แนวทางในการถ่ายรูปในงาน Event ต่างๆ แนวๆ Motor Expo/Motor Show ที่ถ่ายมาในรอบปี

เป็นแนวทางเฉยๆ ผมไม่ได้เก่งมาจากไหนหรอก แต่อยากมาแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ตัวเองเท่านั้นเอง แรกๆ ผมก็ถ่ายห่วย ถ่ายไม่ดี โฟกัสพลาด ภาพเบลอ แสงมืด แฟลชแรง โทนสีผิด สุดแสนจะห่วยแตก ทุกอย่างต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น คำแนะนำจากรุ่นพี่ อ่านหนังสือประกอบ ศึกษาจากเว็บต่างๆ แนวคิดด้านมุมมองภาพ การมองทิศทางแสง การโพสเซสไฟล์ภาพ มุกการถ่ายมุมต่างๆ อารมณ์ภาพช่วยให้เราพัฒนาการถ่ายรูปได้เยอะ

เรามาเริ่มกันเลย

  • เน้นโทนภาพไปทางสว่างและสีผิวสาวๆ ให้ออกไปทางขาวอมชมพู ไม่ใช่มาเหลืองๆ ฉากมืดๆ หม่นๆ แบบนั้นสาวๆ น่ารักๆ ดับหมด –_-‘
  • ถ่ายให้ฉากหลังสว่าง หรือมืดก็แล้วแต่ชอบ แล้วแต่งานด้วย แต่คนต้องไม่มืดต้องเด่น แต่ถ้าสว่างทั้งฉากหลังและคนก็แนะให้ฟิลแฟลชเข้าไปนิดนึง -0.7 หรือ + 0.7EV แล้วแต่สภาพแสง ไม่ยิงแฟลชเข้าไปตรงๆ แรงๆ (ตาสาวๆ จะพังเอา) พยายามให้หันหัวแฟลชขึ้นเพดานแล้วใส่ diffuse ครอบช่วยฟิลแสงมากกว่าเป็นแสงหลัก บางบูทสว่างอยู่แล้วหาทิศทางแสงให้เค้าหันหน้าไปทางแหล่งกำเนิดแสงแทนแค่นั้นก็ไม่ต้องใช้แฟลชแล้ว ก่อนถ่ายให้เดินๆ ดูก่อนว่ามีแหล่งกำเนิดแสงตรงไหนยังไงมั่ง จะได้ไม่เสียเที่ยว เสียภาพที่ถ่ายมา
  • ไม่ใช้ค่า F กว้างเกินไป เพราะตาจะชัดข้างเดียว หรือหูเบลอ ผมไม่ชัดทั้งหมด ใช้ F ประมาณ 2.8 – 6.3 แล้วแต่ภาพ (F 1.8 – 2.5 มันกว้างไปแสงเข้าเยอะจริง แต่ภาพนุ่มไม่คมชัด หรือถ้าใช้แฟลชหรือมีความต่างของสีมากจะเกิดขอบม่วง ขอบฟ้าได้) ซึ่งสำหรับการถ่ายรูปคนเดี่ยวๆ ก็ F 2.8 – 4 ขึ้นกับระยะห่าง แต่ถ้าถ่ายรูปคู่หรือเป็นหมู่ก็ F 5 – 6.3 อันนี้ต้องกะระยะชัดให้ดีไม่งั้นถ่ายรูปหมู่คนด้านหลัง หรือด้านข้างจะเบลอ กลายเป็นเรารักคนตรงกลางมากกว่าคนด้านข้าง
  • สำหรับค่า speed shutter ก็ใช้เท่ากับทางยาวโฟกัสสำหรับเลนส์ที่ไม่มี VR แต่ถ้ามี VR ก็คำนวณเอาให้พอๆ กับทางยาวโฟกัสที่ VR ช่วยได้แต่การถ่ายแนวนี้นั้น speed shutter อาจจะสูงขึ้นตามความล้าของแขน บางคนตอนเช้าสามารถถ่ายระยะ 85mm ได้ที่ speed 50 แต่ตอนเย็นอาจต้องเป็น 80 – 100 แทนครับ
  • สำหรับค่า ISO ก็ประมาณ 200 – 400 โดยประมาณ ตามความสามารถกล้อง แต่สำหรับกล้องผม Nikon D80 ใช้ที่ 320 – 400 ในฮอลปรกติสภาพแสงดีๆ แต่ถ้าไม่ไหวก็ใช้แฟลชเอา แต่ถ้ากล้างแจ้งก็ 100 ไปเลย …
