Work Flow ในการแต่งรูปหลังจากถ่ายรูปเสร็จแล้วของผม (ฉบับแต่ภาพผู้หญิง)

อันนี้เน้นถ่ายรูปสาวๆ ก่อนนะครับ ;P

  1. เอาการ์ดออกจากกล้องก็ Import เข้า Adobe Photoshop Lightroom ทันที
  2. ปรับ Library ตามวันที่ที่ถ่ายรูป ถ้างานไม่เร่งก็ใส่ Metadata ต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
  3. เลือกรูปที่ต้องการจะ Post-Process ทั้งหมดโดยใช้ Flag Color แบ่งตามประเภท แล้วตามด้วย Star สำหรับลำดับการงานก่อนหลัง
  4. แล้วก็ไล่ดูว่าภาพไหนเบลอ ภาพไหนไม่ชัด หลุดโฟกัสก็ลบออกไปตามความเหมาะสมอีกทีหนึ่ง
  5. พอ ได้ลำดับการทำงานแล้วก็ไล่ปรับ Picture Control (Camera Profile) เป็น Portrait ให้ Skin Tone ออกชมพูนิดๆ ดูสวยงาม อาจจะไม่ทุกรูป ดูตามความเหมาะสม ไล่ไปทีละภาพค่อยๆ ดู
  6. ระหว่างปรับ Picture Control ก็เช็ค WB ด้วยว่ามัน ok ไหม
  7. แล้ว จัดการดึง Exposure และ Curve เพื่อเพิ่มกราฟของ Histogram ไปด้านบวกพยายามให้ High Key ตามความเหมาะสมเพื่อให้ผิวสาวๆ ดูชมพูและออกนวลๆ มากขึ้น
  8. ข้อควรคำนึงคือสาวๆ ต่อให้แต่งหน้าเก่งแค่ไหนก็ไม่เนียนครับ ยิ่งถ่ายภาพใช้เลนส์ Macro ให้ใช้ Adjustment Brush แล้วใช้ Clarity เกลี่ยผิวอีกทีเพื่อให้เนียนขึ้น เสร็จแล้วค่อยเพิ่ม exposure หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
  9. พอ Process RAW จบทุกภาพที่ทำ Flah/Star แล้วทำการ Export เป็น TIFF/JPEG (แล้วแต่งาน) ด้วย Preset ที่ตั้งไว้ โดยผมใช้ ICC เป็น sRGB ทุกขั้ยตอน
  10. เปิด ภาพบน GIMP แล้วใช้ Heal ลบริ้วรอยและสิ้วออกไปให้หมดและเกลี่ยอีกที ส่วนอื่นๆ ก็เล็กๆน้อยๆ หาเอาเช่นทำตาให้เป็นประกายหรืออะไรพวกนี้อีกทีนึง
  11. ดู ว่าภาพจำเป็นต้องทำ High Pass Filter, USM หรือ Soft Skin อะไรพวกนี้หรือเปล่าอีกทีนึง แต่ปรกติแล้วถ่ายด้วยเลนส์อย่าง Macro 60mm F2.8D ก็แทบจะไม่ต้องใช้เลย แถมคมจัดอีก -_-‘ ไล่เกลี่ยผิวกันสนุกเลยทีเดียว

ข้อควรระวังในการใช้ Clarity

  1. อย่าใช้ Clarity ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม เช่นบริเวณคิ้วเพราะคิ้วอาจจะบางลงให้ Erase ออก และบริเวณที่ไม่เกี่ยวกับผิวเช่นดวงตา ฯลฯ ออกด้วย เดี่ยวจะไม่สวย
  2. Clarity ใช้มากไปหน้าจะพสาสติกไม่เป็นธรรมชาติ เอาพอประมาณเกลี่ยให้เนียนพอประมาณ ส่วนอื่นๆ แล้วค่อยมาใช้ Heal ลบใน GIMP จะชัวช์กว่า

