Review – Lenovo IdeaPad Y570

การ review รอบนี้อาจจะแปลกสักหน่อยที่ไม่ได้ review ตัว ThinkPad แต่ก็อยากจะลองในอีกสายนึงของ Lenovo คือฝั่ง IdeaPad บ้าง โดยส่วนตัวแล้วนั้นได้รับเครื่องนี้มา review มาใช้อยู่ประมาณเกือบๆ 2 อาทิตย์ พร้อมๆ กันถึง 2 รุ่น คือ Lenovo IdeaPad Y570 (59301113) กับ Lenovo IdeaPad Y470 (59067781) ส่วนตัวแล้วก็มานั่งสลับใช้งานไปพร้อมๆ กันทั้ง 2 เครื่อง

สัมผัสแรกก่อนเลยคือ กล่องบรรจุของ Y570 นั้นใหญ่และหนักใช้ได้เลย (ต่อไปจะเรียก Lenovo IdeaPad Y570 ย่อๆ ว่า Y570 เฉยๆ เพื่อความสั้นกระชับ) ซึ่งแน่นอนว่าจากที่ได้รับมานั้นก็ได้ศึกษาสเปคมาพอสมควรแล้วว่าเป็นรุ่นหน้าจอขนาด 15.6” มีน้ำหนักอยู่ในระดับเกือบๆ 3 กิโลกรัม (รวม adapter มันก็ประมาณนี้แล้ว)

DSC_6944

DSC_6957

เครื่องที่ได้รับมานั้นได้ใส่ CPU Intel Core i7-2630QM ที่ความเร็ว 2.0 GHz มี 6MB L3 Cache ถ้าใช้ Turbo Boost จะทำให้ความเร็วพุ่งสูงขึ้นไปที่ 2.90 GHz เลยทีเดียว เหมาะกับเอามาตัดต่อวิดีโอ แต่งรูป หรือเล่นเกมได้สบายๆ

Read more

แนวทางการ Backup ข้อมูล (ฉบับปรับใหม่)

จาก แนวทางการ Backup ข้อมูล รอบนี้ปรับใหม่ เนื่องจากว่าได้ HDD 2TB ตัวใหม่มา ประกอบกับ Notebook ตัวใหม่ มันไม่มี port Firewire 400 มามีแต่ eSATA มาให้เลยต้องปรับใหม่เน้นใช้งานจริงเป็นหลัก

HDD 1TB ตัวประกอบเองด้วย Enclosure Smart Drive เป็นตัว Backup Data จาก Drive D:, G:, H: และ K: ในส่วนที่จำเป็นทั้งหมดมาใส่ที่ I: ส่วนของตัวทำงานอีกตัวคือ E: นั้นจะถูก Mirror Backup/Work ผ่าน H: ที่ทำงานบน eSATA อีกทีนึงเผื่อโยนงานไปเครื่องอื่นก็แค่เอาสาย eSATA ไปเสียบทำงานได้เลย

ส่วนไฟล์ทำงานบน Notebook อยู่ที่ Drive D: ถูกส่งเข้า I: เช่นกัน

จะเห็นว่า Drive I: รับบทหนักในเรื่องนี้ แต่เป็นการกระจายความเสี่ยงว่าถ้าไอ้ตัวนี้พัง ก็คือพังตัวเดียวเดียวแล้วจบไป ตัวอื่นพังก็มาเอาที่ตัวนี้ได้อยู่เช่นกัน อะไรแบบนั้น อนาคตคิดว่าจะทำ RAID 1 สำหรับ Drive I : ด้วย

สำหรับ Contents อื่นๆ ใน K: มีหลายส่วนไม่ได้ Backup จริงจัง เช่นพวก Software, MV ต่างๆ และไฟล์หนังที่ Rip ไว้ดู (ไม่อยากให้แผ่นแท้ที่ซื้อเป็นรอย) ก็เลยต้องใส่ในี้แทน กำลังมีแผนกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกันอาจจะใช้ NAS แทน (เงิน!!!!)

ตอนนี้มุมมองตัว Media สำหรับ Backup คือเน้นรวม ศ. เพื่อการค้นหาและเรียกคืนที่ง่ายมากขึ้น และกระจายข้อมูลที่ใช้ไปหลายๆ แหล่งแทน

สรุปง่ายคือๆคือ

[E:] –> [H:]

[D:|G:|H:|K:] –> [I:]

การ Sync ข้อมูลต่างๆ ใช้การ Sync ด้วย SyncToy ทั้งหมด

สำหรับ Backup จาก Notebokk เข้า HDD Backup ใช้ Incrementals Chain Version บน Acronis True Image Home 2011

สำหรับ Versioning ใช้ OS จัดการแทน เสียพื้นที่ 5-8% ของพื้นที่ทั้งหมดของแต่ละ partition เพื่อทำ Versioning บน File System อีกเช่นเคย

2011-07-27_222947

ฝากไว้อีกครั้งครับ

Backup พันวัน เอาไว้ใช้วันสำคัญวันเดียว … วันที่ข้อมูลมีปัญหา!!!

