ปัญหาภาษาไทยใน iPod nano (4th Gen) ได้ถูกแก้ไขแล้วใน Software Version 1.0.4

จาก อัพเดท Firmware iPod nano (4th generation) แล้วอ่านภาษาไทยไม่ได้ แก้ยังไงดี ? ที่บ่นๆ ไปเมื่อ 16 พ.ย. 51 (November 16th, 2008-10:50 am) ตอนนี้ Apple ได้แก้ไขแล้วในวันนี้ วันที่ 13 ส.ค. 52 อืมมม เกือบ ๆ 9 เดือน !!! กับการแก้ไขปัญหาของ Apple ในครั้งนี้

รายละเอียดใน Release Note มีดังนี้

  1. Fixed issue which resulted in some incorrect daylight savings date settings
  2. Thai song information tags now display properly after syncing iPod nano in disk mode
  3. Other minor bug fixes

คำถามที่อยากถาม Apple ว่าทำไมแก้ปัญหานานจัง มัวทำอะไรอยู่ ? เพราะใน Discussions Board ของ Apple มีการ bug report ไปตั้งแต่ 12 พ.ย. 51 แล้วด้วยซ้ำ ?

[bug report] 1.0.3 firmware wipes out Thai font Display
Posted: Nov 12, 2008 10:42 PM
http://discussions.apple.com/thread.jspa?messageID=8477339

สรุป ใช้ของ Apple ต้องอดทนเนอะ !!!

ประกาศเลิกใช้ FileZilla

ช่วงนี้งานการเยอะมาก แต่ก็ยังคงอัพเดทข้อมูลอยู่ที่ http://fordantitrust.multiply.com/ สำหรับพวกงานด้านภาพถ่ายครับ ติดตามได้ที่ Multiply ครับ

เอ้ามาเข้าเรื่องกัน ที่จั่วหัวไปก็เพราะใน Developer Community ไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาให้มีการ encrypted ข้อมูลใน sitemanager.xml ครับ

และกระทู้อื่นๆ อีกมากมาย

ปรกติผมมี CuteFTP อยู่แล้ว แต่ว่า FileZilla นั้นทำงานได้เร็วกกว่าในกรณีเร่งด่วนบางอย่าง แต่ตอนนี้คิดว่าทำไมต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความเสี่ยงต่อการโดน Hack ด้วย ?

ผมไม่เอาเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผมดูแลอยู่มาเสี่ยงกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ตอนนี้เอาออกจากเครืองไปแล้วหล่ะครับ

คนที่ใช้ลองคิดๆ กันเอาเองกับความเสี่ยงครั้งนี้ครับ สำหรับผมถ้ายังไม่มีการแก้ไขจุดนี้ผมก็คงไม่ใช้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ

ประโยชน์ของไฟล์ Digital Camera RAW File (เท่าที่คิดออก)

Digital Camera RAW File หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟล์ RAW ในกล้อง Digital SLR นั้นถือเป็นการบันทึกข้อมูล "ดิบ" ที่ได้จาก Sensor ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดข้อมูล Color depth หรือ Bit depth ที่ระบบสี 12 bpp (bits per pixel) หรือ ระบบสี 14 bpp (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 12bits เท่ากับ 4,096 เฉดและ 14bits เท่ากับ 16,384 เฉด) โดยที่จำนวน bit ของระบบสีนั้นขึ้นอยู่กับกล้องว่าใช้ Sensor แบบใด (แพงหรือถูกด้วย) และเมื่อเทียบกับ 1 pixel เท่ากับระบบสี 8 bpp ของ JPEG ก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันมีเยอะมาก (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 256 เฉด)

แต่เมื่อเอามาคิดในระบบการแสดงผลของสีในธรรมชาติโดยเทียบจาก JPEG นั้นใน 1 pixel ของระบบสี กับ 1 pixel ของระบบการแสดงผลของสีนั้นประกอบไปด้วยแม่สีของแสง (spectrum primaries) ที่มี 3 สี (3 channel) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) หรือเรียกย่อๆ ว่า สี RGB ครับ ซึ่ง 1 pixel มี 3 สีมาผสมกันให้เกิดสีต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความหลากหลาย นั้นหมายความว่า 256 (R) x 256 (G) x 256 (B) ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 16,777,216 เฉดสี หรือ 8 bpp ในระบบ RGB นั้นจะได้จำนวนสี RGB คิดเป็นบิตที่ 8 bpp x 3 color (RGB) ก็คือ 24bits นั้นเองครับ

แล้วถ้าลองมาคิดต่อในแบบ RAW ก็จะได้

RAW 12bits

4096 x 4096 x 4096 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 68,719,476,736 เฉดสี

( 12 x 3 = 36bits )