  • WB ก็ดูว่าแสงที่บูทนี่สีอะไร แนะนำว่าตั้ง Auto ก็ได้ ถ้ามั่นใจว่าไม่โดนหลอก แต่ถ้าตั้ง K ได้ก็ลองดูก่อน ก็ได้เรื่อง WB ตรงนี้ต้องค่อยๆ ดูครับ อันนี้ตอบลำบาก ผมก็ยังไม่แม่นเท่าไหร่เหมือนกัน แต่ปรกติผมใช้ประมาณ 4,200K – 4,700K นะ ค่า K เยอะภาพยิ่งโทนร้อน ค่า K น้อยยิ่งออกโทนเย็น ถ้าเจอแสงออกขาวๆ ก็เอาค่า K ที่ 4,700 แต่ถ้าแสงมาโทนอื่นๆ ก็เอามาหักลบกันเองเช่นแหล่งกำเนิดแสงให้แสงโทรร้อนก็ตั้ง WB ในกล้องไว้ที่ K ต่ำๆ จะได้แสงที่เข้าใกล้แสงปรกติ (daylight) แต่ก็แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์นะ บางครั้งเราอาจจะได้ภาพในโทนสีต่างๆ กันก็ได้ อันนี้ลองกันเอาครับบอกไม่ถูก ;P
  • สำหรับใครที่ใช้ mode A (Aperture ของ Nikon) และ Av (ของ Canon) เวลาวัดแสงให้วัดที่แก้มฝั่งที่มืดกว่า และโฟกัสที่ตา ถ้ามีเวลาปั้นเยอะๆ ก็ค่อยๆ วัด  แต่ถ้าไม่มีก็ส่องแล้ววัดแสงให้เรียบร้อยดูว่าประมาณเท่าไหร่ แล้วปรับไปที่ mode M (Manual) แทน แล้วดูว่าแสงมืดลงหรือสว่างขึ้นก็บวกลบ EV ขึ้นลงเอาแทน จะได้ไม่ต้องมาวัดแสงหลายรอบ ทำให้ถ่ายรูปได้เร็วและง่ายขึ้น เพราะตามบูทต่างๆ แสงไม่มีการวูบวาบมากหรือเปลี่ยนบ่อย วัดในพื้นที่รอบเดียวก็จบแหละ และอยากได้ภาพสว่างๆ แนะนำให้ +0.3EV ถึง +0.7EV เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ภาพสว่างกว่าปรกตินิดนึง เพราะธรรมชาติของกล้องระบบ digital นั้นดึงแสงขึ้นมาภาพจะเสียความคมชัดและน้อยส์เยอะขึ้น แต่การดึงแสงลงให้ภาพที่ใสกว่า แต่รายละเอียดอาจจะหายไปบ้าง แต่สำหรับการถ่ายภาพบุคคลตามงานแนวนี้นั้น เน้นความใสของภาพมากกว่ารายละเอียดความชัดทั้งหมดของคนในภาพ (อยากคมชัดทั้งหมดอาจจะต้องจัดแสงและควบคุมแบบเองทั้งหมด ซึ่งไปถ่ายในสตูดิโอน่าจะง่ายกว่านะแบบนั้น)
  • RAW หรือ JPEG แล้วแต่ถนัดงานนี้ขึ้นอยู่กับความซีเรียสของคนถ่ายเองแล้วหล่ะว่าจะเอาภาพไปทำอะไร บางคนอาจจะยังไม่แม่น WB หรือการวัดแสงที่อาจจะมืดไปนิดๆ หน่อยๆ แนะนำถ่าย RAW มาศึกษาก่อนก็ได้ เพราะช่วยเรื่อง WB ที่ปรับแต่งได้โดยที่คุณภาพของภาพไม่เสียและการเร่ง Exposure ของภาพได้มากกว่า JPEG อยู่พอสมควร ตรงนี้ช่วยท่านได้ ซึ่งผมก็ถ่าย RAW เพื่อศึกษา WB และแก้ไขการถ่ายภาพของเราในอนาคตได้ครับ เช่นเจอแสงแบบนี้น่าจะเพิ่มจากที่วัดแสงอีกนิดหน่อยนะ หรือเจอทิศทางแสงแบบนี้แฟลชควรลดลง ตรงนี้สำคัญสำหรับการพัฒนาตัวเองครับ