หลักการณ์ Retouch หน้าสาวๆ ของผมคือทำให้สาวๆ เค้าหน้าเนียนที่สุดแต่ยังดูเป็นธรรมชาติเท่าที่จะทำได้ ผมจะไม่ใช้พวก plugin พวกทำหน้าเนียนแบบหว่านทีเดียว 5-20 รูป จะค่อยๆ ทำทีละรูป ไม่งั้นมันไม่ค่อยสวย ดูไม่ใส่ใจเท่าไหร่
ซึ่งข้อควรจำในการ Retouch ภาพคือ zoom 100% – 200% ซะ !!! เพราะเราจะเห็นรายละเอียดชัดและเกลี่ยได้อย่างสวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้
โปรแกรมที่ใช้ใน Workflow ตอนนี้

  1. Adobe Photoshop Lightroom ใช้เป็น Library และ RAW Process
  2. GIMP ใช้เป็น Retouch Process
  3. XnView เป็นโปรแกรมสำหรับทำ Batch Process และ Save for Web

* กำลังเก็บเงินซื้อ Adobe Photoshop Lightroom อยู่ใกล้เป็นความจริงแล้วววววว ส่วน Adobe Photoshop คงไม่จำเป็น GIMP มันเพียงพอแล้วสำหรับงานพวกนี้อยู่แล้ว ถ้าหาเงินได้จากการถ่ายภาพค่อยคิดอีกทีนึง

อันนี้เป็นประสบการณ์ใน การ Retouch ภาพของผมในช่วง 2-3 เดือนผมปรับปรุงกระบวนการต่างๆ มาตลอดทุกๆ ครั้งที่ผมโพสอัลบั้มใหม่ๆ ขึ้นใน Multiply เพื่อผลของภาพที่ดีขึ้น จะดูได้จากผลงานแรกๆ ที่ผมนำขึ้น Multiply และผลงานล่าสุดที่นำขึ้นจะเห็นความแตกต่างในการทำงานส่วนนี้ครับ

เมื่อ ทำการ Process ภาพจบแล้วไฟล์ทุกไฟล์จะถูกทำ Daily Backup ทุกวันตอน 23:55น. และไฟล์ภาพทั้งหมดจะ Duplicate/Mirror Backup อยู่ใน HDD อยู่ 2 ตัวกันพลาดอีกทีนึง ;P

จาก http://fordantitrust.multiply.com/journal/item/19/19

ประโยชน์ของไฟล์ Digital Camera RAW File (เท่าที่คิดออก)

Digital Camera RAW File หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟล์ RAW ในกล้อง Digital SLR นั้นถือเป็นการบันทึกข้อมูล "ดิบ" ที่ได้จาก Sensor ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดข้อมูล Color depth หรือ Bit depth ที่ระบบสี 12 bpp (bits per pixel) หรือ ระบบสี 14 bpp (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 12bits เท่ากับ 4,096 เฉดและ 14bits เท่ากับ 16,384 เฉด) โดยที่จำนวน bit ของระบบสีนั้นขึ้นอยู่กับกล้องว่าใช้ Sensor แบบใด (แพงหรือถูกด้วย) และเมื่อเทียบกับ 1 pixel เท่ากับระบบสี 8 bpp ของ JPEG ก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันมีเยอะมาก (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 256 เฉด)

แต่เมื่อเอามาคิดในระบบการแสดงผลของสีในธรรมชาติโดยเทียบจาก JPEG นั้นใน 1 pixel ของระบบสี กับ 1 pixel ของระบบการแสดงผลของสีนั้นประกอบไปด้วยแม่สีของแสง (spectrum primaries) ที่มี 3 สี (3 channel) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) หรือเรียกย่อๆ ว่า สี RGB ครับ ซึ่ง 1 pixel มี 3 สีมาผสมกันให้เกิดสีต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความหลากหลาย นั้นหมายความว่า 256 (R) x 256 (G) x 256 (B) ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 16,777,216 เฉดสี หรือ 8 bpp ในระบบ RGB นั้นจะได้จำนวนสี RGB คิดเป็นบิตที่ 8 bpp x 3 color (RGB) ก็คือ 24bits นั้นเองครับ

แล้วถ้าลองมาคิดต่อในแบบ RAW ก็จะได้

RAW 12bits

4096 x 4096 x 4096 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 68,719,476,736 เฉดสี

( 12 x 3 = 36bits )

RAW 14bits

16384 x 16384 x 16384 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 4,398,046,511,104 เฉดสี