RAW 14bits

16384 x 16384 x 16384 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 4,398,046,511,104 เฉดสี

(14 x 3 = 42bits)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เราเห็นความแตกต่างของจำนวนข้อมูลอย่างชัดเจนจนทำให้คุณภาพของข้อมูลภาพนั้นแตกต่างกันด้วยเช่นกัน (มองที่คุณภาพของไฟล์ภาพ ไม่ใช่ความสวยงามของภาพ) ซึ่งจะเห็นผลตอนเราจำเป็นต้องนำมาแต่งภาพที่ต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลมาก ๆ

อีกอย่าง JPEG เป็น lossy compression ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการสูญเสียจากการนำไปประมวลผลจากตัวกล้องเอง เพื่อให้ได้ภาพที่ปรุงแต่งตามการตั้งค่าของผู้ผลิตหรือตัวผู้ใช้เอง แล้วทำการบีบอัดรูปภาพให้ได้เล็กลง ซึ่งจะเอากลับมาปรับแต่งต่อยากมาก ๆ เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวนั้นเอง แต่การถ่าย RAW ไฟล์ก็ต้องแลกกับจำนวนการถ่ายช็อตที่ต้องการความต่อเนื่องได้ลดลง เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่ใหญ่มากของ RAW ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับ Memory เพิ่มมากขึ้น แต่ก็พอจะแก้ไขด้วยการใช้ Memory ที่มีความเร็วสูงๆ ได้เช่นกันครับ

อีกข้อดีของการใช้ไฟล์ RAW คือระบบการประมวลใน Computer มีความสามารถในการคำนวนและทำงานได้ดีกว่า Processor ในกล้อง ประกอบกับการปรับแต่งที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากได้ให้ได้มากที่สุดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น White Balance ที่ปรับได้ดั่งใจ เปลี่ยนแปลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพไป หรือ Exposure Value ที่ให้เราดึงค่ากลับมาได้อีก +-1 Stop เป็นอย่างน้อย ๆ (เช่นภาพด้านล่าง)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการถ่ายรูป DSLR แล้วใช้ RAW น่าจะเหมาะกับคนที่นำภาพมาปรับแต่งต่อในภายหลัง และในสถานะการณ์ที่เราไม่มีเวลามาใส่ใจกับ White Balance และ Exposure Value มากนัก (ในกรณีที่เราต้องถ่าย under ลงไปอีกหน่อยเพื่อให้ภาพไม่เบลอก็จำเป็น ไม่งั้นไม่ได้ภาพก็น่าเสียดาย)

แต่ไม่ใช่ว่าการถ่ายแบบ RAW จะช่วยได้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ภาพที่ได้ถ่ายนั้นเอามาปรับแต่งได้มากกว่าเดิมจากที่ JPEG ทำได้เท่านั้น ซึ่งหลายทั้งมวลนั้นเป็นเรื่องของคนถ่ายรูปเป็นหลัก ที่ต้องทำคุณภาพของรูปภาพนั้นดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน

คิดซะว่าถ่าย RAW ก็เหมือนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าดีหน่อยตรงที่ถ่ายแล้วเห็นเลย แต่ไฟล์รูปเราก็ต้องเอามาทำการล้าง แล้วก็มาตกแต่งในห้องมืด (ทำผ่าน GIMP) แล้วค่อยอัดภาพทีหลัง (แปลงด้วย RAW Converter เป็น JPEG) อะไรแบบนั้นครับ จะไม่รวดเร็วแบบ JPEG ที่ถ่ายแล้วใช้ได้เลยอะไรแบบนั้น (อาจจะแต่งบางตามสมควร)

แต่อย่านำมาสับสนกับการแสดงผลในจอภาพนะครับ เพราะจอภาพในปัจจุบันนั้นแสดงผลที่ 32bits (RGB) ซึ่งจะเป็น 16,777,216 สี ที่ 24bits ส่วนอีก 8 bits ที่เหลือเป็นเรื่องของการโปรงแสงของสี (degree of transparency) ครับ โดยภาพที่ตามนุษย์เห็นนั้นสามารถไล่เฉดสีได้จะอยู่ที่ประมาณ 16-24bits ครับ ไม่แน่ใจข้อมูลจำคราวๆ ครับ

ปล. ถ่ายเบลอ ถ่ายหลุดโฟกัส อย่างงี้ต่อให้ถ่าย RAW ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อันนี้มันอยู่ที่คนถ่ายล้วนๆ แล้วหล่ะครับ

16592172

16592369 

ผิดพลาดหรือต้องการเพิ่มเติมก็เสนอความคิดเห็นได้เลยนะครับ ศึกษามาเดือนกว่าๆ เลยเอามาสรุป ๆ ไว้

เก็บกล้องยังไงดี ?

