เมื่อไหร่จะได้ใช้ dtac TriNet?

ผมขอแจ้งเพิ่มเติม เพราะไปตามหาข้อมูลเพิ่มเติม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่รอคอย dtac TrieNet ครับ (หน้าเว็บเหมือนจะไม่มีบอก ต้องไปตามหาเอาเองตาม ศ. บริการ)

ผมขอไล่จากนานสุด เพราะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป

  1. ช่วงเดือน พ.ย. 56 ลูกค้าที่ชำระค่าบริการผ่านธนาคารหรือบัตรเครดิต
  2. ต้นเดือน ส.ค. 56 ลูกค้าที่ใช้บริการ MultiSim, บริการข้ามแดนอัตโนมัติ, บริการ Group Bil, ใช้งานผ่าน Aircard/Tablet และลูกค้าต่างชาติ
  3. ไม่เข้าข่าย 1. และ 2. จะได้ใช้ตั้งแต่ 23 ก.ค. 56 เป็นต้นไป (รอ SMS ยืนยัน แต่ไม่ยืนยันว่าจะได้หลังข้อที่ 1. และ 2. หรือเปล่า)

สรุปผมรอโน้นเลย พ.ย. 56 เพราะตัดผ่านบัตรเครดิต ฮาๆๆๆ น้ำตาจะไหล จ่ายเงินครบ ตรงเวลาทุกเดือนได้หลังสุด

อ้างอิงรูปจากกระทู้นี้ รวมถามตอบ ทำไมไม่ได้ อัพเกรดเป็น trinet สักที ลองอ่านดูครับ

1374570022-1374565740-o

dtac TriNet จริงใจหรือกั๊ก

ผมเข้าใจเรื่อง migrate ของ dtac TriNet ระบบนะว่ามันต้องใช้เวลา แต่ migrate ระบบโดยไม่บอกว่าใครแต่ละคนได้คิวไหน หรือได้ในช่วงวันที่เท่าไหร่ ได้แต่ภาวนากันไปว่าจะได้เมื่อไหร่ แถมลูกค้าใหม่สามารถใช้งานได้ทันที (รู้สึกว่าเป็นลูกค้า Happy) โดยไม่สนใจว่าลูกค้าเก่าจะรออยู่หรือไม่ ผมถือว่าไม่เห็นหัวลูกค้าเก่าครับ

ส่วนตัวผมเคยใช้ dtac มาก่อนเกือบ 8 ปี (หาได้จาก blog เก่าๆ) แล้วก็ย้ายไป AIS เพราะคุณภาพสัญญาณแย่ เพราะไม่สามารถใช้งาน edge+ ได้ ทำให้ผมติดต่อใครไม่ได้ถ้าใช้ internet มาปีที่แล้ว ทุกอย่างดีขึ้น ก็ย้ายกลับมา dtac หวังว่าจะดี โดยรวมก็ดีกว่า AIS ตอนนั้นเยอะ เพราะ AIS หลังจากเปิด 3G ก็ห่วยลง เยอะมาก (หาได้จาก blog เก่าๆ เช่นกัน)

แต่มาวันนี้หวังว่า TriNet จะได้ใช้เร็วๆ แต่ค่ายอื่นๆ ทั้ง AIS และ Truemove H นำหน้าไปก่อน นั่งมองชาวบ้านใช้งานกันสบายไปหลายคน ก็ได้แต่งงว่าค่ายที่เราไว้วางใจทำไมช้า เงียบเชียว ขอคิวย้ายไป TriNet ตั้งแต่ 22 เดือน 4 มาวันนี้ก็เงียบ แถมลูกค้าใหม่ใช้ได้เฉยเลย ให้ผมพูดยังไงดีครับ ;)

1372788426-30671046-o
อารมณ์เหมือน “รู้ไหมตูลูกใคร” ><”

