ประสบการณ์ใช้งานมา 1 ปี ของ Lamptan Smart Wi-Fi Bulb และ WiZ by Philips LED Bulb

เป็นประสบการณ์การใช้งานหลอดไฟ LED Bulb W-Fi ในระยะเวลา 1 ปี เป็นรีวิวขนาดสั้น ๆ จาก 2 ยี่ห้อ 3 แบบมาเล่าให้ฟัง เผื่อคนที่ผ่านมาอ่านจะได้นำไปตัดสินใจซื้อ อาจจะยี่ห้อนี้ หรือยี่ห้ออื่น ๆ ที่จะมีมาขายอีกในอนาคต

โดยมีรายการดังต่อไปนี้

  1. Lamptan Smart Wi-Fi Bulb Multi-Colour RGB White (2700K – 6500K) 11W (Tuya OEM)
  2. WiZ by Philips LED Bulb Tunable White (2700K – 6500K) 9W A60
  3. WiZ by Philips LED Bulb Colors/Tunable White (2700K – 6500K) 9W A60

Lamptan Smart Wi-Fi Bulb Multi-Colour RGB White (2700K – 6500K) 11W (Tuya OEM)

ตัวนี้เป็นตัวแรกสุดที่ซื้อมาใช้งานจำนวน 7 หลอด โดยใช้ในพื้นที่ในบ้านคือ

  • ห้องทำงาน 2 ห้อง ห้องละ 2 หลอด
  • ไฟชั้นสอง 2 หลอด
  • โคมไฟในห้องนอน 1 หลอด

WiZ by Philips LED Bulb Colors/Tunable White (2700K – 6500K) 9W A60

โดยใช้ในห้องนอนทั้ง 4 หลอด พร้อม remote

WiZ by Philips LED Bulb Tunable White (2700K – 6500K) 9W A60

จำนวนหลอดที่ใช้อยู่ 3 หลอด

  • ใช้กับไฟหน้าบ้าน จำนวน 1 หลอด
  • ใช้กับไฟในห้องนอนชั้นหนึ่ง จำนวน 2 หลอด พร้อม remote

เหตุผลที่ผมซื้อหลอดไฟแบบ Wi-Fi มาใช้ ไม่ใช่แค่มันเปิด-ปิดผ่านแอปได้เท่านั้น แต่มันยังเปลี่ยนสีได้ตามแต่รุ่น บางรุ่นก็ได้แต่โทนสี Cool Daylight ไปถึง Warm White และรุ่นเป็น Multi-Color แบบ RGB ฉะนั้นการใช้สวิตช์ไฟแบบ smart Wi-Fi จึงไม่ตอบโจทย์ความต้องการนี้

ซึ่งการที่หลอดไฟสามารถปรับเปลี่ยนสีได้หลากหลาย ปิด-เปิดได้ผ่านแอป ทำให้เราสามารถนำไปปรับโทนของห้องได้ โดยเฉพาะก่อนนอน ผมจะปรับโทนของบ้านทั้งหลังให้เป็นไฟ warm เพื่อเลี่ยงแสงสีฟ้า ช่วยทำให้ร่างกายปรับตัวพร้อมนอนได้ดีมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เราหลับได้ง่ายกว่าจริง ๆ และในบางครั้งทำงานอ่านหนังสือ ก็ปรับค่า K ให้เหมาะสมกับการทำงาน-อ่านหนังสือได้ หรือบางครั้งดูหนังก็ปรับความสว่างให้เหมาะกับโทนของความบันเทิงได้เช่นกัน

