BlackBerry Blogger Day – 18/9/2010

ได้รับเชิญจากทาง PR ของ RIM (Research In Motion) ไปงาน BlackBerry Bloggers and Communities Day โดยในงานนั้นผู้บริหารของริม คุณแดนนี่ โบลดุค ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการ ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย ได้มานำเสนอเรื่องราวของ RIM และพูดถึง BlackBerry Curve 3G 9300

1

23

RIM เปิดตัว BlackBerry Solution ครั้งแรกในปี 1999 และเปิดตัวในไทยปี 2005

4

ตอนนี้ RIM เจิบโตขึ้นมาก และเป็นที่ยอมรับในตลาดทั่วโลก

5

ในไทยนั้น RIM มี partner อยู่ 4 รายและจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต

6

มาถึงไทยแล้วสำหรับ BlackBerry Curve 3G 9300 !!!

78

9

9300Curve3G_graphite_TH_Gen_TopAngle_re

สิ่งที่ได้เพิ่มเติมจาก Curve 8520  รุ่นเก่าแบบจับประเด็นเร็วๆ ก็คือ

  • รองรับ GSM Quad-Band โดยที่ 3G นั้นก็ได้แก่ 800 หรือ 850/1900/2100MHz หรือ 900/1700/2100MHz ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ
  • รองรับ Wi-Fi 802.11 b/g/n
  • มี GPS ในตัว
  • รองรับการอัพเกรดไป BlackBerry OS 6

10

โดยทาง RIM นั้นกล่าวว่า smartphone ของ RIM เป็นผู้นำในด้านมือถือที่สื่อสารกับ Social networking และการโต้ตอบด้านข้อความอักษรที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือสูง และกำลังทำได้ดีในด้าน multimedia ในอนาคตด้วย

11

มีพูดถึงเรื่อง BlackBerry Protect เพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลที่สำคัญของเราเวลาเครื่องหายและสามารถติดตามเครื่องได้

480x360_AppWorld_Featured_Twitter480x360_AppWorld_ChangePaymentOption

ตอนนี้ BlackBerry App World ในไทยสามารถซื้อ App ได้แล้วโดยชำระเงินผ่าน Paypal

12

และในงานได้เปิดตัวโครงการ “Peace of Mind” เพื่อนำเสนอประโยชน์ที่ได้จากการซื้อ BlackBerry จากช่องทาง-kpที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง

Re_BlackBerry Bloggers & Communities Day 180910

ขอสักนิด ^^

สุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน 2553 จะมีมีแถลงข่าวเปิดตัว BlackBerryTorch 9800 ที่ห้องจูเนียร์ บอลรูม 2 ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์มิลเลนเนียม สุขุมวิท เวลา 14:00 น. ครับ

review – dtac aircard wave 102

ผมเพิ่งได้รับ aircard ตัวนี้มาได้ประมาณ 3 วัน โดยภาพรวมก่อนเลย สำหรับ aircard ตัวนี้นั้น จำหน่ายในแนวทาง “ราคาถูก เร็ว และรองรับ 3G 2100MHz” ราคาตั้งขายอยู่ที่ 1,290 บาท มาพร้อม Sim card ที่มีชั่วโมง Internet 20 ชั่วโมง โดยแบ่งให้ใช้ได้ 2 เดือน เดือนละ 10 ชั่วโมง

ภาพรวมตอนแรกที่ได้มานั้น ต้องหาก่อนว่า aircard ตัวนี้ OEM มาจากบริษัทอะไรตามธรรมเนียม ;P

เมื่อได้ลองสังเกตตอนติดตั้งแล้วเป็น aircard ที่ผลิตโดย ZTE Technologies แล้วลองหาข้อมูลลงไปแล้วมีความสามารถเดียวกับ ZTE MF626 ซึ่งคาดว่า OEM มาจากบริษัท ZTE Technologies แทนรุ่นก่อนหน้านี้ที่ dtac มักจะ OEM จาก Huawei อาจจะเพราะต้องการทำราคาให้ถูกที่สุดนั้นเอง

เมื่อ OEM จาก ZTE MF626 แน่นอนว่าเสปคเหมือนกันครับ

DSC_6393 

ได้มายังไม่ได้แกะเลยครับ

DSC_6395 DSC_6396 

กล่องบางกว่ารุ่น flip อยู่เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว

DSC_6398

  • รองรับ 3G บนคลื่น HSDPA/HSUPA/UMTS 2100 MHz
    เพราะฉะนั้นใช้ได้แต่ย้านที่เป็นของ TOT และผมคิดว่า dtac คงต้องการปูทางสำหรับ 3G 2100MHz ในอนาคตแน่นอน
  • รองรับ GSM/GPRS/EDGE 850/900/1800/1900 MHz
    สามารถใช้ได้กับทุกค่ายทั้ง dtac, AIS, และ True
  • รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 3.6Mbps
  • รองรับความเร็วอัพโหลดสูงสุด 384Kbps
  • เชื่อมต่อแบบ USB
  • รองรับ Windows 2000, Windows XP(32/64bit), Vista(32/64bit), 7(32/64bit) และ MAC OS

DSC_6402

ทุกอย่างเดิมๆ แบบเดียวกับ flip ครับ ด้านในมือคู่มือเล่มบางๆ และ Sim Card ชุดนึง

DSC_6409 

DSC_6411 DSC_6412

รูปร่างนั้นคล้ายกับตัว DTAC aircard 3G รุ่นแรก (รูปด้านล่าง ซ้ายมือบน) และมีช่องสำหรับใส่ micro SD Card ได้

ซึ่่งไม่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆ นัก ทำให้ aircard ตัวนี้เป็น Flash Drive ขนาดย่อมๆ ได้ไปในตัว

DSC_6425

ตัววัสดุนั้น ต้องบอกเลยว่ารุ่น flip และ 3G ดูแข็งแรงกว่า ตัวนี้เนื้อพสาสติกดูอ่อนตัวและบางกว่าพอสมควรเลย

DSC_6404 DSC_6405 

ถาดใส่ Sim card เป็นพสาสติก แตกต่างจากตัว 3G ที่เป็นแสตนเลส ส่วน flip เป็นแบบสอดเข้าไป

DSC_6406 DSC_6407

DSC_6408 DSC_6413 

DSC_6422 DSC_6426

สำหรับตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มานั้น แตกต่างจากรุ่น flip และ 3G ครับ (ขนาดรุ่น  flip กับ 3G ยังใช้คนละตัวเลย)

ทำให้ในเครื่องผมตอนนี้มีซอฟต์แวร์จัดการ aircard ทั้ง 3 ตัว แต่ก็สามารถทำงานได้ โดยไม่มีปัญหา

2010-09-17_174447

หน้าตาหน้าเชื่อมต่อนั้นทำได้เรียบง่ายเช่นเดิม และเป็นภาษาไทยเช่นเดิม

2010-09-17_174519

จัดการข้อความ SMS ได้ผ่านตัวซอฟต์แวร์ได้เลย

2010-09-17_174528

แน่นอนว่าจัดการ SMS ได้ก็ต้องจัดการรายชื่อหมายเลขโทรศัพท์ได้เช่นกัน

2010-09-17_174538

หลายๆ คนอาจจะต้องการปรับแต่ค่าและเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ส่วนเปล่ียนแปลงค่าก็มีให้มากขึ้นกว่าตัว flip

2010-09-17_174551

หน้านี้เป็นสว่นของการติดต่อกับบริการของ DTAC โดยมีแยกระหว่างแบบรายเดือนและแบบเติมเงิน

สรุปโดยภาพรวมแล้วเป็น aircard ที่นำเสนอให้กับลูกค้าในราคาไม่แพง โดยในตัวกล่องนั้นมาพร้อม Sim Card และโปรโมชั่นแถมมาให้อีก 2 เดือน ซึ่งราคาระดับนี้ในท้องตลาดก็มีตัวเลือกไม่มากนัก ที่รองรับ 3G 2100 MHz ครับ

สำหรับดัานความเร็วนั้น ผมไม่มี Sim 3G 2100 MHz (หาของ TOT ไม่เจอ หายไปไหนไม่รู้) เลยทดสอบได้แต่ EDGE นั้นก็ตามมาตรฐานของ DTAC โดยทั่วไปครับ อันนี้ผมก็ตอบไปได้เลยว่ารุ่นไหนก็ไม่ต่างกันแฮะ ต้องวัดกันที่ 3G ซึ่งเดี่ยวจะเทียบ 3 ตัวทีเดียวเลยครับ อดใจรอกัน ^^