เป็นคำถามที่ผมต้องหาคำตอบเองนับตั้งแต่ซื้อกล้อง DSLR Nikon D80 มา เพราะส่วนใหญ่มีแนวคิดเก็บกล้องไม่เหมือนกัน บางคนก็ไม่อะไรมาก ใส่กระเป๋า แล้วเอามาใช้สัปดาห์ละครั้ง ตามแต่ว่าจะถ่ายมากถ่ายน้อย บางคนก็เอาใส่กล่อง หรือตู้ควบคุมความชื้นอย่างดี ซึ่งกล่องควมคุมความชื้นราคาก็ 3-4,000 ส่วนตู้ก็เกือบหมื่น ถึงราคาหลักหมื่น ราคาระดับนี้ดูมาก แต่ถ้าดูจากราคากล้องรวมถึงเลนส์ที่เราจะซื้อในอนาคตที่ราคาหลักหมื่นทั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ได้ดูแพงเกินไป แต่ในช่วงแรก และระยะกลางๆ การเก็บด้วยวิธีควบคุมความชื้นแบบบ้านๆ ที่ใช้งบราคาไม่แพงมากก็ช่วยให้เราประหยัดลงไปได้เยอะครับ

เหตุที่ต้องควบคุมความชื้น เพราะ …..

2009-05-01_230745 

รา และฝ้าขึ้นเลนส์และ CCD/CMOS (Image sensor) ในกล้องครับ

(ในภาพ Nikon ED Nikkor 80-200 F2.8 D ที่ยืมมาจากพี่ @hongsyok แล้วพี่เค้าเก็บไว้นานมากแล้ว เลยเอามาเช็ด แล้วเจอพอดี เลยถ่ายรูปเก็บไว้สักหน่อย)

ผมเลยต้องจัดกล่องสูญญากาศมาครับ เป็นของ Super Lock จริงๆ ผมมี Lock & Lock อีกตัวนึงแล้ว แต่เอาไว้ใส่อย่างอื่นด้วย และ Super Lock ราคาถูกกว่าและหาซื้อง่ายกว่า ตาม BigC มีขายทุกสาขา ซื้อเอาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้นั้นแหละครับ

IMAG0827

IMAG0828

แล้วก็จัดซิริก้าเจลอย่างดีมา ในภาพด้านล่างผมซื้อแบบ 1 กิโลกรัมครับ (ถุงละครึ่งกิโลกรัม) ราคาก็ 200 บาทด้วย (ไม่รวมค่าส่ง) วิธีการดูว่าซิลิก้าเจลเริ่มดูดความชื้นไม่ไว้ก็คือ มันจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินสวยๆ แบบในรูปด้านล่างเป็นสีม่วงครับ เมื่อม่วงมากๆ ก็ได้เวลาเอาไปอบให้ความชื้นละเหยออกมา หรือเททิ่งเปลี่ยนใส่อันใหม่เลยก็ได้

P1100592

P1100594_1

แล้วก็ซื้อ Hygrometer ที่ดีๆ หน่อย เอามาวัดความชื้นในกล่องไว้ จะได้รู้ว่ามากหรือน้อยเกินไป

โดยที่ระดับความชื้นที่กำลังดีคือ 40-50% ถ้าน้อยกว่า 40% จะทำให้พวกยางต่างๆ กรอบและแตกได้ ส่วนมากกว่า 50% อาจทำให้ราเจริญเติบโตได้ง่าย

P1100587 

แต่ปรกติถ้าเราปิดฝาออกมาความชื้นในอากาศจะมากกว่าด้านในจะไหลเข้าไปอยู่แล้ว ซึ่งต้องให้เวลาซิลิก้าเจลมันดูดความชื้นสัก 6 – 18 ชั่วโมงครับ ความชื้นจะค่อยๆ ลดลงอยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งราและฝ้ามันไม่ขึ้นง่ายขนาด 18 ชั่วโมงแล้วแตกระแหงครับ แต่ใช้เวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์หน่อย แต่การทำให้สภาพของอากาศไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็ช่วยป้องกันได้ครับ

การเก็บแบบนี้เหมาะกับห้องและสถานที่ที่มีความชื้นสูงครับ เช่นในห้องแอร์ บ้านพักที่มีต้นไม้เยอะ ๆ หรือบ้านไม้ครับ ยิ่งผมอยู่แมนชั่นที่มีสภาพปิดทำให้ผมเปิดแอร์นอน ตื่นเช้ามาจะมีความชื้นสูงมาก (เคยเอา Hygrometer วัด จะได้อยู่ที่ 60-70%) เลยจำเป็นต้องเก็บแบบนี้ครับ