(14 x 3 = 42bits)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เราเห็นความแตกต่างของจำนวนข้อมูลอย่างชัดเจนจนทำให้คุณภาพของข้อมูลภาพนั้นแตกต่างกันด้วยเช่นกัน (มองที่คุณภาพของไฟล์ภาพ ไม่ใช่ความสวยงามของภาพ) ซึ่งจะเห็นผลตอนเราจำเป็นต้องนำมาแต่งภาพที่ต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลมาก ๆ

อีกอย่าง JPEG เป็น lossy compression ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการสูญเสียจากการนำไปประมวลผลจากตัวกล้องเอง เพื่อให้ได้ภาพที่ปรุงแต่งตามการตั้งค่าของผู้ผลิตหรือตัวผู้ใช้เอง แล้วทำการบีบอัดรูปภาพให้ได้เล็กลง ซึ่งจะเอากลับมาปรับแต่งต่อยากมาก ๆ เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวนั้นเอง แต่การถ่าย RAW ไฟล์ก็ต้องแลกกับจำนวนการถ่ายช็อตที่ต้องการความต่อเนื่องได้ลดลง เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่ใหญ่มากของ RAW ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับ Memory เพิ่มมากขึ้น แต่ก็พอจะแก้ไขด้วยการใช้ Memory ที่มีความเร็วสูงๆ ได้เช่นกันครับ

อีกข้อดีของการใช้ไฟล์ RAW คือระบบการประมวลใน Computer มีความสามารถในการคำนวนและทำงานได้ดีกว่า Processor ในกล้อง ประกอบกับการปรับแต่งที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากได้ให้ได้มากที่สุดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น White Balance ที่ปรับได้ดั่งใจ เปลี่ยนแปลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพไป หรือ Exposure Value ที่ให้เราดึงค่ากลับมาได้อีก +-1 Stop เป็นอย่างน้อย ๆ (เช่นภาพด้านล่าง)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการถ่ายรูป DSLR แล้วใช้ RAW น่าจะเหมาะกับคนที่นำภาพมาปรับแต่งต่อในภายหลัง และในสถานะการณ์ที่เราไม่มีเวลามาใส่ใจกับ White Balance และ Exposure Value มากนัก (ในกรณีที่เราต้องถ่าย under ลงไปอีกหน่อยเพื่อให้ภาพไม่เบลอก็จำเป็น ไม่งั้นไม่ได้ภาพก็น่าเสียดาย)

แต่ไม่ใช่ว่าการถ่ายแบบ RAW จะช่วยได้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ภาพที่ได้ถ่ายนั้นเอามาปรับแต่งได้มากกว่าเดิมจากที่ JPEG ทำได้เท่านั้น ซึ่งหลายทั้งมวลนั้นเป็นเรื่องของคนถ่ายรูปเป็นหลัก ที่ต้องทำคุณภาพของรูปภาพนั้นดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน

คิดซะว่าถ่าย RAW ก็เหมือนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าดีหน่อยตรงที่ถ่ายแล้วเห็นเลย แต่ไฟล์รูปเราก็ต้องเอามาทำการล้าง แล้วก็มาตกแต่งในห้องมืด (ทำผ่าน GIMP) แล้วค่อยอัดภาพทีหลัง (แปลงด้วย RAW Converter เป็น JPEG) อะไรแบบนั้นครับ จะไม่รวดเร็วแบบ JPEG ที่ถ่ายแล้วใช้ได้เลยอะไรแบบนั้น (อาจจะแต่งบางตามสมควร)

แต่อย่านำมาสับสนกับการแสดงผลในจอภาพนะครับ เพราะจอภาพในปัจจุบันนั้นแสดงผลที่ 32bits (RGB) ซึ่งจะเป็น 16,777,216 สี ที่ 24bits ส่วนอีก 8 bits ที่เหลือเป็นเรื่องของการโปรงแสงของสี (degree of transparency) ครับ โดยภาพที่ตามนุษย์เห็นนั้นสามารถไล่เฉดสีได้จะอยู่ที่ประมาณ 16-24bits ครับ ไม่แน่ใจข้อมูลจำคราวๆ ครับ

ปล. ถ่ายเบลอ ถ่ายหลุดโฟกัส อย่างงี้ต่อให้ถ่าย RAW ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อันนี้มันอยู่ที่คนถ่ายล้วนๆ แล้วหล่ะครับ

16592172

16592369 

ผิดพลาดหรือต้องการเพิ่มเติมก็เสนอความคิดเห็นได้เลยนะครับ ศึกษามาเดือนกว่าๆ เลยเอามาสรุป ๆ ไว้

เก็บกล้องยังไงดี ?

