อะไรคือโปรแกรม และการเขียนโปรแกรม ตอนที่ 1

            ทุกคนที่อ่านบทความนี้ คงทราบและเข้าใจความหมายของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กันดีอยู่แล้ว แต่ว่าเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผมจะขอสรุปไว้ตรงนี้สักเล็กน้อย โปรแกรมคือสิ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ และเวลาที่เราใช้คอมพิวเตอร์นั้น อันที่จริงแล้วสิ่งที่เราใช้ก็คือโปรแกรม โดยโปรแกรมจะเป็นตัวรับคำสั่งจากเราซึ่งเป็นผู้ใช้ เพื่อไปสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือทำงานจริงๆ อีกทีหนึ่ง หรือว่าบางที่โปรแกรมอาจจะไม่ได้รับคำสั่งจากผู้ใช้โดยตรง แต่ว่ารับข้อมูลจากโปรแกรมตัวอื่นๆ โปรแกรมบางตัวอาจจะมีลักษณะเหมือนกับตัวกลาง ที่เป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูลจากโปรแกรมหลายๆ ตัว โปรแกรมบางตัวอาจจะคอนดูแลฮาร์ดแวร์บางอย่าง ฯลฯ


            จะเห็นได้ว่าโปรแกรมนั้นมีด้วยกันมากมายหลากลักษณะ ประโยชน์งานต่างๆ กันไปตามแต่ประเภท แต่ว่าทั้งนี้ ในการที่จะสร้างโปรแกรมขึ้นมาซักตัวนั้น เราต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง? เราต้องทำยังไงบ้าง? นี่คือสิ่งที่เราได้เห้นกันในบทความต่อๆ ไป

            เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า การเขียนโปรแกรม หรือ การพัฒนาโปรแกรม มาบ้าง ซึ่งทั้งมองอย่างแล้ว โดยหลักการก็คือ การสร้างโปรแกรมขึ้นมาสักตัว เพื่อจุดประสงค์การใช้งานอย่าง ตามที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการ แต่ว่าทั้งนี้ การเขียนโปรแกรม ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะลงมือเขียนได้เลย หรือว่ามีความคิดว่าอยากเขียนโปรแกรมเพื่องานแบบนั้นแบบนี้ แล้วจะลงมือเขียนได้เลย มันมีอะไรในการเขียนโปรแกรม มากกว่าการลงมือเขียนโปรแกรมจริงๆ มากมายนัก ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบง่ายๆ ในส่วนถัดไป


ว่าด้วย การเขียนโปรแกรม

            อย่างที่กล่าวไปแล้วเมื่อครู่ การเขียน/พัฒนาโปรแกรม ก็คือการ "สร้าง" โปรแกรมขึ้นมาตามความต้องการของเรา ซึ่งเริ่มต้นมาจากความต้องการ หรือจินตนาการ ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร แต่ว่าเพียงเท่านั้น เพียงพอหรือไม่? เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราลองมามองการสร้างโปรแกรม ในเชิงเปรียบเทียบกับสิ่งที่ค้อนข้างเป็นเรื่องทั่วไป และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกันดูครับ



มองซ้าย มองแบบคนเรียนวิทย์ – การสร้างสิ่งของ/สิ่งก่อสร้าง

            ก่อนอื่นเราลองมามองอย่างคนเรียนสาบวิทย์กันก่อน นั้นคือ ลองมองการเขียนโปรแกรมให้เป็นเหมือนกับการสร้างอะไรซักอย่าง เช่นตึกรามบ้านช่อง ศูนย์การค้า รถยนต์ ฯลฯ โดยในที่นี้ ขอยกตัวอย่างการสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก

            การสร้างสิ่งก่อนสร้างเหล่านี้ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ อยากจะสร้าง ก็สามารถสร้างได้ทันที หากแต่ว่าต้องให้สถาปนิกทำการออกแบบ และแก้แบบกันเป็นปีๆ เพื่อให้แบบที่ออกมาตรงตามความต้องการ ได้ประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ฯลฯ มากที่สุด และเมื่อทำการออกแบบเรียนร้อยแล้ว ก็ใช่ว่าจะลงมือทำได้ตามแบบนั้นเลย เพราะว่ายังต้องเอาไปใช้วิศวกร ทำการเขียนพิมพ์เขียว คำนวณสิ่งต่างๆ ค่าของแรงต่างๆ กำหนดชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้สิ่งก่อสร้างมีความแข็งแรง คงทน ต่อเติมเพิ่มแต่งได้ในอนาคตเมื่อต้องการ และมื่อสร้างเสร็ตเป็นรูปร่างแล้ว ยังอาจจะต้องให้นักตกแต่งภายใน ทำการออกแบบต่างๆ อีกรอบ เพื่อประโยชน์ใช้สอยภายใน รูปลักษณ์ ฯลฯ ถ้าสิ่งก่อสร้างของเราเป็นบ้านหลังเล็กๆ กระบวยการที่ว่านี้ก็จะกินเวลาไม่มากเท่าไหร่ หรือว่าในปัจจุบันก็มีบ้านกึ่งสำเร็จรูป ที่เมื่อเลือกแบบบ้านแล้วก็เกือบจะปลูกสร้างได้เลย และใช้คนที่ก่อสร้างไม่มากนัก แต่ว่าถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ขึ้นมาระดับอพาทเม้นท์ กระบวนการดังกล่าวก็กินเวลามากขึ้น และใช้คนในการก่อสร้างมากขึ้น ถ้าเป็นตึกระฟ้า ก็ยิ่งนานขึ้นและใช้คนมากขึ้นตามลำดับ และไม่ว่าคนที่ทำการก่อสร้างจะเก่งขนาดไหน ถ้าแบบที่เขียนไว้ตั้งแต่ตอนแรกไม่ดี หรือว่าผิดพลาด ก็ยากที่จะสร้างให้ดีได้ หรือว่าในกรณีที่แบบตอนแรก เขียนไว้ในลักษณะไม่เผื่อการต่อเติมหรือแก้ไขในอนาคต การต่อเติมหรือแก้ไขนั้นๆ ก็จะทำได้ยาก

            และที่น่าสนใจก้คือ การออกแบบและความรู้ที่เราใช้ในการสร้างอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่สามารถใช้กับการออกแบบ และการสร้างสิ่งอื่นๆ ได้เสมอไป เช่น ถ้าเราต้องการสร้างสิ่งก่อสราง เราต้องการความรู้ทางวิศวโยธา แต่ว่าถ้าเราต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้า เราก็ต้องการความรู้ของทางวิศวกรรมไฟฟ้า ถ้าเป็นเครื่องบิน ก็วิศวกรรมการบิน ตลอดจน Aerodynamices ต่างๆ มากมาย นั้นก็คือ เราต้องการความรู้พื้นฐานในสิ่งที่เราต้องการสร้าง นั่นเอง และสิ่งที่พูดถึงไปนั้น ก็ยังคงสามารถนำมากล่าวได้เสมอ นั้นคือ การสรางเครื่องบินโบอิ้ง 747 นั้นใช้เวลาในการออกแบบและวิศวกรรม ตลอดจนใช้คนในการก่อสร้างมากกว่าเครื่องบินของเล่นต่างๆ

            การมองแบบนี้ทำให้เราเข้าใจการสร้างโปรแกรมขึ้นได้อย่างไร? อดใจสักนิด เรามาลองมองอีกด้านนึง ซึ่งต่างจากแนวคิดข้างต้นกันดูดีกว่า


มองขวา มองแบบคนเรียนศิลป์ – การเขียนนิยาย

            เมื่อตอนต้นเรามองการเขียนโปรแกรม ในเชิงการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไปแล้ว ตอนนี้เราลองมามองอีกมุมหนึ่ง โดยมองการ เขียนโปรแกรม เหมือนกับการ เขียนนิยาย กันบ้าง