สุดท้าย อยากฝาก dtac ไว้นิดนึงว่า ถ้าจะย้ายแบบค่อยๆ ย้าย ส่ง SMS บอกเป็นรายบุคคล ช่วยทำให้ลูกค้าแต่ละท่านรู้หน่อยได้ไหมว่าจะอยู่คิวไหน จะใช้งานได้เมื่อไหร่ แบบประมาณวันที่ (คงไม่ขนาด fix วัน ผมเข้าใจว่าวันนึงมีโควต้าอยู่ เผื่อลูกค้าใหม่เข้ามาแทรก ประเมิณจากเหตุการณ์ตอนนี้) เพราะแต่ละคนจะได้ทราบว่าตัวเองจะรอได้แค่ไหน เพราะถือว่าเป็นข้อมูลที่ลูกค้าควรรับทราบ เพราะถ้าทำอย่างที่เป็นอยู่นี้ ลูกค้าเสียประโยชน์ครับ เพราะเหมือนกั๊กลูกค้าไว้ครับ บางคนทราบว่าจะย้ายท้ายๆ หรือสิ้ันปี เค้าจะได้ย้ายไปค่ายอื่น ใช้งานไปก่อน เผื่อถึงคิวหรือย้ายหมดแล้ว ย้ายกลับมาใช้ก็ยังไม่สายครับ ผมรู้ว่า TriNet ช่องสัญญาณกว้างสุด มันต้องเมพแน่ๆ เพราะเดี่ยวนี้ MNP ย้ายกันไม่ยากแล้ว เพราะผมก็ย้ายไปมากับ dtac -> AIS -> dtac มา 2 รอบแล้ว ผมเฉยๆ สบายๆ ไม่ตื่นเต้นอะไร

เดี่ยวไปย้ายค่ายแหละ…

bg_home_taeyeon

ทำความเข้าใจหน้าที่ของ OIS และ Speed Shutter ในกล้องมือถือ

พอดีว่าได้ตอบความคิดเห็นใน Motorola บอกใบ้ กล้อง Moto X ถ่ายรูปไม่เบลอ? แล้วอยากเอามาเผยแพร่ต่อใน blog ตัวเองสักนิดเผื่อคนที่ยังไม่เข้าใจกันว่ามีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรระหว่าง OIS และการปรับ speed shutter เพื่อใช้ในการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบและการแก้ไขอาการสั่นไหวของการถ่ายรูป

การหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบต้องใช้ speed shutter ในการถ่ายแหละครับ เพราะ OIS (Optical Image Stabilization) ช่วยเรื่องการทำให้ภาพนั้นนิ่งตอนย้ายหรือตอนที่ถ่ายนั้นเกิดการสั่นไหวที่ตัวกล้องเป็นหลัก สรุปมันใช้แทนกันไม่ได้หรอกครับ มันคนละหน้าที่กัน

หลายๆ คนมองภาพไม่ออก ผมยกตัวอย่างเช่น ระบบ IS (Canon) หรือ VR (Nikon) ใน lens ระดับโปรบนกล้อง DSLR ที่สามารถช่วยให้สามารถถ่ายรูปด้วยเลนส์ 70-200mm f/2.8 น้ำหนัก 1-2kg แล้วสามารถลด speed shutter ลงได้ถึงระดับ 1/60s ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายรูปรถที่วิ่งอยู่ได้ชัดเจน เพราะการถ่ายรูปรถที่เร็วนั้นคุณต้องเพิ่ม speed shutter เพื่อหยุดความเคลื่อนไหวของตัวแบบเพียวชั่วขณะ อาจใช้ถึง 1/2000/s หรือ 1/4000s เลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการถ่ายรูป