เป็นคำถามที่ผมต้องหาคำตอบเองนับตั้งแต่ซื้อกล้อง DSLR Nikon D80 มา เพราะส่วนใหญ่มีแนวคิดเก็บกล้องไม่เหมือนกัน บางคนก็ไม่อะไรมาก ใส่กระเป๋า แล้วเอามาใช้สัปดาห์ละครั้ง ตามแต่ว่าจะถ่ายมากถ่ายน้อย บางคนก็เอาใส่กล่อง หรือตู้ควบคุมความชื้นอย่างดี ซึ่งกล่องควมคุมความชื้นราคาก็ 3-4,000 ส่วนตู้ก็เกือบหมื่น ถึงราคาหลักหมื่น ราคาระดับนี้ดูมาก แต่ถ้าดูจากราคากล้องรวมถึงเลนส์ที่เราจะซื้อในอนาคตที่ราคาหลักหมื่นทั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ได้ดูแพงเกินไป แต่ในช่วงแรก และระยะกลางๆ การเก็บด้วยวิธีควบคุมความชื้นแบบบ้านๆ ที่ใช้งบราคาไม่แพงมากก็ช่วยให้เราประหยัดลงไปได้เยอะครับ

เหตุที่ต้องควบคุมความชื้น เพราะ …..

2009-05-01_230745 

รา และฝ้าขึ้นเลนส์และ CCD/CMOS (Image sensor) ในกล้องครับ

(ในภาพ Nikon ED Nikkor 80-200 F2.8 D ที่ยืมมาจากพี่ @hongsyok แล้วพี่เค้าเก็บไว้นานมากแล้ว เลยเอามาเช็ด แล้วเจอพอดี เลยถ่ายรูปเก็บไว้สักหน่อย)

ผมเลยต้องจัดกล่องสูญญากาศมาครับ เป็นของ Super Lock จริงๆ ผมมี Lock & Lock อีกตัวนึงแล้ว แต่เอาไว้ใส่อย่างอื่นด้วย และ Super Lock ราคาถูกกว่าและหาซื้อง่ายกว่า ตาม BigC มีขายทุกสาขา ซื้อเอาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้นั้นแหละครับ

IMAG0827

IMAG0828

แล้วก็จัดซิริก้าเจลอย่างดีมา ในภาพด้านล่างผมซื้อแบบ 1 กิโลกรัมครับ (ถุงละครึ่งกิโลกรัม) ราคาก็ 200 บาทด้วย (ไม่รวมค่าส่ง) วิธีการดูว่าซิลิก้าเจลเริ่มดูดความชื้นไม่ไว้ก็คือ มันจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินสวยๆ แบบในรูปด้านล่างเป็นสีม่วงครับ เมื่อม่วงมากๆ ก็ได้เวลาเอาไปอบให้ความชื้นละเหยออกมา หรือเททิ่งเปลี่ยนใส่อันใหม่เลยก็ได้

P1100592

P1100594_1

แล้วก็ซื้อ Hygrometer ที่ดีๆ หน่อย เอามาวัดความชื้นในกล่องไว้ จะได้รู้ว่ามากหรือน้อยเกินไป

โดยที่ระดับความชื้นที่กำลังดีคือ 40-50% ถ้าน้อยกว่า 40% จะทำให้พวกยางต่างๆ กรอบและแตกได้ ส่วนมากกว่า 50% อาจทำให้ราเจริญเติบโตได้ง่าย

P1100587 

แต่ปรกติถ้าเราปิดฝาออกมาความชื้นในอากาศจะมากกว่าด้านในจะไหลเข้าไปอยู่แล้ว ซึ่งต้องให้เวลาซิลิก้าเจลมันดูดความชื้นสัก 6 – 18 ชั่วโมงครับ ความชื้นจะค่อยๆ ลดลงอยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งราและฝ้ามันไม่ขึ้นง่ายขนาด 18 ชั่วโมงแล้วแตกระแหงครับ แต่ใช้เวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์หน่อย แต่การทำให้สภาพของอากาศไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็ช่วยป้องกันได้ครับ