            การเขียนนิยายชักเรื่องนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่ว่าแค่เราอยากเขียน ก็สามารถเขียนได้ ไม่ว่าคนที่เขียนจะมีพรสรรค์เท่าไหร่ ก็ยังจำเป้นต้องวางโครงเรื่องคร่าวๆ กำหนดตัวละครต่างๆ สถานที่ต่างๆ อย่างคร่าวๆ กำหนดสิ่งที่อยากจะสื่อ ว่าเรื่องนี้ควรจะเป็นไปในแนวไหน มีเนื้อหาแบบไหน เนื้อเรื่องจะพลิกไปในทางใด ฯลฯ นิยายยิ่งยาวเท่าไหร่ การวางโครงเรื่องให้เหมาะสมในทุกส่วนยิ่งมีส่วนสำคัญมากเท่านั้น ไม่งั้นเราจะเจอสิ่งที่พบได้ง่ายๆ ในละครทีวิเมืองไทย นั้นคือการ ยืดเรื่อง เมื่อละครได้รับความนิยม และทำให้ละครเรื่องนั้นน่าเบื่อ ไม่น่าคิดตาม สาเหตุก็เนื่องมาจากเนื้อเรื่องเดิม ไม่ได้รับการวางไว้ให้สามารถต่อเติมในจุดนั้นๆ ได้ง่ายๆ ทำให้การต่อเริม เพื่อยืดเรื่อง ไม่สามารถทำได้ดีและน่าสนใจ แต่ว่าถ้าเราต้องการเขียนเรื่องสั้น การเขียนโครงเรื่องต่างๆ ก้จะลดน้อยลงไปตามอัตราส่วน

            นอกจากนี้ ความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เราต้องการเขียน ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่น้อย เช่นนิยาย/ภาพยนต์เกี่ยวกับอวกาศและเทคโนโลยีชื่อดังเรื่อง 2001: Space Odyssey นั้นใช้ความรู้เกี่ยวกับอวกาศตลอดจนฟิสิกส์ค่อนข้างมาก รวมถึงจินตนการในการสื่อออกมาและการคาดการณ์อนาคตจากพื้นฐานของอะไรหลายๆ อย่างด้วย ในขณะที่นิยายของ Tom Clancy นั้นมักจะมีเรื่องของแผนการต่างๆ และเงื่อนงำต่างๆ ทางทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแน่นอนต้องหาข้อมูลกันมาอย่างดี และผู้เรื่องราวกันอย่างดี

            แต่ว่าทั้งนี้และทั้งนั้น ใช่ว่าเรื่อราวทุกเรื่องที่เราอยากจะแต่ง จะต้องยาวระดับนิยายหรือภาพยนต์แต่อย่างใด เราอาจจะต้องการแต่แค่การ์ตูนสั้นๆ สามช่องจบเหมือนกับขายหัวเราะ เราก็ต้องวางเนื้อหาและสิ่งที่ต้องการสื่อเช่นกัน

            เอาล่ะครับ ได้เวลากลับมามองดูสิ่งที่เป็นหัวใจของบทความนี้ นั้นคือการเขียนโปรแกรมกันต่อ ลองมาดูกันว่าการที่เรามองทั้งสองด้านนี้แล้ว เอามาเชื่อมโยงกับการเขียนโปรแกรมอย่างไร ในตอนหน้าครับ ……

เรียบเรียงบทความโดย Rawitat Pulam
บทความฉบับนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ GNU Free Documentation License 1.2. เท่านั้น

Computer Science != Programming and Programmer

Found this on Lambda the Ultimate weblog entry, about what George E. Forsythe (founder of Stanford’s Computer Science Department) thought about Computer Science. This is originally written in Stanford technical report, number 26. Quote here:

“I consider computer science to be the art and science of exploiting automatic digital computers, and of creating the technology necessary to understand their use. It deals with such related problems as the design of better machines using known components, the design and implementation of adequate software systems for communication between man and machine, and the design and analysis of methods of representing information by abstract symbols and of processes for manipulating these symbols. Computer science must also concern itself with such theoretical subjects supporting this technology as information theory, the logic of the finitely constructable, numerical mathematical analysis, and the psychology of problem solving. Naturally, these theoretical subjects are shared by computer science with such disciplines as philosophy, mathematics, and psychology.”