และสำหรับ WiZ ที่ตอนนี้เลือกใช้เป็นหลักแทน Lamptan เพราะ มี WiZ remote ซึ่งเป็นรีโมตคล้าย ๆ กับรีโมตทีวี ช่วยในการเปิด-ปิด และตั้ง profile เฉพาะ 1-4 ช่วยให้เราไม่ต้องเปิดแอปบนมือถือ หรือลุกไปที่สวิตช์ไฟแบบเดิม ๆ ซึ่งในตอนแรกที่ผมใช้หลอดไฟ Lamptan นั้น ไม่มีรีโมตก็มีความไม่สะดวกอยู่บ้างในตอนเช้าที่ต้องหามือถือมาเปิดไฟ แต่พอปรับเป็น WiZ แล้ว มันง่ายขึ้นมาก เราแค่ควานหารีโมตแถว ๆ โต๊ะข้างเตียงแล้วกดปุ่มในจุดที่คุ้นเคยก็เปิดไฟได้แล้ว

จุดที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ไม่แพ้กัน คือการนำไปใช้กับไฟหน้าบ้านในจุดที่แสงอาทิตย์เข้าไม่ถึง แล้วต่อกับ Home Assistant ให้เปิด-ปิด และปรับความสว่างไฟตามเวลาที่กำหนด ช่วยให้ประหยัดไฟ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้านด้วย เพราะการเปิด-ปิดไฟทำผ่าน Home Assistant โดยตรงไม่ต้องให้คนมาเปิด-ปิดอีก

และสำหรับจุดที่แสงแดดเข้าถึง ผมก็ใช้หลอดไฟ LED light sensor แทนในการให้มันเปิด-ปิดไฟ ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวหลอดไฟไปได้กว่า 50% เลยทีเดียว

โดยสรุปในภาพรวมของการใช้งาน

  1. หลอดไฟทั้ง 3 รุ่น 2 ยี่ห้อ ตัวทำงานผ่าน Wi-Fi 2.4GHz ทั้งหมด
  2. สามารถสั่งการผ่านแอปทั้งหมด ไม่ต้องซื้อ Hub ควบคุมเพิ่มเติม
  3. ความสามารถของแอป และการปรับแต่ง WiZ ง่ายกว่า Smart Life (Tuya OEM)
  4. ความเสถียร WiZ มีมากกว่าพอสมควรทั้งแอป และตัวอุปกรณ์
  5. การทำงานร่วมกับ automation อื่น ๆ ไม่หนีกันมาก Tuya เคยทำได้เยอะมากผ่าน IFTTT แต่ตอนนี้น่าจะน้อยลงเยอะ และต้องพึ่งพา Home Assistant แทน แต่ Tuya Cloud ก็เรื่องมากขึ้นทุกวัน ก็คิดว่าหนีไปตัวที่ open มากกว่าก็น่าจะดี
  6. ความสว่าง แม้ว่า Lamptan จะบอกว่า 1,000lm และ WiZ แจ้ง 800lm แต่รู้สึกได้ว่าความสว่างมันพอ ๆ กัน
  7. ราคา WiZ แพงกว่า Lamptan อยู่ที่ 100-200 บาท แต่จากประสบการณ์ที่ใช้งานมา คิดว่า WiZ คุ้มค่ากว่าหากจะซื้อใช้ในหลอดถัด ๆ ไป
  8. สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการเชื่อมต่อหลาย ๆ ยี่ห้อ หรืออุปกรณ์ให้ทำงานร่วมกันได้ ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบ Home Assistant แต่ใช้ผ่านแอปของยี่ห้อนั้น ๆ ในการควบคุมก็ได้ ซึ่งเหมาะกับคนเริ่มต้นใช้งาน หากเพียงพอก็ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต
  9. Lamptan ที่ซื้อมา 6 หลอดต้องเอาไปเคลมเปลี่ยนหลอดใหม่ยกชุดภายในเวลา 6 เดือน แต่หลังจากเคลมกลับมาก็ไม่มีเสียอีก (หลังจากใช้งานมา 6 เดือน)
  10. หลอดไฟในรีวิวนี้ผ่าน มอก. ทั้งหมด

IT Security 101 ภายในบ้าน สำหรับ IoT

ถือเป็นโน๊ตเล็ก ๆ ในการเริ่มต้นใช้งาน IoT ในบ้านสำหรับใครหลาย ๆ คนที่ห่วงเรื่อง IT Security หลังจากติดตั้ง IoT ในบ้านก็แล้วกัน อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่คิดว่าหลัก ๆ น่าจะประมาณนี้ บางอย่างก็อาจจะเวอร์ไป ก็ดู ๆ ตาม ความเหมาะสม