ข้อเท็จจริงคือ electronic shutter มีมานานแล้วและกล้องมือถือก็ใช้กันแบบนี้ทั้งนั้น การทำ speed shutter สูงๆ ระดับหลักหมื่นจึงทำได้ง่ายกว่า DSLR หรือพวกที่เป็น mechanical shutter มาก (Nikon D7100 ถ่ายได้ speed shutter 1/8000s) เอาง่ายๆ ว่ากล้องอย่าง Nokia Lumia 920 ถ่ายรูปได้ที่ 1/3000s สบายๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือการควบคุม speed shutter นั้นจะเป็นตัว camera app เป็นคนควบคุม ไม่ใช่คนใช้งาน เพราะฉะนั้น ส่วนที่จะทำให้มันเกิดขึ้นในกล้องมือถือได้มากขึ้นคือทำให้ camera app ฉลาดพอที่จะรู้ว่าควรถ่ายแนวไหนยังไง สุดท้ายก็ต้องมาลงที่ app ที่คนจะใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกหรือสั่งงานอย่างถูกต้องกับสิ่งที่กำลังจะถ่ายอยู่

ต่อมาคือ การถ่ายรูปในสภาพ speed shutter สูงๆ นั้นต้องทำให้ตัวเซ็นเซอร์รับภาพ สามารถรับภาพที่ ISO (ความไวแสง) ได้สูงมากขึ้นในสภาพแสงต่างๆ กันไป เพราะยิ่งเราต้องการใช้ speed shutter สูงเท่าไหร่ก็ต้องการเซ็นเซอร์ที่ไว้ต่อแสงมากขึ้นเท่านั้น (เพราะแสงมีเวลาที่จะวิ่งเข้าไปหาเซ็นเซอร์น้อย) ซึ่งอย่าลืมว่ากล้องมือถือส่วนใหญ่ค่า f นั้นคงที่อยู่แล้ว จะไปควบคุมหลี่หรือเปิดรูรับแสง (ค่า f) ซึ่งปรกติปรับค่า f ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะทำให้ถ่ายรูปแล้วเซ็นเซอร์รับแสงได้ดี ต้องพัฒนาให้เซ็นเซอร์รับรู้แสงในระดับ ISO สูงๆ แทน ใครนึกภาพไม่ออก ถ้ามี DSLR ลองเอาเลนส์ fixed 50mm f/1.8 มาถ่ายรูปด้วยค่า f/2.0 ตลอดทั้งวันดูครับ เช้ายันเย็น จะเข้าใจว่าค่าที่คุณปรับจะเหลือแค่ speed shutter และ ISO เท่านั้น โดยถ้าได้รับการเรียนรู้การถ่ายรุปมาจะรู้ว่าต้องปรับ speed shutter ก่อน ISO เสมอ เพราะ ISO ยิ่งปรับมาก ยิ่งเกิด noise คุณภาพของภาพจะแย่ลง โดยถ้าคุณถ่ายรูป speed shutter สูงๆ ในอาคาร ต้องดัน ISO ขึ้นสูงอาจจะ 1600 หรือ 3200 เลย กล้อง DSLR อาจจะสบายๆ แต่กล้องมือถือ แค่ 800 ก็ตายแล้ว ><" ปล. ใครงงที่ผมอธิบาย ลองศึกษาเรื่อง ค่ารูรับแสง (ค่า f) ความเร็วชัตเตอร์ (ค่า s) และค่าความไวแสง (ค่า ISO) ดูครับ น่าจะเห็นภาพชัดขึ้น ซึ่งอยู่ในชื่อบทความจำพวก "การวัดแสง” และ “ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO ” ในเรื่องการถ่ายรูป ;)

ความคิดเห็นส่วนตัวจากข่าว "ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป"

จากข่าว “ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป

ส่วนตัวผมมองว่า คนพูดไม่ได้รับผลกรรมที่ตัวเองก่อขึ้น เลยได้แต่พูดครับ เพราะจากที่ได้เคยพัฒนาและนั่งฟังคนพัฒนาบ่น ผมและคนเหล่านั้นอยากจะบอกทุกคนว่ามันชวนปวดหัวมากกับการทำให้รองรับมือถือร้อยพ่อพันแม่ แถมเครื่องมือพัฒนาก็แย่มากไม่ช่วยอะไรต้องลงมือเองเยอะ (Android studio อาจเป็นความหวังของการพัฒนา App ในอนาคต)