สำหรับการจับสัญญานั้นตัว flip ทำได้ดีกว่าพอสมควรครับ (แน่อนเพราะเค้าออกแบบมาสำหรับการจับสัญญาที่ดีที่สุดอยู่แล้ว) แต่แม้จะรูปร่างใกล้ๆ กับตัว 3G ก็ยังด้อยกว่าตัว 3G นิดๆ อยู่ดี วัดจากตัวแสกลแสดงการรับสัญญาที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียวกันครับ

เอา Zend Framework มาใส่ Codeigniter Framework เพื่อใช้ Zend Component

entry นี้ผมกะจะเขียนตั้งนานแล้ว แต่ว่าไม่มีโอกาสเสียที วันนี้เลยเอาสักหน่อยครับ

ผมไม่เท้าความว่า Codeigniter Framework คืออะไร หาอ่านกันเอานะครับ ติดตั้งอย่างไร เขียนยังไง ทำงานอย่างไร อันนี้หาเอาได้ในเว็บต่างๆ ทั้งไทยและเทศ ผมว่ามีเยอะ ผมลุยเรื่องปรับแต่งเพิ่มเติมเลยดีกว่า

เหตุผลที่เอา Component ของ Zend Framework (ต่อไปเรียก Zend) มาใช้ใน Codeigniter (ต่อไปเรียก CI) เพราะความครบเครื่องในการนำไปใช้งาน ที่หลายๆ อย่างทำได้ดีกว่าตัว CI เยอะมาก แต่โครงสร้างและติดตั้งของ Zend ทำได้ยุ่งยากกว่า ผมเลยเอามาผสมกัน หากใครใช้ Zend มาบ้างจะทราบดีว่ามันอลังการงานสร้างแค่ไหน ครบเครื่องอย่างไร

เอาหล่ะ ไม่พูดอะไรมาก ก่อนอื่นสร้างไฟล์ที่ path ตามด้านล่างครับ

system/application/libraries/Zend.php

ภายในไฟล์ก็ประกอบด้วยโค้ดตามด้วยล่างครับ

<?php
class CI_Zend {
    function __construct ($class = NULL) {

        ini_set('include_path',  ini_get('include_path') . PATH_SEPARATOR . APPPATH . 'libraries');

        if ($class) {
            require_once (string) $class . EXT;
            log_message('debug', "Zend Class $class Loaded");
        } else {
            log_message('debug', "Zend Class Initialized");
        }
    }

    function load ($class) {
        require_once (string) $class . EXT;
        log_message('debug', "Zend Class $class Loaded");
    }
}

โดยเมื่อได้ไฟล์ Zend.php แล้ว ให้เอา Directory “Zend” ทั้งหมดไปใส่ที่

system/application/libraries

เวลาใช้งาน ก็ใช้งานผ่าน Controller ของ CI โดยมี 2 แบบคือ

  1. โหลด Library Zend ที่เขียนสำหรับตั้ง include path ไปพร้อมๆ กับโหลด Component ไปด้วยเลย
$this->load->library('zend', 'Zend/Package/Name');
  1. โหลดตัว Library Zend ที่เขียนสำหรับตั้ง include path ก่อน แล้วค่อยโหลดตัว Component ทีหลังเป็นตัวๆ ไปก็ได้
$this->load->library('zend');
$this->zend->load('Zend/Package/Name');

การโหลด Zend Component แบบนี้ก็ทำให้ดูเป็นระเบียบกว่าการ require_once เข้ามา เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เราทำ logs tracking ใน CI ได้ครับ รวมไปถึงการตั้ง include path เพื่อโยกย้าย Zend Framework ไปที่ไหนๆ ก็ได้ตามแต่เราตั้งใน include path โดยไม่ต้องอ้างอิง include path ของ System

เพียงเท่านี้เราก็ลั้นล้ากับ Zend ใน CI ได้สบายใจแล้วหล่ะครับ ;)