การเก็บแบบนี้เหมาะกับห้องและสถานที่ที่มีความชื้นสูงครับ เช่นในห้องแอร์ บ้านพักที่มีต้นไม้เยอะ ๆ หรือบ้านไม้ครับ ยิ่งผมอยู่แมนชั่นที่มีสภาพปิดทำให้ผมเปิดแอร์นอน ตื่นเช้ามาจะมีความชื้นสูงมาก (เคยเอา Hygrometer วัด จะได้อยู่ที่ 60-70%) เลยจำเป็นต้องเก็บแบบนี้ครับ

การลงทุนเก็บแบบนี้นั้นโดยรวมไม่สูงมากครับ

  • Super Lock ราคาประมาณ 200 – 300 บาท
  • ซิลิก้าเจล ราคาถุงครึ่งกิโลกรัม 100 บาท
    มันจะหมดอายุภายใน 6 เดือนหลังจากเปิดถุงนะครับ ผมใช้ได้ประมาณ 1-2 เดือน ใช้แบบเปลี่ยนเลย ไม่เอามาอบอะไรทั้งสิ้นกลัวสารตกค้าง ในตู้ไมโครเวฟ
  • Hygrometer แบบดี ๆ หน่อย ก็ 300 – 400 ค่าความผิดพลาด < 5% (แบบตัวอย่างด้านบนกลมๆ ซื้อจาก Fotofile ราคา 400 บาท) และแบบถูก ๆ ก็มี 60 บาท หาได้ตามบ้านหม้อ (รูปด้านล่างสี่เหลี่ยมขาวๆ นั้นแแหละครับ) แต่ค่าความผิดพลาดจะอยู่ที่ 5%-10% ครับ

ราคารวมแล้วชุดนึงก็เก็บกล้องและเลนส์ได้พร้อม ๆ กันก็ประมาณ 500 – 1,000 บาท ซึ่งมันจะไปแพงที่ตัว Hygrometer นั้นแหละครับ ตัวกล่องถ้าเอาแบบดี ๆ อย่าง Lock & Lock ก็แพงกว่าของ Super Lock ประมาณเท่าตัวครับ (กล่องด้านล่างสูง ๆ นั้นแหละครับ) อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและกำลังทรัพท์ครับ

IMAG0863

ปล. ภาพที่ถ่ายนี่ ถ่ายด้วยกล้องหลากลายตัวครับ เก็บๆ รวมรวมมาเขียนใน blog ตอนนี้ครับ

The Last Day at TARADdotcom

DSC_0608_1a

DSC_0609_1

ณ. SM Tower ชั้น 25 TARADdotcom

ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง พยายามให้นิ่งที่สุดตอนวางกล้องทาบกับขอบกำแพงกั้น และหนึ่งใน 10 ช็อตที่ถ่าย ได้ภาพนี้มาครับ
http://fordantitrust.multiply.com/photos/album/80/

จดไว้กันหาย “คำย่อของ Nikkor lenses”

ใช้ Nikon D80 และเลนส์ AF-S DX Zoom Nikkor 18-135mm f/3.5-5.6G IF-ED อยู่ เลยต้องหาคำย่อต่าง ๆ ว่ามันย่อยังไง สรุปก็หาเจอครับ

เผื่อใครไม่รู้ หรือ รู้แล้วก็ไม่เป็นไร อ่านไว้ แล้วจะไปซื้อเลนส์  ขอบคุณบอร์ดไทยดีที่ ให้ข้อมูล คำย่อของ Nikkor lenses เท่าที่มีเอกสารอยู่ เผื่อไว้เป็นข้อมูล บางครั้งมีสมาชิกถามแต่นึกไม่ออก…