ส่วนฝั่ง User เป็นเรื่องที่ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานของเค้า “แย่” มากเมื่อเทียบกับ iOS หรือ OS ตัวอื่นๆ ที่มีการควบคุมเรื่องขนาดจอภาพ การจัดวางปุ่ม ฯลฯ อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อไม่มีการควบคุมอย่างดี มันทำให้ความหลากหลายนั้นมากเกิน นักพัฒนาไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการพัฒนาและทดสอบได้ ซึ่งผมมองว่ามันจะกลายเป็นความซวยแบบไม่รู้ตัว แทนที่จะได้ App คุณภาพดี กลับได้ App คุณภาพแย่เพราะนักพัฒนาเอาเวลามานั่งทำในเรื่องบ้าๆ บอๆ ที่บางครั้งไม่เกี่ยวกับสิ่งหลักๆ ใน App เลย อย่างทำให้ขนาดหน้าจอรองรับได้หลากหลาย ทำงานกับ HW แปลกๆ ไม่ได้ รวมไปถึง App เดียวกัน แต่ทำงานต่างยี่ห้อมือถือ ประสบการณ์ในการใช้งานต่างกัน บาง App ใช้งานกับ CPU ช้าๆ ไม่ได้ แต่บางคนก็ไปดันทุรังทำลงไปได้แต่ก็ใช้งานกระตุกและประสบการณ์ในการใช้งานย่ำแย่ เพราะ User บอกว่า ก็มัน Android เหมือนกันนิ

อันนี้ผมพูดรวมๆ ในเชิง Technical ทั้งหมด เพราะผมหมายถึง Technical ส่วนผู้ใช้เค้าเข้าใจไหมนั้นอีกเรื่อง

ผมจะเล่าเรื่องแม่ผมใช้ Android ให้ฟังสักหน่อย ว่าเรื่องของ fragmentation มันสร้างความชวนปวดหัวให้มากแค่ไหน

ท่านไม่เคยใช้มือถือ Smartphone มาก่อน พอได้ LG Optimus 4x HD มา ก็เลยให้ท่านใช้ คู่มือมีสอนไม่คลอบคลุม แถมหนังสือต่างๆ ที่วางขายก็ไม่มีรุ่นนี้รองรับ แน่นอนว่าผมใช้ไม่ยากหรอก เพราะมีประสบการณ์ ดำน้ำไปสักพักก็ใช้เป็น แต่กับแม่ผม ผมสอนท่านเรื่องอ่านคู่มือการใช้งานให้เป็นหลัก ไม่ว่าอุปกรณ์อะไรผมเน้นแบบนี้เสมอ แต่กับมือถือ android โดยทั่วไป หาคู่มือและหนังสือที่สอนหรือแนะนำ App แบบไม่อ้างอิงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งได้น้อยมากๆ มันไม่เหมือน iOS, Blackberry หรือ Windows phone ที่ UI นั่นไม่หลากหลายเท่า สองเบื้องต้น ต่อยอดได้ในอนาคต แต่คนใช้ Android เปลี่ยนยี่ห้อหรือรุ่นก็ต้องเปลี่ยนและศึกษาใหม่แล้ว ซึ่งผมว่ามันแย่กับคนใช้งานมากๆ ครับ เพราะเวลามีปัญหาแม่ผมโทรเข้ามาถาม ผมอ้างอิง UI ในหัวผมไม่ได้เลย เพราะ Android ที่ผมมีใช้ก็มี UI และปุ่มกดที่ไม่เหมือนเครื่องที่แม่ผมใช้งาน (ผมใช้ oppo find 3 แถมแพ) บอกกดปุ่มเมนู ปุ่มนั้นนี่ มันอยู่คนละที่ สลับข้างกันบ้าง คือมันไม่มีมาตรฐานตายตัว แต่ส่วนตัวกว่าจะสอนให้แม่ใช้งานได้คล่องก็เป็นอาทิตย์เลยทีเดียว ซึ่งก็ลำบากพอสมควรสำหรับคนไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์ด้านไอทีอย่างแม่ผม แน่นอนว่าแม่ผมก็โอเคนะ เพราะ UI ใหญ่ เห็นชัดเจนดี แต่กว่าจะสอนให้ใช้ได้ก็พอสมควร T_T