วิธีการเข้าทำในการถ่ายรูปในงาน Event ก็คือหามุมที่ทำให้ pretty หันหน้าเข้าหาแหล่งกำหนดแสง ที่สว่างๆ จะได้ไม่ต้องใช้แฟลช แล้วพยายามหามุมที่ฉากหลังไม่มีคนเดินหรือคนเดินน้อย ถ้ามีคนเดินผ่านด้านหลัง ไม่ต้องไปรีบถ่าย รอให้คนเดินไปก่อน แล้วค่อยถ่าย สาวๆ เค้ารอได้ ;P ที่ให้รอคนเดินออกไปเพราะ ถึงถ่ายมาภาพก็ไม่สวยหรอกครับ ถ่ายมาก็ลบทิ้ง เสียของเปล่าๆ … บางคนอาจจะเสียดายกลัวเค้าจะไปมองกล้องอื่นก่อน ผมแนะนำว่าให้อดทนรอ คิดซะว่า "ไม่เป็นไร รอสักพักเดี่ยวเค้าก็หันมาทางเราใหม่" จำไว้ว่า ภาพที่ดี 2 รูปดีกว่าภาพที่เสีย 10 รูป!!! (แม้ภาพที่เสียมันจะเป็นครูสอนเรา แต่เราก็ไม่ควรทำผิดซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ผิดแล้วต้องจำ) ถ่ายรูปงานพวกนี้ต้องใจเย็น ค่อยๆ เข้าทำ หามุม เบียดๆ หน่อยช่างมัน ต้องอดทนรอ เหมือนแสงสว่างยามเช้าที่สวยงามเวลาไปถ่ายรูปวิวนั้นแหละ

ถ่ายรูปแล้วก็ให้สาวๆ เค้าเช็คบ้าง จะไปกลัวอะไร เราไม่ได้ไปถ่ายใต้กระโปรงเค้านิ แล้วพอเจอกันหลายๆ งาน เค้าจะมองกล้องเราเยอะกว่าปรกติ แถมยิ่งเราไปปริ้นรูปให้เค้า เขียน cd ส่งให้เค้าด้วย เค้ายิ่งมองกล้องเรามากขึ้น เพราะเค้าก็ได้รูปจากเราไปส่งงานได้ในอนาคตด้วย

ที่เล่าๆ มาเป็นสิ่งที่รวบรวมสิ่งที่ได้ลองผิดลองถูกมาครับ บางอย่างอาจจะไม่ตรงกับทฤษฎีมากนักแต่ก็เป็นการทดลองจากการถ่ายรูปจริงๆ มาครับ

อะไรคือความนิรันดร์?

สิ่งที่ตาเห็น อาจจะไม่ใช่สิ่งที่สมองและหัวใจเรารับรู้

กล้องก็เช่นกัน สิ่งที่กล้องบันทึกอาจจะไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า ค่าสี bit/byte และข้อมูลจำนวนหนึ่ง

เพราะกล้องไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีจิตใจ มันทำหน้าที่แค่บันทึกภาพ ตามที่คนบันทึกภาพสั่งมันเท่านั้น

กล้องมันไม่ได้ใส่ความรู้สึกลงไปในภาพ แต่คนต่างหากที่จะใส่มันลงไป

แต่ก็คนอีกนั้นแหละ ที่มองภาพเหล่านั้นแตกต่างกัน

ความรู้สึกในภาพแตกต่างกันไปตามแต่ประสบการณ์การรับรู้ของคนคนนั้นที่มีต่อโลกใบนี้

สิ่งที่ตาเห็น แม้คงที่ แต่การเห็นของคนเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เช่นเดียวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

แต่ ณ. ชั่วขณะแห่งเวลาบันทึกภาพ  ความรู้สึกของผู้บันทึกภาพที่ถ่ายทอดลงไปในภาพจะอยู่ชั่วนิรันดร์

แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่เห็น ความรู้สึกของผู้บันทึกภาพแม้คงที่อยู่ชั่วนิรันดร์

แต่การรับรู้ภาพนั้นๆ ของคนอื่นๆ ก็ยังคงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นนิรันดร์เช่นกัน

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็น ที่รับรู้ ไม่เคยคงที่ ไม่เคยแน่นอน ไม่ว่าจะในตาคู่เดิม กล้องตัวเดิม คนคนเดิม สภาวะแวดล้อมเดิมๆ หรือ ในตาคู่ใหม่ คนคนใหม่ กล้องตัวใหม่ สภาวะแวดล้อมใหม่ก็ตามที

สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่อยู่ชั่วนิรันดร์ได้อย่างแท้จริงหรอก ทำใจและยอมรับมันซะ …

งานเข้า!

วันนี้ Tamron 17-50mm F2.8 ตัวที่เพิ่งซื้อมันมีฝุ่นแล้วก็ละอองน้ำด้านในเลนส์ส่วนท้าย ไม่แน่ใจว่ามาได้ยังไง หรือเพราะไว้ในห้องแอร์ช่วงนี้ที่อากาศมันร้อนชื้นแล้วมาเจอเย็นๆ หล่ะมั้ง เลยต้องไปล้างที่ ศ. Niks Thailand ซึ่งไหน ๆ ก็ไปแล้ว ก็เลยเอา Nikon D80 ไป remapping pixel ซะด้วยเลย เพราะมันมี hot pixel อยู่ ตามด้วยให้เค้าล้าง cdd และช่องมองไปในคราวเดียวเลย แล้วก็มีบางบวมที่บริเวณนิ้วโป้ง ก็เลยขอเปลี่ยนยางที่บวม แต่โทรมาบอกตอนหลังว่าของหมด ไว้สั่งของมาแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกทีนึงประมาณ 1 อาทิตย์ แต่แหน็บ Nikon 18-135mm F3.5-5.6 ไปก็ล้างไปเลยทีเดียวแล้วกัน เอาให้ครบ งานนี้ส่งเลนส์ 2 ตัวและกล้อง 1 ตัวพรุ่งนี้ไปรับตอนเที่ยงๆ ทั้ง 3 รายการ

แต่ว่าผมก็แบก Nikon 80-200mm F2.8 ไปด้วย เพราะเลนส์ตัวนี้มีปัญหาตอนทริปน้องกุ้ง เนื่องจากใส่เลนส์แล้วกล้องไม่เจอเลนส์ ทำยังไงก็ไม่เจอทำให้ AF ไม่ทำงาน ต้อง MF อย่างเดียวเลย ลองส่งวิมลแล้วเค้าเช็คก็บอกว่า "บอร์ด" เสีย โอ้ววว ไม่นะ …. เลยแบกไปพร้อมกันเลยวันนี้ ได้ความว่า "ไม่มีอะไหล่แล้ว" T_T คำตอบสะเทือนใจมาก แต่ก็นะ ไม่เป็นไรเลนส์มันแก่แล้ว อายุ 15 ปีแล้ว เลยทำใจยอมรับ แล้วก็เลยแบกออกมา ส่งไป 3 รายการอย่างที่บอกไป ไว้หาเงินซื้อ 70-200mm F2.8 แล้วกันนะ อีกสักปีคงได้ ฮาๆๆๆ

การส่งกล้องและเลนส์รอบนี้ทำให้วันนี้ผมพลาดงานถ่ายรูปที่ลานเบียร์ เพราะต้องไปถ่ายเพื่อส่งงานลูกค้าซะงั้น -_-‘ แต่ไม่เป็นไรแจ้งทางลูกค้าไปแล้วว่ามีปัญหา เค้าก็บอกไม่เป็นไร มีอีกหลายวันตามรายการที่ส่งมาให้ผม ก็ค่อยโล่งอกหน่อยที่ลูกค้าเข้าใจ 

Work Flow ในการแต่งรูปหลังจากถ่ายรูปเสร็จแล้วของผม (ฉบับแต่ภาพผู้หญิง)