ความสำเร็จของการงานบางอย่างเรียกร้องความโดดเดี่ยว ถนนบางสายจำเป็นต้องเดินเพียงลำพัง

เป็นบทความที่ผมเคยโพสใน Multiply แต่ไม่ได้นำมาไว้ใน Blog ตัวเอง แต่ผมขอนำมาบางส่วน ถ้าอยากอ่านเต็มๆ ก็แนะนำให้อ่านที่ต้นฉบับได้เลย

ยุทธนา อัจฉริยวิญญู ช่างภาพไทยในสนาม National Geographic
เรื่องและภาพ วรพจน์ พันธุ์พงศ์
– ตีพิมพ์ครั้งแรก: นิตยสาร Image
– เผนแพร่บนเว็บที่ onopen (http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/591) เมื่อ 22/05/2006 เวลา 11:26

ส่วนที่จับใจผมที่สุดคงเป็นตอนท้ายของเรื่อง เลยนำมาแบ่งปันกัน

“อะไรที่ทำให้งานของฝรั่งเจ๋ง”

ทุกเรื่อง ว่ากันตั้งแต่พื้นฐาน การเงิน ความเข้มแข็ง หัวใจ ความมุ่งมั่น ปัญหาครอบครัวไม่มี เมียเลิกหมด (หัวเราะ) บางคนพาเมียไปด้วย บางคนต้องเลิก นี่เรื่องจริง เพราะต้องเสี่ยงตาย และส่วนใหญ่พวกนี้บ้างานมากเกินไป มันอยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่มีผู้หญิงที่ไหนเข้าใจหรอก

เรื่องที่เต้นเร่าอยู่ในหัวใจ หรือความท้าทาย ณ วันนี้ของช่างภาพหนึ่งเดียวของ National Geographic ประเทศไทย คือการลงไปบันทึกภาพเหตุการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้ เขากำลังรอโอกาสนั้นอย่างใจจดใจจ่อ

ถามว่ากลัวไหม ก็กลัว ใครบ้างจะไม่กลัว ทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีคนรัก มีความผูกพัน แต่เขาคิดว่ามันจำเป็น ถ้ามีโอกาสก็ต้องทำ

“สัญชาตญาณบอกเองว่าเป็นหน้าที่ของเรา ผมว่ามันน่าอายนะครับสำหรับคนที่พูดว่าตัวเองเป็นสื่อ หรือเป็นช่างภาพ แต่ไม่มีสัญชาตญาณ” เขาจอดรถให้ดูกวางข้างทาง

“ผมไม่ใช่ช่างภาพสารคดี ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น ผมเป็นช่างภาพ ถ่ายดอกไม้ ถ่ายคน ถ่ายอะไรก็ได้ทั้งนั้น” ยุทธนา อัจฉริยวิญญู บอกผม ก่อนเปิดประตูรถเดินลงไปมองเทือกทิวเขา

นับวันช่างภาพหนุ่มคงเดินออกจากห้องแอร์มากขึ้นอย่างที่ใครเขาว่าจริงๆ ยิ่งก้าว ก็ยิ่งไกล

ไกลห้องแอร์ แต่ใกล้ความฝัน—ความฝันอันเกิดจากความสุขจากการทำงานหนัก

ผมนึกถึงคำของเขาเรื่องทำงานคนเดียว ยิ่งสังคมมากเท่าไร โอกาสถ่ายภาพก็ยิ่งลดน้อยลง และนั่นคงไม่ต้องพูดถึงชิ้นงานที่สมบูรณ์ น่าพึงพอใจ

อาจจะใช่, ความสำเร็จของการงานบางอย่างเรียกร้องความโดดเดี่ยว ถนนบางสายจำเป็นต้องเดินเพียงลำพัง คิดค้น ต่อสู้ ด้วยตัวคนเดียว

คนเดียวที่ไม่ใช่ไม่มีใครอยากข้องเกี่ยว และยิ่งไม่ใช่ ‘คนเดียว’ ในความหมายที่ไม่มี ‘คนรัก’

ความคิดเห็นต่อ “Google+เป็นภัยต่อช่างภาพ!?”