หวังว่าจะเข้าใจการสื่อที่ผมสื่อนะครับ คนใช้ไม่สนใจ แต่คน Support คนใช้งานรับกรรมครับ คือบางครั้ง fragmentation ของ Android มันอาจจะไม่ใช่แค่ Technical เฉยๆ เท่านั้น แต่มันเป็น fragmentation ที่อยู่บน User Experience ของคนใช้งานระหว่างกันที่ไม่เข้าใจกันและกันด้วย เรือธงแต่ละค่ายคงไม่เท่าไหร่หรอก เพราะแพกว่าจะได้ล่องก็ผ่านไปเกือบปี แต่พวกล่างๆ รุ่นลองเรือธง โดนล่องแพเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว เพราะข้อจำกัดของ HW รุ่นเก่าที่ไม่รองรับความสามารถใหม่ๆ รวมไปถึง App รุ่นใหม่ๆ ที่รองรับและทำงานได้ดีแต่เฉพาะเรือธงที่ขายเท่านั้น ทำให้รุ่นเก่าๆ รุ่นความเร็วต่ำทำงานไม่ได้ไปอย่างน่าเสียดาย T_T

สรุปหลังจากดู Pacific Rim จบ

  • เนื้อเรื่องไม่มีอะไรแปลกใหม่ เดาทางกันออก ผมว่าเรื่องพยายามทำให้มันมีเหตุผลดีทีเดียว กระจายบทดี มีที่มาที่ไป และเหตุผลต่างๆ ภายในเรื่องที่จะทำ โดยเฉลยทีละน้อย ต้องพยายามเก็บ มีบอกหมด ถ้าตามทัน ออกจากโรงมาไม่ค่อยมีคำถามให้คบคิดมากนัก
  • จุดขายเรื่องนี้ อย่าได้หวังเนื้อเรื่องที่หม่นมากมายระดับโนแลน หรือสืบสวนมาก เค้ามาดูหุ่นตีกับสัตว์ประหลาด! ซึ่งจุดขายที่ชัดเจนและผมมองว่าเค้าขายคนอยากเห็นฉากหุ่นตีกับสัตว์ประหลาดอย่างชัดเจน และผมเชื่อว่าความฝันที่อยากเห็นการตีกันแบบจัดเต็มในแบบที่ใช้เอฟเฟคระดับ Holywood ที่ไม่ใช่การ์ตูนนั้นเป็นจริงแล้ว และส่วนตัวมองว่าทำออกมาได้ดีมากเสียด้วย คอหนังหุ่นเหล็กและสัตว์ประหลาดแนวญี่ปุ่นคงชอบกัน ฝั่งญี่ปุ่นฝั่งนั้นเห็นว่าบ้ากันมาก คงเป็นฝันระดับชาติของเค้าจริงๆ (ก็นะนางเอกนี่ก็คนญี่ปุ่นเลยทีเดียว)
  • ย้ำอีกครั้ง ความฝันที่อยากเห็นหุ่นมาตีกับก็อตซิลล่า มันเป็นจริงแล้ว!!!
  • งานออกแบบต่างๆ เจ๋งมาก ทำให้รู้สึกว่าหุ่นเวลาสร้างในโลกความเป็นจริงมันจะประมาณนี้แหละ หุ่นพังได้ น๊อตหลุดเป็น มีขีดจำกัดมากกว่าสัตว์ประหลาดเยอะ
  • คู่พระ-นางของเรื่องชวนให้ฟินกันเป็นระยะ ส่วนตัวเข้าคู่กันดี

แนะนำให้ไปดูกันครับ มันมาก

คะแนน 9.5/10 (ให้มั่วมาก ไม่มีเหตุผลอะไร ความฟินส่วนตัว)