อันนี้เน้นถ่ายรูปสาวๆ ก่อนนะครับ ;P

  1. เอาการ์ดออกจากกล้องก็ Import เข้า Adobe Photoshop Lightroom ทันที
  2. ปรับ Library ตามวันที่ที่ถ่ายรูป ถ้างานไม่เร่งก็ใส่ Metadata ต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
  3. เลือกรูปที่ต้องการจะ Post-Process ทั้งหมดโดยใช้ Flag Color แบ่งตามประเภท แล้วตามด้วย Star สำหรับลำดับการงานก่อนหลัง
  4. แล้วก็ไล่ดูว่าภาพไหนเบลอ ภาพไหนไม่ชัด หลุดโฟกัสก็ลบออกไปตามความเหมาะสมอีกทีหนึ่ง
  5. พอ ได้ลำดับการทำงานแล้วก็ไล่ปรับ Picture Control (Camera Profile) เป็น Portrait ให้ Skin Tone ออกชมพูนิดๆ ดูสวยงาม อาจจะไม่ทุกรูป ดูตามความเหมาะสม ไล่ไปทีละภาพค่อยๆ ดู
  6. ระหว่างปรับ Picture Control ก็เช็ค WB ด้วยว่ามัน ok ไหม
  7. แล้ว จัดการดึง Exposure และ Curve เพื่อเพิ่มกราฟของ Histogram ไปด้านบวกพยายามให้ High Key ตามความเหมาะสมเพื่อให้ผิวสาวๆ ดูชมพูและออกนวลๆ มากขึ้น
  8. ข้อควรคำนึงคือสาวๆ ต่อให้แต่งหน้าเก่งแค่ไหนก็ไม่เนียนครับ ยิ่งถ่ายภาพใช้เลนส์ Macro ให้ใช้ Adjustment Brush แล้วใช้ Clarity เกลี่ยผิวอีกทีเพื่อให้เนียนขึ้น เสร็จแล้วค่อยเพิ่ม exposure หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
  9. พอ Process RAW จบทุกภาพที่ทำ Flah/Star แล้วทำการ Export เป็น TIFF/JPEG (แล้วแต่งาน) ด้วย Preset ที่ตั้งไว้ โดยผมใช้ ICC เป็น sRGB ทุกขั้ยตอน
  10. เปิด ภาพบน GIMP แล้วใช้ Heal ลบริ้วรอยและสิ้วออกไปให้หมดและเกลี่ยอีกที ส่วนอื่นๆ ก็เล็กๆน้อยๆ หาเอาเช่นทำตาให้เป็นประกายหรืออะไรพวกนี้อีกทีนึง
  11. ดู ว่าภาพจำเป็นต้องทำ High Pass Filter, USM หรือ Soft Skin อะไรพวกนี้หรือเปล่าอีกทีนึง แต่ปรกติแล้วถ่ายด้วยเลนส์อย่าง Macro 60mm F2.8D ก็แทบจะไม่ต้องใช้เลย แถมคมจัดอีก -_-‘ ไล่เกลี่ยผิวกันสนุกเลยทีเดียว

ข้อควรระวังในการใช้ Clarity

  1. อย่าใช้ Clarity ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม เช่นบริเวณคิ้วเพราะคิ้วอาจจะบางลงให้ Erase ออก และบริเวณที่ไม่เกี่ยวกับผิวเช่นดวงตา ฯลฯ ออกด้วย เดี่ยวจะไม่สวย
  2. Clarity ใช้มากไปหน้าจะพสาสติกไม่เป็นธรรมชาติ เอาพอประมาณเกลี่ยให้เนียนพอประมาณ ส่วนอื่นๆ แล้วค่อยมาใช้ Heal ลบใน GIMP จะชัวช์กว่า

หลักการณ์ Retouch หน้าสาวๆ ของผมคือทำให้สาวๆ เค้าหน้าเนียนที่สุดแต่ยังดูเป็นธรรมชาติเท่าที่จะทำได้ ผมจะไม่ใช้พวก plugin พวกทำหน้าเนียนแบบหว่านทีเดียว 5-20 รูป จะค่อยๆ ทำทีละรูป ไม่งั้นมันไม่ค่อยสวย ดูไม่ใส่ใจเท่าไหร่
ซึ่งข้อควรจำในการ Retouch ภาพคือ zoom 100% – 200% ซะ !!! เพราะเราจะเห็นรายละเอียดชัดและเกลี่ยได้อย่างสวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้
โปรแกรมที่ใช้ใน Workflow ตอนนี้