จากข่าว “Google+เป็นภัยต่อช่างภาพ!?

ท่ามกลางข่าวสารคึกคักเกี่ยวกับเสียงตอบรับถล่มทลายจากชาวออนไลน์ทั่วโลก ล่าสุดสื่อนอกเตือนภัยการโพสต์ภาพบนเครือข่ายสังคมใหม่ล่าสุดของกูเกิล กูเกิลพลัส (Google+) ว่าจะเป็นภัยต่อช่างภาพมืออาชีพเนื่องจากเง…

มันก็ตั้งแต่โลกมี Digital Data ที่ Copy ได้โดยที่ต้นฉบับยังคงอยู่ครับ ผมมองว่า Google+ คือ Flickr หรือเว็บแชร์รูปทั่วไป ที่มีข้อกำหนดเพื่อปกป้องตัวเองจากการทำ Copyright เป็นหลัก ซึ่ง Facebook, Flickr, Multiply หรือเว็บอื่นๆ ก็มีระบบ Share หรือ Embed รูปก็มีข้อกำหนดที่ไม่แตกต่างกันทั้งนั้น เพียงแต่ Google+ ทำให้มันง่ายขึ้นแบบเดียวกับ Facebook นั้นแหละ

ถ้ามองในความเป็นจริงสิทธิ์ในตัวรูปภาพยังอยู่กับคนเป็นเจ้าของ การเอารูปไปใส่ใน Social Network ใดๆ เป็นการยอมรับการแจกจ่ายด้วยตัว Function หลักของมัน แต่เมื่อใดที่คนใน Social Network นั้นๆ ทำการสำเนา (Save As to …) ออกมาโดยไม่ใช่ Function Share แล้วเผยแพร่ไปที่เว็บอื่นๆ หรือสื่ออื่นๆ นั้นแหละถือว่าละเมิดแล้ว

ประกอบกับด้วยความที่มันเป็น Cloud Storage มันจึงถูกทำให้เกิดข้อกำหนดนี้แบบเดียวกับ Dropbox ฯลฯ บริการอื่นๆ ที่มันสามารถ Public ออกไปด้วย เพราะตัวรูปแบบของ Cloud นั้นจะมีการทำสำเนา หรือวิธีจัดเก็บที่อาจจะต้องปรับปรุงหรือสำเนาต้นฉบับไปหลายๆ ที่เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง เช่นย่อรูป, ทำให้คุณภาพรูปลดลงเพื่อจำกัดพื้นที่ หรือนำไฟล์ไปกระจายตามเครื่องแม่ข่ายต่างๆ ทั่วโลก

ซึ่งจริงๆ มันเป็นเรื่องของข้อกำหนดของกฎหมายที่ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคนิคภายในที่คนทั่วไปไม่รู้ ถ้าเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์จริงๆ จะทราบว่าสิขสิทธิ์ของรูปภาพขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของนั้นๆ ซึ่งมันมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะเกินกว่าแค่การทำสำเนารูปไปมาแล้วจบ ซึ่งมันก็อ้างอิงถึงเรื่องผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นหลัก

เมื่อ Nikon D90 vs Nikon D5100 ในระดับราคาที่ใกล้กัน ณ.ตอนนี้ (4/7/2011)

ณ.ตอนนี้ Nikon D90 (Body) ราคา 28,900 บาท ส่วน Nikon D5100 (Body) ราคา 22,900 บาท แน่นอนว่าราคา Nikon D90 ไม่ได้สะท้อนราคาจริงๆ เพราะถูกดันให้ราคาตกไปกว่านี้ไม่ได้แล้วสำหรับประกันศูนย์ไทย (ราคาเครื่องหิ้วถูกลงมาในระดับ Nikon D5100) ไม่งั้นมันไปทับกับราคา Nikon D5100 และทิ้งช่วงให้ห่างจาก Nikon D7000 ที่ราคาลงมาอยู่ที่ 37,900 บาท ซึ่งเป็นราคาเกือบเท่ากับช่วงเปิดตัวของ Nikon D90 เมื่อ 3 ปีก่อน (ก็บอกแล้วว่ามันตัวแทน Nikon D90)