/*p0rt80 BKK*/ – PHP Day

ด้วยความร่วมมือจาก Narisa.com, ThaiAdmin.org, Blognone.com, ThaiThinkPad.com และ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) เราขอเชิญเพื่อนๆ ชาว Dev และเพื่อน ๆ ใน Community (คุณนั่นแหละ) และบุคคลที่สนใจ มาพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ในงาน /* pOrt80 BKK */ ซึ่งเป็นงานที่ว่ากันด้วยเรื่องการพัฒนา App โดย PHP และ Open source ต่าง ๆ เพื่อใช้ในงานประจำวันของเรา นอกจากเพื่อน ๆ ที่อาสาเป็น Speaker ในงานเช่น คุณสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน : [Narisa.com: Up1] คุณมหศักดิ์ พิจิตรธรรม (ZCE:214599205) : [Narisa.com : Zelda] เรายังได้เชิญตัวแทนจาก Zend Technologies ประเทศสิงคโปร์ มาพูดคุยเรื่องราวเกี่ยวกับ Framework, Roadmap และได้เชิญผู้คร่ำหวอดในวงการ PHP ที่ตั้งบริษัทของตัวเองจนประสบความสำเร็จมามาแบ่งปันประสบการณ์ว่าท่านเหล่า นั้นทำได้อย่างไร อีกทั้งยังมี คุณวสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone.com มาแชร์ความรู้ในการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่าด้วย PHP Data Object พร้อมด้วยกูรูจาก Ford AntiTrust มาเล่าเรื่องราวของ PHP Performance with APC + Memcached

ในงานไม่ใช่จะแต่สาระเพียงอย่างเดียว ยังมีความบันเทิงพบปะเพื่อนใหม่ พร้อมรับของที่ระลึก
ให้กลับบ้าน มาเถอะครับ กระชับวงล้อม ขยับเข้ามาช่วยกันสร้างชุมชนที่มีแต่มิตรภาพกันครับ

งานนี้เหมาะกับใคร ?

  • ผู้สุงวัยชาว PHP ที่ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์
  • ชาว PHP ที่ต้องการหาอะไรใหม่ ๆ มาช่วยให้งานดูดี
  • มือใหม่ บุคคลที่สนใจ
  • นักศึกษาที่กำลังหาแนวทางในการทำ Senior Project หรือ กำลังงงว่าจะไปทางไหนดี
  • ชาว Dev ไม่มีที่จะไปและไม่มีใครชวนไปไหนในวันอาทิตย์

วันและสถานที่จัดงาน

วันอาทิตย์ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
เวลา 9.00 ถึง 17.15 น. (ลงทะเบียนเวลา 9.00 ถึง 9.30 น.)
ชั้น 38 บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)

ค่าใช้จ่ายและการลงทะเบียน

ฟรี! ตลอดงานครับ มาแต่ตัวกับหัวใจ เราเตรียมอาหารกลางวันรสดี กาแฟรสเลิศ ของเสริฟในยามว่าง เราเตรียมไว้ให้ตลอดงานครับ ร่วมลงทะเบียนเข้างานเพื่อรับของที่ระลึกเก๋ ๆ ได้ที่นี่ครับ

หัวข้อภายในงาน

  • PHP Roadmap
    โดย Mr. Rama Yurindra, Zend Technologies Representative, Singapore
  • ธุรกิจสิบล้านกับงาน PHP แบ่งปันประสบการณ์ดี ๆ จากคนคอเดียวกัน
    ว่าสามารถสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จจาก PHP ได้อย่างไร

    โดย คุณศุภโชติ กาญจนกรทอง ผู้ก่อตั้งบริษัท 2Fellows Network and Design
  • Exploring a power of SQL Server and PHP
    โดย คุณฟูเกียรติ จุลนวล (Narisa.com: Fuju)
  • สร้างระบบ e-commerce ด้วย CodeIgniter
    โดย คุณสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน (Narisa.com: Up1)
  • PHP in Enterprise
    โดย คุณมหศักดิ์ พิจิตรธรรม (ZCE:214599205) : (Narisa.com : Zelda)
  • PHP Performance with APC + Memcached
    โดย Ford AntiTrust (Web Developer/Consultant, Database Consultant, Ubuntu Implementer, Blogger and Photographer)
  • เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่าด้วย PHP Data Object
    โดย คุณวสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone.com
  • Update Web Platform Installer และ Resource ฟรี ๆ
    จาก ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)

    โดย คุณสงวน ธรรมโรจน์สกุล

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ http://www.microsoft.com/thailand/seminar/FY11Q1_port80bkk/