  1. Adobe Photoshop Lightroom ใช้เป็น Library และ RAW Process
  2. GIMP ใช้เป็น Retouch Process
  3. XnView เป็นโปรแกรมสำหรับทำ Batch Process และ Save for Web

* กำลังเก็บเงินซื้อ Adobe Photoshop Lightroom อยู่ใกล้เป็นความจริงแล้วววววว ส่วน Adobe Photoshop คงไม่จำเป็น GIMP มันเพียงพอแล้วสำหรับงานพวกนี้อยู่แล้ว ถ้าหาเงินได้จากการถ่ายภาพค่อยคิดอีกทีนึง

อันนี้เป็นประสบการณ์ใน การ Retouch ภาพของผมในช่วง 2-3 เดือนผมปรับปรุงกระบวนการต่างๆ มาตลอดทุกๆ ครั้งที่ผมโพสอัลบั้มใหม่ๆ ขึ้นใน Multiply เพื่อผลของภาพที่ดีขึ้น จะดูได้จากผลงานแรกๆ ที่ผมนำขึ้น Multiply และผลงานล่าสุดที่นำขึ้นจะเห็นความแตกต่างในการทำงานส่วนนี้ครับ

เมื่อ ทำการ Process ภาพจบแล้วไฟล์ทุกไฟล์จะถูกทำ Daily Backup ทุกวันตอน 23:55น. และไฟล์ภาพทั้งหมดจะ Duplicate/Mirror Backup อยู่ใน HDD อยู่ 2 ตัวกันพลาดอีกทีนึง ;P

จาก http://fordantitrust.multiply.com/journal/item/19/19

ประโยชน์ของไฟล์ Digital Camera RAW File (เท่าที่คิดออก)

Digital Camera RAW File หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟล์ RAW ในกล้อง Digital SLR นั้นถือเป็นการบันทึกข้อมูล "ดิบ" ที่ได้จาก Sensor ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดข้อมูล Color depth หรือ Bit depth ที่ระบบสี 12 bpp (bits per pixel) หรือ ระบบสี 14 bpp (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 12bits เท่ากับ 4,096 เฉดและ 14bits เท่ากับ 16,384 เฉด) โดยที่จำนวน bit ของระบบสีนั้นขึ้นอยู่กับกล้องว่าใช้ Sensor แบบใด (แพงหรือถูกด้วย) และเมื่อเทียบกับ 1 pixel เท่ากับระบบสี 8 bpp ของ JPEG ก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันมีเยอะมาก (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 256 เฉด)

แต่เมื่อเอามาคิดในระบบการแสดงผลของสีในธรรมชาติโดยเทียบจาก JPEG นั้นใน 1 pixel ของระบบสี กับ 1 pixel ของระบบการแสดงผลของสีนั้นประกอบไปด้วยแม่สีของแสง (spectrum primaries) ที่มี 3 สี (3 channel) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) หรือเรียกย่อๆ ว่า สี RGB ครับ ซึ่ง 1 pixel มี 3 สีมาผสมกันให้เกิดสีต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความหลากหลาย นั้นหมายความว่า 256 (R) x 256 (G) x 256 (B) ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 16,777,216 เฉดสี หรือ 8 bpp ในระบบ RGB นั้นจะได้จำนวนสี RGB คิดเป็นบิตที่ 8 bpp x 3 color (RGB) ก็คือ 24bits นั้นเองครับ

แล้วถ้าลองมาคิดต่อในแบบ RAW ก็จะได้

RAW 12bits

4096 x 4096 x 4096 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 68,719,476,736 เฉดสี

( 12 x 3 = 36bits )

RAW 14bits

16384 x 16384 x 16384 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 4,398,046,511,104 เฉดสี

(14 x 3 = 42bits)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เราเห็นความแตกต่างของจำนวนข้อมูลอย่างชัดเจนจนทำให้คุณภาพของข้อมูลภาพนั้นแตกต่างกันด้วยเช่นกัน (มองที่คุณภาพของไฟล์ภาพ ไม่ใช่ความสวยงามของภาพ) ซึ่งจะเห็นผลตอนเราจำเป็นต้องนำมาแต่งภาพที่ต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลมาก ๆ

