ไปขนมาจาก บ. เค้ามา

รูปที่ชนะก็รูปด้านล่างนี้ครับ ;)

เข้าเรืองๆๆ ครับ ><”

IMG-20110809-00176

ขอเล่าสักหน่อยว่าพอได้ Samsung Blu-ray BD-C5500 แล้ว คงได้เวลาของ Blu-Ray เสียที ตัวนี้ feature เทพเยอะมาก รองรับไฟล์เยอะใช้ได้ อ่านแผ่น Blu-ray ได้ ถือว่าโอเคสำหรับผม พวกมีคอมฯ อยู่แล้ว คงไว้ชิลเวลา “เบื่อหน้าคอม”

ส่วนที่ลองตัวแรกคือ ตัว InternetTV ลองใช้งานแล้วโอเคเลย ดู Youtube และรูปจาก Picasa หรือเล่นเน็ตได้เลย ผมลองต่อ HDMI เข้ากับจอ Monitor LCD LG E2360V-PN ดูภาพที่ได้คมชัดบาดตาดี ระดับ 1080p ชัวช์! ซึ่งตัว fw ที่ใส่มาให้ตอนแรกไม่รองรับ InternetTV ประเทศไทย แต่พออัพ fw ผ่าน Internet แล้วใช้งานได้ทันที เมื่อวานลองแล้วโอเคเลยโหลด Apps มาใส่ได้เรื่อยๆ ด้วยนะ มี Apss มาให้ก่อน 11 ตัวโหลดอยู่พักใหญ่ๆ เลย

ส่วนของระบบ share ต่างๆ กำลังว่าจะลองดูอยู่เหมือนกัน เสียดายที่มันต่อ LAN ได้อย่างเดียวถ้าจะใช้ Wireless LAN ต้องซื้อ Dock USB มันเพิ่มอีกตัว

ดูจากข้างกล่องแล้ว มันทำ Stream Media ได้ด้วย ว่าจะลองอยู่เหมือนกัน ได้ลองแป็บๆ เพาะต้องทำงานต่อ เดี่ยวหาเวลาว่างๆ จะลองส่วนอื่นๆ นี่ก็ยังไม่ได้ลองต่อกับ ext HDD ว่ามันเห็นหรือเปล่า ถ้าเห็นนี่เมพมาก Content กว่า 2TB อยู่ในนั้น!!!

แต่ …….. เหลือแต่ LCD 42″ ซินะ!!!! ><”

Ratina Display กับ iPad 2 ที่ยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่จำเป็น)

จริงๆ กะเขียนเกี่ยวกับ iPad 2 เรื่องจอของตัวมันสักหน่อยว่าในความคิดผมจำเป็นแค่ไหนที่จะเป็น Ratina Display แต่คิดๆ แล้ว ออกแนวบ่นๆ มากไปดูจะไม่ได้ (ถ้าใครตาม twitter ผมจะทราบ)

ประเด็นคือในตอนนี้ผมคิดว่าผมจะยืนพื้น iPad 2 เป็นหลักซะ (เอาไปอ้างอิงถึง Tablet อื่นๆ หรือ Notebook ด้วยก็ได้มั้ง)

อย่างแรกก่อน Ratina Display เป็นคำเรียกของ Apple ที่เรียกจอภาพความละเอียดสูงที่ใช้กับ iPhone 4 เป็นครั้งแรก และใช้ใน iPod Touch 4 ในคราวต่อมา ซึ่งมีความละเอียดต่อนิ้วในระดับที่สายตาคนซึ่งคนเราสามารถแยกแยะพื้นที่ 1 ตารางนิ้วได้ประมาณ 300 จุด (dot per inch หรือ dpi) ซึ่งจอภาพดังกล่าวที่ Apple เรียกนั้นสามารถทำได้ถึง 326dpi ที่ขนาดจอ 3.5″ ทำให้ได้ Resolution ของจอภาพดังกล่าวนั้นแสดงผลถึง 960×640 pixel ซึ่งสูงมากสำหรับจอภาพระดับ 3.5″

แต่ประเด็นคือในการเปิดตัว iPad 2 ที่ผ่านมานั้น มีการคาดการณ์ว่า ตัว iPad 2 จะใช้ Ratina Display ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่ได้ใช้ (หลายคนผิดหวัง) แต่ผมมองว่า ถ้า iPad 2 จะใช้ Ratina Display จะต้องใช้ resolution เท่าไหร่?