พบข้อความนี้จาก Lambda the Ultimate weblog ซึ่ง George E. Forsythe คือผู้ก่อตั้ง ภาควิชา Computer Science ที่มหาวิทยาลัย Stanford ได้กล่าวเกี่ยวกับ Computer Science ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งนี่คือข้อความที่เขียนไว้ใน Stanford technical report หมายเบข 26 มีข้อความว่า

“ฉันคิดว่า Computer Science เป็น ศิลป์ และ ศาสตร์ ของการทำงานของเครื่องดิจิตัลคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ และเป็นการสร้างสรรค์เทคโนโลยี เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่เราจะใช้มัน มันเป็นการนำปัญหาต่างๆ มาออกแบบเพื่อให้เครื่องทำงานได้ดีกว่าเดิมเพื่อรู้จักส่วนประกอบต่างๆ การออกแบบผลของสำหรับระบบซอฟต์แวร์ที่เพียงพอต่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์ กับเครื่องจักร และเป็นการออกแบบ และวิเคราะห์ขั้นตอนของข้อมูลที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่อุปมาณขึ้นมา ด้วยสัญลักษณ์ที่ก่อกำหนดขึ้นจากผลของก ารประมวลผลของข้อมูลที่จับต้องได้ทางสัฐลักษณ์ Computer Science น่าจะเหมือนกับการนำหัวของทฤษฎีที่สนับสนุนเทคโนโลยีต่างๆ เหมือนกับทฤษฎีสารสนเทศ, ตรรกะของขอบเขตข้อมูล ,ระบบจำนวนตัวเลขในการวิเคาะห์ทางคณิตศาสตร์ และปรัญญาด้านการแก้ปัญหาต่างๆ โดยตัวของมันเองแล้ว Computer Science คือหัวข้อของทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของการเชื่อมโยงกันโดยหลักของปรัญญา, คณิตศาสตร์ และจิตศาสตร์”

จะเห็นได้ว่า concept ของ Computer Science มิได้สร้างมาเพื่อเป็น Programmer แต่ประการใด แต่เป็นการ “ศึกษาขั้นตอนการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และออกแบบการแก้ปัญหาโดยใช้หลักของปรัญญา, คณิตศาสตร์ และจิตศาสตร์ ในการแก้ปัญหาต่างๆ”

ผู้แปลเป็นภาษาไทย Ford AntiTrust
ผู้นำเสนอถึงผู้แปล Rawitat Pulam @ Tsukuba University in Japan

REF :http://rawitatpulam.blogspot.com

ปล. ไม่รู้ว่าแปลตรงความหมายมากแค่ไหนนะครับ พอดีว่าฝึกแปล ……. :P

ลักษณะการทำงานเป็นทีม

คำถาม ทีมเราได้ทำการไปแข่งคอมพิวเตอร์ สมาชิกในทีมมี 3 คน … แต่ computer เครื่องเดียว .. โดยให้เวลา 5 ชั่วโมง ซึ่งมีปัญหาอยู่ 8 ข้อ ควรจะทำยังไงดี?

ส่วนใหญ่จะคิดว่า

1) แบ่งกันทำคนละข้อ หรือไม่ก็ 2) สุมหัวกันคิดให้หมดทุกข้อ

ซึ่งทั้งสองแบบมันไม่ใช่การทำงานเป็นทีม และถ้าจะทำได้นั้นคนในทีมจะต้องมีพวกอัจฉริยะอยู่ด้วย

ซึ่งมันไม่มีจริงหรอก เอางี้นะ ปกติเรามีสามคนใช่มั้ย? เราทำแบบนี้

1) คนที่มองปัญหาเก่งที่สุด รู้ algorithm มากที่สุด แม่น data structure มากที่สุด จะเป็นคนนั่งอ่านปัญหา วิเคราะห์ปัญหา … จากนั้นเมื่อได้แล้ว จะเรียกคนที่สอง มาทำงานต่อ