การลงทุนเก็บแบบนี้นั้นโดยรวมไม่สูงมากครับ

  • Super Lock ราคาประมาณ 200 – 300 บาท
  • ซิลิก้าเจล ราคาถุงครึ่งกิโลกรัม 100 บาท
    มันจะหมดอายุภายใน 6 เดือนหลังจากเปิดถุงนะครับ ผมใช้ได้ประมาณ 1-2 เดือน ใช้แบบเปลี่ยนเลย ไม่เอามาอบอะไรทั้งสิ้นกลัวสารตกค้าง ในตู้ไมโครเวฟ
  • Hygrometer แบบดี ๆ หน่อย ก็ 300 – 400 ค่าความผิดพลาด < 5% (แบบตัวอย่างด้านบนกลมๆ ซื้อจาก Fotofile ราคา 400 บาท) และแบบถูก ๆ ก็มี 60 บาท หาได้ตามบ้านหม้อ (รูปด้านล่างสี่เหลี่ยมขาวๆ นั้นแแหละครับ) แต่ค่าความผิดพลาดจะอยู่ที่ 5%-10% ครับ

ราคารวมแล้วชุดนึงก็เก็บกล้องและเลนส์ได้พร้อม ๆ กันก็ประมาณ 500 – 1,000 บาท ซึ่งมันจะไปแพงที่ตัว Hygrometer นั้นแหละครับ ตัวกล่องถ้าเอาแบบดี ๆ อย่าง Lock & Lock ก็แพงกว่าของ Super Lock ประมาณเท่าตัวครับ (กล่องด้านล่างสูง ๆ นั้นแหละครับ) อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและกำลังทรัพท์ครับ

IMAG0863

ปล. ภาพที่ถ่ายนี่ ถ่ายด้วยกล้องหลากลายตัวครับ เก็บๆ รวมรวมมาเขียนใน blog ตอนนี้ครับ

ความเร็วของ SDHC Card ในการอ่านและเขียนข้อมูล

SDHC หรือ SD High-Capacity Cards นั้นเป็นชื่อเรียก SD Card ที่มีความจุตั้งแต่ 4GB ไปจนถึง 32GB (ณ.วันที่ตั้งกระทู้นี้) โดยที่พัฒนาด้วยกรอบที่มีเรื่องของความเร็วในการเขียนข้อมูล ที่การันตีความเร็วขั้นต่ำในการอ่านและเขียนข้อมูลไว้ (specify three data-writing speeds at guaranteed minimum data transfer rates)

โดยที่ SDHC นั้นมี speed classes ที่ Class 2, Class 4 และ Class 6 โดยมีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลขั้นต่ำ ที่ 2MB/s, 4MB/s และ 6MB/s ตามลำดับ ซึ่งความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลนั้น โดยทั่วไปวัดกันที่ X Speed ก็ได้ (เหมือนกับ X ใน CD/DVD นั้นแหละ)

Rating 	 	 Speed (MB/s) 	SDHC Class
6x 	 	 0.9 	 	 n/a
13x 	 	 2.0 	 	 2
26x 	 	 4.0 	 	 4
32x 	 	 4.8 	 	 4
40x 	 	 6.0 	 	 6
66x 		 10.0 	 	 6
100x 		 15.0 	 	 6
133x 		 20.0 	 	 6
150x 		 22.5 	 	 6
200x 		 30.0 	 	 6
266x 		 40.0 	 	 6
300x 		 45.0 	 	 6

ผมซื้อ SDHC Apacer 8GB Class 6 ที่ควรจะ R/W ที่ 6MB/s แต่ใช้จริง ๆ ก็ทำงานได้ที่ ~9-14MB/s ครับ ซึ่งก็ถือว่าปรกติ ส่วนว่า Class 4 ทำงานเร็วกว่า Class 6 ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อจะแปะไว้เป็น Class อะไรและด้านในได้ใช้ chip ด้านในดีกว่าหรือเปล่า ซึ่งผ่าน QC ขั้นต่ำ ส่วนถ้าทำได้มากกว่านั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติที่ทำได้เฉยๆ ไม่ใช่สาระสำคัญเท่าไหร่ (ปรกติผู้ผลิตมักทำเกินอยู่แล้ว)

ซึ่งความเร็วที่ได้จะมากจะน้อยมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ Writer/Reader เพราะตัว SD Card มันไม่มี Controller ในตัวครับ ต้องอาศัยตัว Writer/Reader มาช่วย ถ้าตัว Writer/Reader มันอ่านเขียนช้าก็ทำให้ SD Card ทำงานไม่เต็มที่เช่นกัน

แต่ตอนนี้อยากได้ SanDisk Extreme III 30MB/s (Class 6, 200x) มากครับ สัก 4GB กำลังดี –_-‘

image image

อ้างอิงจาก http://www.sdcard.org/developers/tech/sdhc/ และ http://en.wikipedia.org/wiki/Secure_Digital_card