เพราะขนาด iPhone 4 ยังใช้ที่ 960×640 pixel ที่ 3.5″ แล้วจอ 9.7″ หล่ะ คิดว่า CPU/GPU ต้องใช้ขนาดไหนถึงจะสามารถประมวลผลภาพออกมาแสดงผลได้ในระดับสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า!!

หลายคนอาจจะบอกว่า CPU/GPU แรงขึ้นมาก น่าจะไหวนะ แต่ลองเทียบง่ายๆ แค่จอภาพ 7″ แล้วให้เป็น Ratina Display ซึ่งผมยกตัวอย่างว่าให้ยัดใส่ใน Samsung Galaxy Tab ก็จะได้ Resolution ถึง 1920×1280 pixel ถึงจะได้ความละเอียดระดับ Ratina Display ที่ 326 dpi เท่าๆ กับ iPhone 4 จากตัวอย่างที่บอกมา จะเห็นว่านี่มันมากกว่าจอ Full HD 23″ อีกนะครับ และนี่ไม่ต้องมองไปถึงจอ 9.7″ ของ iPad 2 เลยด้วยซ้ำ ถ้าเทียบว่า CPU ของ iPad 2 เร็วขึ้น 2 เท่านะ เอาง่ายๆ คิดเร็วๆ ไม่ต้องเยอะ แต่แน่นอนเอาเข้าจริงมันเยอะกว่านั้นมากๆ ซึ่งถ้า 9.7″ นี่ผมคิดว่าระดับ Resolution ของภาพน่าจะเกือบๆ ได้จอแสดงผล Super Full HD ไปแล้วมั้ง (ผมย้ำว่าคิดเร็วๆ)

คือแค่ CPU A5 ผมยังคิดว่าการแสดงผล Full HD ที่ระดับ 1080p นั้นยังทำได้ดีในระดับที่ทำงานได้แต่ถ้าทำ multi-tasking มากๆ อาจจะมีปัญหาได้ การใช้ Ratina Display มาทำให้กินแรง CPU/GPU เพิ่มขึ้น ผมเกรงว่าแค่สร้างภาพให้แสดงและทำงานทั่วไปก็เต็มที่ของมันแล้วมั้งครับ ถ้าเอาการแสดงผลของ Super Full HD มาใส่ ผมว่าลำพังแค่ CPU/GPU ของอุปกรณ์ขนาดเล็กในตอนนี้คงยังไม่ไหว (ในอนาคตไม่แน่) เพราะแค่ CPU High-End ยังแสดงผล Super Full HD ยังเต็มกลืนเลยในตอนนี้

ที่น่าคิดมากๆ ต่อมาคือ มีจอความละเอียดสูงๆ แต่เนื้อหาและสื่อต่างๆ (Content) ของ Apple มีตัวไหนบ้างที่แสดงผลได้ในระดับ 1280p (หรือสูงกว่า) ในตอนนี้ เพราะตอนนี้ใน Apple Store ก็มีไฟล์หนังระดับ Full HD ระดับ 1080p เท่านั้นเอง ถ้าเอา Full HD มาแสดงบน Ratina Display ขนาด 7″ ยังแตกและไม่เนียน อย่าหวัง 9.7″ ใน iPad 2 เลยครับ!!!

ประเด็นสุดท้าย ซึ่งผมมองว่าเป็นความพอดี ที่ต้องเข้าใจ คือบางคนไม่ได้คิดถึงระยะทางการมองเห็น (Viewing Distance, ยังไงลองไปหาอ่านเพิ่มนะครับ ไม่อธิบายเพิ่มเดี่ยวยาว) ของสิ่งที่ตัวเองใช้งานเลยว่าความเหมาะสมอยู่ที่ตรงไหน การเพิ่มขึ้นของ dpi เท่ากับการประมวลผลมหาศาลอย่างที่บอกไปแล้วนั้น ความเหมาะสมในการใช้งานของ iPhone 4 และ iPad นั้นแตกต่างกัน ระยะการมองเห็นของดวงตาถึงจอภาพไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการใส่ Ratina Display ลงบน iPad 2 จึงเป็นการสิ้นเปลืองและเพิ่มต้นทุนของจอภาพโดยใช่เหตุ ลองคิดๆ ว่าจอภาพของ iPhone 4 กับจอของ iPad ที่ใช้ๆ กัน จอแบบไหนแพงกว่ากัน ในมุมผมแล้วนั้นจอ iPhone 4 มีราคาแพงกว่าแน่นอน เพราะฉะนั้นยิ่งทำจอ Ratina Display ใหญ่มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นการทำให้ iPad มีราคาสูงขึ้นมากเท่านั้น และด้วยสงครามราคาในตอนนี้ด้วยแล้ว Apple คงต้องการทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อชิงพื้นที่ส่วนแบ่งให้มากๆ เป็นหลักก่อน