  • ED = Extralow Dispersion. หมายถึง เลนส์ตัวนี้ใช้ชิ้นเลนส์แบบ Extra Low Dispersion (เลนส์ที่มีการกระจายแสงต่ำ) ภาพที่เกิดจากเลนส์ชนิดนี้จะคมกว่าภาพจากเลนส์ปกติครับ
  • SIC = Super Integrated Coating. โค๊ทของเลนส์ Nikon รุ่นที่ใหม่กว่า NIC (Super Integrated Coating)
  • ASP = Aspherical lens elements. เป็นชิ้นเลนส์ที่ไม่มีลักษณะแบบเลนส์เว้า หรือเลนส์นูน aspherical มาจากคำว่า asphere ที่แปลได้ประมาณว่า "มันไม่กลม" มีสามแบบ คือ Ground (นำชิ้นแก้วมาขัดขึ้นรูปจนเป็นเลนส์แบบ Aspherical เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองมากที่สุด แต่จะได้ชิ้นแก้วที่มีคุณภาพดีที่สุด), Mold (หล่อขึ้นมาโดยใช้ความร้อนสูง หลายเจ้าเคลมว่าให้คุณภาพดีพอๆ กับแบบ Ground แต่ต้นทุนการผลิตถูกกว่า) และ Hybrid เป็นแบบนำชิ้นแก้วสองชิ้นมาประกบกันและเชื่อมต่อกันด้วยวัสดุบางอย่าง (ผู้ผลิตบางเจ้าจะเรียกว่า cement) บางเจ้าทำไม่ดี ก็จะเกิดฝ้าได้ ส่วนแอสเพอร์ริคัลนั้นผู้ผลิตเลนส์นั้นได้นำชิ้นแก้วแบบ ASP นี้ไปใช้งานในแบบต่างหลายแบบด้วยกัน
    http://www.mir.com.my/rb/photography/opinion/html/aspherical.htm
  • CRC = Close-Range Correction. เป็นการแก้ไขเพื่อช่วยให้เลนส์สามารถโฟกัสภาพในระยะใกล้ให้ดีขึ้น ทำให้เลนส์มีประสิทธิภาพดีทั้งในระยะไกล และระยะใกล้อย่างเท่าเทียมกัน
  • IF = Internal Focusing. หมายถึง มีการปรับโฟกัสภายในตัวเลนส์ เลนส์จะไม่ยื่นเมื่อทำการหาโฟกัสครับ
  • RF = Rear Focusing.  ชุดเลนส์ที่ใช้โฟกัสอยู่ด้านท้ายของเลนส์ (เช่น 105 DC) ทำให้เวลาโฟกัสแล้วหน้าเลนส์ไม่หมุน ไม่ยืด ไม่หด ปัจจุบันถูกทดแทนด้วย เทคโนโลยีแบบ IF แล้ว เลนส์รุ่นใหม่ๆ จะเป็น IF ทั้งหมด
  • DC = Defocus-image Control. เป็นระบบที่มีเฉพาะ Nikon (AF DC-NIKKOR lenses — unique NIKKOR lenses for unique portraits)
  • D = Distance information. หมายถึงเลนส์ที่สามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับระยะห่างของวัตถุไปยังตัวกล้องได้ ซึ่งกล้องจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้คำนวณร่วมกับระบบวัดแสงด้วย
  • DX = หมายถึง เลนส์ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อกล้อง DSLR ที่มีตัวคูณครับ เอาไปใช้กะกล้องฟิล์มไม่ได้
  • AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor. หมายถึง เลนส์ตัวนี้มอเตอร์ในตัว เพื่อหมุนหาโฟกัสครับ (เลนส์ AF จะไม่มี)
  • M/A = Manual/Auto
  • VR = Vibration Reduction. หมายระบบลดความสั่นไหวของภาพในเวลาที่เราใช้มือถือกล้องเพื่อถ่ายภาพ จะสามารถช่วยเราให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้น ปัจจุบันมี VR II แล้ว มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า VR ธรรมดา โดย VR จะช่วยเรื่องความคมชัดของภาพได้ 3 สตอป ส่วน VR II จะช่วยได้ถึง 4 สตอป แต่จริงๆ แล้ว VR มีส่วนช่วยในการถ่ายภาพให้สะดวกขึ้นมาก 
  • G = หมายถึง เลนส์ตัวนี้ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงครับ ต้องปรับจากตัวกล้อง (เลนส์เก่าๆของ Nikon จะเขียนว่า D จะมีวงแหวนปรับรูรับแสงครับ ทำให้เอาไปใช้กับกล้อง manual รุ่นเก่าๆได้)
  • PC = Perspective Control.

    http://www.kenrockwell.com/nikon/nikortek.htm#optical

นำมาจาก http://www.rc-plus.net/board/index.php?topic=656.0