เทียบกันตามอายุ Nikon D90 เปิดตัวเดือน 8 ปี 2008 ในระดับกล้อง Advanced Consumer (ระดับเดียวกับ Nikon D7000 ในปัจจุบัน) ส่วน Nikon D5100 เปิดตัวเดือน 4 ปี 2011 ในระดับ Mid-range Consumer และเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งสองตัวก็ได้มาบรรจบกัน Nikon D90 ในตอนนี้เป็นกล้องที่ได้ชื่อว่าค้างสต็อก!!! ซึ่งตกรุ่นและเลิกผลิตไปแล้ว แต่ยังมีพอให้หาซื้อได้อยู่บ้างในระดับราคาที่น่าสนใจ

ด้วยคุณสมบัติและเทคโนโลยีแล้วนั้นในด้านของการให้คุณภาพของไฟล์รูปภาพแล้วตัวที่ใหม่กว่าย่อมสดและดีกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในมุมของคนทำงานจริงจังแล้วอาจมองในอีกมุมนึงที่แตกต่าง

ส่วนตัวแล้วนั้นรับงานถ่ายภาพที่เน้นความรวดเร็วพวกงานพิธีการ งานอีเว้นต่างๆ ช็อตต่างๆ ถือว่าสำคัญ ซึ่งตรงนนี้เน้นความสามารถในการปรับแต่งที่รวดเร็วเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการควบคุมตัวกล้องเพื่อให้ได้รูปจึงสำคัญไม่แพ้คุณภาพรูปที่ได้มา

แต่ถ้าใช้ถ่ายแนวชิลๆ เรื่อยๆ บังคับและควบคุมแบบได้ก็จะไม่ใช่สิ่งที่ผิดนัก

สำหรับคนที่จริงจังเพื่อใช้ในการทำงานต่างๆ ผมแนะนำให้เลือก  Nikon D90 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • การจับถือที่กระชับกว่า เพราะขนาดกล้องที่ใหญ่กว่า (เหมาะกับผู้ชาย) โดยมีดีไซน์รองรับการใช้งานร่วมกับ Grip เต็มระบบ  ถ่ายแนวตั้งจะได้ไม่ต้องปวดข้อมูล
  • การควบคุมที่โอเคกว่าเพราะมีจอ LCD ขนาดเล็กอยู่ด้านบนขวาและในช่อง view finder ที่บอกค่าต่างๆ โดยไม่ต้องมาดูที่ LCD หลังกล้อง
  • การเข้าถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ที่รวดเร็วด้วย My Menu และปุ่มกดต่างๆ ที่เยอะทำให้จัดการได้ดีกว่า
  • รองรับเลนส์ AF ถ้าคุณรับงานแน่นอนผมมองว่าคุณต้องมีเลนส์เก่าๆ อยู่บ้าง หรืออาจจะอาศัยเลนส์เก่าคุณภาพดีราคาไม่แพงที่มีอยู่ในท้องตลาดเยอะมาก ซึ่งก็เพราะตัว AF ใช้ screw drive motor ภายในกล้อง ซึ่งราคาเลนส์ AF ราคาถูกมีเยอะมาก ทั้งในตลาดมือหนึ่งและมือสอง
  • คุณภาพของไฟล์ที่ได้ไม่ได้ด้อยจนลูกค้าต่อว่า หรือนำมาใช้งานแล้วรู้สึกหงุดหงิด มันดีมาก ดีเกินพอสำหรับคนใช้งานทั่วไปเสียด้วยซ้ำ และแน่ๆ ส่วนตัวแล้วในระดับรับงานในปัจจุบันไม่เคยมีลูกค้าบ่นว่าไฟล์ภาพไม่ดี ฯลฯ บางครั้งมันอยู่ที่คนถ่ายด้วยเช่นกัน
  • แฟลชหัวกล้องยังทำ CLS ควบคุมแฟลชนอกได้เต็มระบบ

สิ่งที่ Nikon D5100 ดีกว่า  D90

  • คุณภาพไฟล์รูปที่ดีกว่า เพราะ CMOS และ Image Processsor (Expeed 2) ที่ใหม่กว่า ทำให้ดัน ISO ได้สูงกว่า
  • จอพับได้
  • ขนาดเล็กเบา (เหมาะกับผู้หญิง)

ในมุมคนใช้งานจริงจังที่เน้นการได้ภาพโดยต้องแข่งกับชาวบ้านเค้าเป็นหลัก จะมองในมุมให้ซื้อ Nikon D90

แต่ถ้าในมุมของคนที่ใช้งานทั่วๆ ไป เน้นเรื่อยๆ ผมแนะนำให้มอง Nikon D5100 ไป เพราะคุณคงไม่ได้เอากล้องไปถ่ายแข่งความเร็วในการได้ภาพกับใครครับ