อีกอย่าง JPEG เป็น lossy compression ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการสูญเสียจากการนำไปประมวลผลจากตัวกล้องเอง เพื่อให้ได้ภาพที่ปรุงแต่งตามการตั้งค่าของผู้ผลิตหรือตัวผู้ใช้เอง แล้วทำการบีบอัดรูปภาพให้ได้เล็กลง ซึ่งจะเอากลับมาปรับแต่งต่อยากมาก ๆ เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวนั้นเอง แต่การถ่าย RAW ไฟล์ก็ต้องแลกกับจำนวนการถ่ายช็อตที่ต้องการความต่อเนื่องได้ลดลง เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่ใหญ่มากของ RAW ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับ Memory เพิ่มมากขึ้น แต่ก็พอจะแก้ไขด้วยการใช้ Memory ที่มีความเร็วสูงๆ ได้เช่นกันครับ

อีกข้อดีของการใช้ไฟล์ RAW คือระบบการประมวลใน Computer มีความสามารถในการคำนวนและทำงานได้ดีกว่า Processor ในกล้อง ประกอบกับการปรับแต่งที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากได้ให้ได้มากที่สุดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น White Balance ที่ปรับได้ดั่งใจ เปลี่ยนแปลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพไป หรือ Exposure Value ที่ให้เราดึงค่ากลับมาได้อีก +-1 Stop เป็นอย่างน้อย ๆ (เช่นภาพด้านล่าง)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการถ่ายรูป DSLR แล้วใช้ RAW น่าจะเหมาะกับคนที่นำภาพมาปรับแต่งต่อในภายหลัง และในสถานะการณ์ที่เราไม่มีเวลามาใส่ใจกับ White Balance และ Exposure Value มากนัก (ในกรณีที่เราต้องถ่าย under ลงไปอีกหน่อยเพื่อให้ภาพไม่เบลอก็จำเป็น ไม่งั้นไม่ได้ภาพก็น่าเสียดาย)

แต่ไม่ใช่ว่าการถ่ายแบบ RAW จะช่วยได้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ภาพที่ได้ถ่ายนั้นเอามาปรับแต่งได้มากกว่าเดิมจากที่ JPEG ทำได้เท่านั้น ซึ่งหลายทั้งมวลนั้นเป็นเรื่องของคนถ่ายรูปเป็นหลัก ที่ต้องทำคุณภาพของรูปภาพนั้นดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน

คิดซะว่าถ่าย RAW ก็เหมือนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าดีหน่อยตรงที่ถ่ายแล้วเห็นเลย แต่ไฟล์รูปเราก็ต้องเอามาทำการล้าง แล้วก็มาตกแต่งในห้องมืด (ทำผ่าน GIMP) แล้วค่อยอัดภาพทีหลัง (แปลงด้วย RAW Converter เป็น JPEG) อะไรแบบนั้นครับ จะไม่รวดเร็วแบบ JPEG ที่ถ่ายแล้วใช้ได้เลยอะไรแบบนั้น (อาจจะแต่งบางตามสมควร)

แต่อย่านำมาสับสนกับการแสดงผลในจอภาพนะครับ เพราะจอภาพในปัจจุบันนั้นแสดงผลที่ 32bits (RGB) ซึ่งจะเป็น 16,777,216 สี ที่ 24bits ส่วนอีก 8 bits ที่เหลือเป็นเรื่องของการโปรงแสงของสี (degree of transparency) ครับ โดยภาพที่ตามนุษย์เห็นนั้นสามารถไล่เฉดสีได้จะอยู่ที่ประมาณ 16-24bits ครับ ไม่แน่ใจข้อมูลจำคราวๆ ครับ

ปล. ถ่ายเบลอ ถ่ายหลุดโฟกัส อย่างงี้ต่อให้ถ่าย RAW ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อันนี้มันอยู่ที่คนถ่ายล้วนๆ แล้วหล่ะครับ

16592172

16592369 

ผิดพลาดหรือต้องการเพิ่มเติมก็เสนอความคิดเห็นได้เลยนะครับ ศึกษามาเดือนกว่าๆ เลยเอามาสรุป ๆ ไว้