จอ LCD แบบ antiglare และ glossy, LED และ CCFL

จอด้าน (antiglare) เป็นจอภาพดั่งเดิมซึ่งแทบจะไม่มีการสะท้อนแสงจากตัวจอออกมากระทบตาของเรามาก นัก ทำให้ถนอมสายตามากกว่า แต่แลกกับสีสันที่ไม่ฉูดฉาดมากนัก

จอกระจก (glossy) เป็นจอที่มีการนำสารบางอย่างมาฉาบให้เกิดการรวมแสงหรือเพิ่มโทนสี ทำให้สีสันสดใสกว่า บางรุ่นเอา antiglare ไว้ด้านในแล้วเอากระจกฉาบแบบ glossy มาไว้ด้านหน้าแทนก็มี แต่แลกกับการสะท้อนแสงที่มากขึ้น ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานกลางแจ้งที่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลังตัวผู้ปฎิ บัติงานครับ เพราะแสงเหล่านั้นจะสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้ตาเราต้องเพ่งมากขึ้น

ข้อเสียของจอภาพแบบ LCD ทั้งสองแบบคือไม่หมาะกับการทำงานกลางแจ้งเพราะแสงจากตัว Backlight สู้แสงกลางแจ้งไม่ไหวครับ ถึงแม้จะมี antiglare film มาติดให้กับจอแบบ glossy แต่ก็ทำให้สีสันและความเที่ยงตรงของสีลดน้อยลงไป ซึ่งในการทำงานบางประเภทที่ซีเรียสกับเรื่องสีที่เที่ยงตรงสูงมักไม่นิยมกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตอนนี้จะใช้จอแบบ antiglare เป็นมาตรฐานครับ

โดยที่จอด้าน (antiglare) และจอกระจก (glossy) มีทั้งแบบ CCFL Backlight และ LED Backlight เหมือนกัน ซึ่งจอภาพที่ใช้ใน Notebook ในปัจจุบันเรียกว่า LCD (Liquid crystal display) ทั้งนั้น เพียงแต่ตัว Backlight ด้านหลังจะใช้ CCFL Backlight (Cold Cathode Fluorescent Lamps, หน้าตาเหมือนหลอดนีออนตามบ้าน) หรือ LED Backlight (Light Emitting Diode, เป็นหลอดเล็กๆ เป็นจุดๆ หน้าตาประมาณ หลอดไฟมือถือรุ่นใหม่) เท่านั้นเองครับ

08_good_ccfl

ภาพ CCFL Backlight จาก Rescue IBM ThinkPad T40 “Black” Display: Replacing its CCFL

NDF-CCFL-lamp-a

ภาพ CCFL Backlight จาก BARCO LCD Display BackLight Replacement

sony_display_size

ภาพเทียบความบางของจอแบบ LED Backlight และ CCFL Backlight
จาก 11.1" TFT LED Backlit Display: A Viable Way Out For The Energy Crisis? Continued

sony_led

หน้าตา LED Backlight จาก 11.1" TFT LED Backlit Display: A Viable Way Out For The Energy Crisis? Continued

LED-backlight

ภาพการจัดเรียงตัวของ LED ตามปรกติ จาก LED backlighting coming to a Mac near you

ซึ่งปัจจุบันเนี่ยจอใน Notebook รุ่นสูงๆ จะใช้ LED Backlight กันซะเยอะแล้ว เพราะประหยัดพลังงานกว่าและจอไม่เหลือง เพราะการเสื่อมสภาพของ Cathode Fluorescent โดยที่จอ LCD แบบ LED Backlight ตอนนี้ราคายังคงแพงอยู่พอสมควรเพราะยังผลิตใน Scale ไม่เยอะเท่ากับ Cathode Florescent ครับ คงต้องรออีกสักพักคงจะเป็นมาตรฐานไปครับ