  1. ปรับแต่ง router gateway ของบ้านให้แน่ใจว่าไม่มี port services ที่ไม่ต้องการเปิดรับ traffic จาก internet และถ้าเป็นไปได้ให้ปิดทั้งหมด
  2. ตั้งค่า username และ password ของ router gateway ที่ไม่ใช่ค่าเริ่มต้น และควรตั้งยากๆ หน่อย (แต่ก็อย่าลืมด้วยหล่ะ)
  3. Wi-Fi ในบ้านตั้งรหัสผ่านเข้าเป็น WPA2-AES เป็นอย่างน้อย และรหัสผ่านควรตั้งยาว แต่ยังพอจำได้
  4. เป็นไปได้หา managed switch แบ่ง VLAN ออกเป็นส่วน ๆ เช่น Home, IoT และ Guest เป็นต้น
  5. ทำ monitor traffic ของ IoT ที่ติดต่อกับ internet และ block การส่งข้อมูลออกในอุปกรณ์ที่ไม่ควรจะส่งข้อมูลออก internet ให้มันอยู่ใน VLAN นั้นเท่านั้นพอ หาก allow ให้ติดต่อ internet ก็เช็ค domain หรือ IP Address ก่อนติดต่อออกไป
  6. เป็นไปได้ให้แยก VLAN อุปกรณ์ที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงเช่น NAS, NVR หรือ CCTV ไปไว้อีก VLAN ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครเลย เวลาเข้าให้ตั้งค่า policy ของ firewall ให้ allow เฉพาะ mac address หรือ IP Address ที่กำหนดเท่านั้นถึงจะเข้าไปดูได้
  7. ระบบ NAS, NVR หรือ CCTV ไม่ต่อ public internet ตรง ให้ VPN เข้าไปดูผ่าน Desktop หรือ Notebook ที่ทำตัวเป็น terminal เท่านั้น เพราะอุปกรณ์เหล่านี้สุ่มเสี่ยงถูกแฮก รวมไปถึงถูกควบคุมเป็น botnet ได้ง่ายมาก เพราะผู้ใช้งานมักไม่อัพเดทตัวซอฟต์แวร์ล่าสุด หรืออุปกรณ์สิ้นสุดการสนับสนุนจากผู้ผลิตแล้ว ทำให้มีช่องโหว่ใหม่ ๆ ตามมามีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก
  8. เป็นไปได้ ให้แยก Wi-Fi router สำหรับแขกที่มาบ้านอีกตัว ต่อเข้า port อีกช่องบน managed switch ที่กำหนด VLAN อย่างเฉพาะก่อนต่อเข้า router gateway หรือร่วมกับ network ภายในบ้าน และ block ไม่ให้ access ข้าม VLAN แต่เพื่อความสะดวก Guest อาจจะสามารถ Cast ขึ้น Chromecast ได้เมื่อจำเป็น
  9. ถ้าคิดว่าซีเรียสเข้าไปอีก กำหนดให้หากพบ mac address ที่ไม่ได้ลงทะเบียนก่อน จะไม่สามารถต่อ internet หรือเข้าถึง network ได้ด้วย

จากคำแนะนำเบื้องต้นข้างต้น ผมจะโฟกัสที่การเข้าถึงอุปกรณ์ทีอ่อนไหว และสุ่มเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวอย่าง NAS, NVR หรือ CCTV เพราะหากถูกเข้าถึงโดยผู้ไม่หวังดี ย่อมให้เกิดความเสียหายได้อย่างมาก เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มใส่ใจให้มากขึ้น

เพราะใครจะไปคิดว่าแค่หลอดไฟมันจะต่อ WiFi และเชื่อมเข้า internet ได้มากขึ้น ฉะนั้นเรื่อง IT Security ภายในบ้านก็สำคัญ และควรเริ่มใส่ใจ