2) คนที่สอง ก็คือ คนที่แม่น library ที่สุด แม่น feature ต่างๆ ใน programming language ที่ใช้ที่สุด เมื่อฟังจากคนแรก แล้วก็จะนั่ง implement idea, algorithm, data นั้นลง และเนื่องจากมี com เครื่องเดียว ดังนั้นการ debug จึงต้องทำ “นอกจอ” เพื่อไม่ให้เสียเวลา

3) คนที่สาม คือ debugger ที่จะเอามาจากการ printout และมาทำการ core dump เพื่อมานั่งวิเคราะห์

ซึ่งถ้า “แบ่งๆ กัน -> สุดท้ายนะ มันแก้ได้แต่ข้อง่ายๆ พอข้อยากๆ จะตายหมด เพราะว่า บางคน คิดออก แต่ว่าไม่รู้ feature ของภาษาที่ใช้มากพอ พอเอามา debug ก็ ช่วยกันไม่ได้ เพราะว่าแต่ละคนเขียนต่างกัน”

หรืออย่าง “สุมหัวกันทำ -> ทะเลาะกันก่อนจะได้ลงมือเขียน แย่ง keyboard กัน แล้วมาทะเลาะกันตอน debug ฯลฯ มันไม่ใช่ team work”

มันแค่ทำงาน “ด้วยกัน” ไม่ใช่ทำงาน “ร่วมกัน”

ตัวอย่าง

นาย A จะอ่านปัญหา ทำการวิเคราะห์ และจะมาอธิบายให้ นาย B ฟัง และนาย C จะฟังด้วย เพื่อให้รับรู้ algorithm

จากนั้น นาย B จะไปพิมพ์ implement ให้เร็วที่สุด ให้ได้ working program ที่คิดว่าเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพราะว่าในตอนนี้ นาย B เป็นคนเดียวที่จำ standard c++ ได้มากที่สุด ใช้ stl ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องเปิดอะไรเลย

นาย C จะมานั่งดูด้วย เพื่อให้เห็นวิธีที่นาย B เขียนอะไรบ้าง จากนั้น compile, run test .. แน่นอนว่าไม่ work ก็จะจะทำการ print เอา source code และ memory core dump จาก printer ส่วนกลางออกมา

นาย C จะมานั่ง debug ไล่ core จากนั้น นาย B ก็จะไปฟังการวิเคราะห์ปัญหาข้อใหม่จาก นาย A ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างอิสระ ไม่ต้องยุ่งกับเรื่อง implementation และอาจจะช่วย debug บ้างนิดหน่อย

นาย B ไม่ต้องคิดมากเรื่องการแก้ปัญหา หรือว่า debug เท่าไหร่

นาย C ไม่ต้องคิดแก้โจทย์ แต่ว่าต้องแก้ปัญหาในโปรแกรมที่ นาย B เขียน

แบบนี้สิ คือการทำงานเป็นทีม

ซึ่งการแบ่งโจทย์ไปคิดคนละข้อ หรือการสุ่มหัวกันคิด –> นี่เค้าเรียกการแบ่งหน้าที่ด้วยเหรอ จริงไหม

ดังนั้น … “แบ่งโจทย์ไปคิดคนละข้อ หรือการสุ่มหัวกันคิด ..” มันไม่ใช่ “แบ่งหน้าที่”

หน้าที่ของ programmer คืออะไร
1) วิเคราะห์ปัญหา
2) เขียนโปรแกรม
3) แก้โปรแกรม

…….. มันควรจะเป็นแบบนี้

อยากจะเขียนโปรแกรม ควรจะศึกษาโปรแกรมอะไรก่อน ?

คำถาม … อยากจะเขียนโปรแกรม ควรจะศึกษาโปรแกรมอะไรก่อนครับ
ไม่รู้จะไปปรึกษาใครแล้วนะครับ พอดีอยากจะเรียนเขียนโปรแกรม แต่เห็นมีโปรแกรมเยอะมากๆเลย ไม่รู้ว่าโปรแกรมอะไรทำหน้าที่อะไรบ้าง

พี่ๆที่พอจะช่วยผมได้ ช่วยผมทีนะครับ อยากจะศึกษา แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี

ขอบพระคุณมากครับ

ขอบคุณจากใจจริงครับ

จากคุณ : NismoO -[ 22 พ.ย. 47 – 01:25:56 ]

กระทู้จาก Pantip.com ครับ http://www.pantip.com/tech/coffee/topic/JX1662452/JX1662452.html

พอดีว่า พี่เดฟ (ithilien_rp) มาตอบให้ …. เลือกภาษาซักตัว อะไรก็ได้ แล้วก็หา compiler ของภาษานั้นๆ แล้วก็มาหัดเขียนโปรแกรมง่ายๆ พวกรับ input แสดง output คิดเลขง่ายๆ แล้วก็หัดใช้พวก loop

compiler หลายตัวก็ฟรี หลายตัวก็เป็น commercial … แต่ว่าตอนแรกอยากให้หัดกับพวก free compiler ก่อน อันนี้ก็แล้วแต่ภาษาน่ะแหละ ว่าจะหาได้ยากง่ายแค่ไหน เช่น Java กับ .NET สามารถที่จะหา compiler ฟรีได้เลยจาก Sun กับ Microsoft โดยตรง ส่วนภาษาที่มีมาตรฐานกลาง เช่นพวก C/C++ ก็ต้องหา compiler เอา จริงๆ ใช้ MinGW ก็ไม่เลวหรอก หรือว่าจะใช้ Borland C++ command line edition ก็ได้

ไม่อยากให้ไปบ้าตามกระแสบางอย่าง ที่ต้องเล่น professional tools พวก visual studio.net enterprise ตั้งแต่ยังทำอะไรไม่เป็น ….

ค่อนข้าง ok มากสำหรับคนทีี่เพิ่งจะเริ่มทำหรือศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมครับ

อีกคำถามนึงจาก ThaiDev.com ครับ http://www.thaidev.com/board-c/view.php?1068

คำถาม … ความสามารถของ C “ตอนนี้ผมสามารถเขียน C ได้แต่ก็แค่ใช้แก้บัญหาคณิตศาสตร์เท่านั้นอยากทราบความสามารถอืนและแหล่งรวบรวมความรู้ดังกล่าว”

ตอบ …
1) ตอบแบบวิชาการหน่อยๆ ก็ programming language ไม่ว่าจะภาษาไหน .. ก็ถือว่าเป็น universal turing machine (UTM) ทั้งหมด และด้วยความเป็น UTM ทำให้มันมีความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ที่ UTM ตัวอื่นทำได้ และสามารถ emulate การทำงานของ UTM ตัวอื่นได้หมด และเนื่องจากคอมพิวเตอร์แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันก็เป็น UTM ดังนั้นการทำงานทุกอย่างของ computer ตลอดจนโปรแกรมทุกลักษณะ ก็สามารถใช้ภาษา C เขียนได้หมด

2) ตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ก็ จะเขียนอะไรก็ได้หมดน่ะแหละ ที่คุณเคยเห็นบนคอมพิวเตอร์น่ะ (ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิค เสียง ฯลฯ หรือว่าระบบอะไรก็ช่าง .. เขียน OS ยังได้เลย)

ดังนั้น…… ก็แล้วแต่ว่าคุณจะออกแบบโปรแกรมถูกหรือเปล่า จะใช้ data structures กับ algorithm เหมาะสมมั้ย และจะใช้ library อะไร (หรือว่าจะเขียน library ใหม่เอง) เช่นถ้าจะเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับทางกราฟฟิคก็อาจจะใช้ OpenGL อะไรประมาณนั้น เป็นต้น

จากคุณ rp@jp เมื่อ 11:22am (20/11/2004)

ทุกๆ คำถามมีคำตอบครับ วันนี้ผมรวบรวม คำถาม และคำตอบมาให้้อ่านกันเดี่ยวจะหายไปครับ หวังว่าคงมีประโยชน์กันนะครับ