ตรวจสอบการส่งข้อมูลของแอปที่เราใช้ ว่า Facebook ได้รับข้อมูลหรือไม่ ผ่าน Off-Facebook Activity

วันนี้ เฟซบุ๊กเปิดให้ดูข้อมูลที่ได้จากนอกเฟซบุ๊ก หรือเรียกว่า Your off-Facebook activity ใครหาเมนูไม่เจอ สามารถเข้าผ่าน URL ด้านล่างได้

https://www.facebook.com/off_facebook_activity/

ในนั้นจะมีรายการแอปที่นำส่งข้อมูลแชร์กับ Facebook มากมาย โดยเราสามารถยกเลิก หรือ block การส่งข้อมูลเข้า Facebook ได้ผ่าน Turn off future activity ได้จากหน้านี้

หากเราอยากตรวจสอบ Your off-Facebook activity แบบรายละเอียดว่า แต่ละแอปที่เราใช้ส่งข้อมูลอะไรกับ Facebook บ้าง สามารถทำได้ผ่านเมนู Download your information เราจะได้ข้อมูลทั้งหมดที่เราให้กับ Facebook เป็นไฟล์ zip

เราก็เปิด zip ไฟล์ แล้วไปที่ ads_and_business แล้วโยนไฟล์ทั้ง folder ออกมา

รายการไฟล์ทั้ง 4 แบบจะมีความหมายคือ

  • your_off-facebook_activity.html
    Your off-Facebook activity – กิจกรรมที่ถูกจัดเก็บมาจากภายนอก Facebook
  • advertisers_you’ve_interacted_with.html
    Advertisers that you’ve interacted with – โฆษณาที่คุณคลิกบน Facebook
  • advertisers_who_uploaded_a_contact_list_with_your_information.html
    Advertisers who’ve uploaded a contact list with your information – ผู้ลงโฆษณาที่ใช้ข้อมูลติดต่อด้วยการอัพโหลดข้อมูลเข้ามา
  • ads_interests.html
    Ads interests – คีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่ระบบคาดว่าคุณจะสนใจโฆษณา

ไฟล์ที่เราสนใจคือ your_off-facebook_activity.html เป็นหลัก (ส่วนไฟล์อีก 3 ไฟล์ จะลองดูเล่นๆ ก็ได้ แต่ไม่อธิบายในบทความนี้)

เราสามารถเช็คได้จากรายการนี้อีกรอบจากในแต่ละชื่อแอป ซึ่งจะมี link เข้าไปดูข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้ง

การตรวจสอบข้อมูลก็จะประมาณนี้สำหรับการดูว่ามีแอปอะไรบ้างที่ส่งข้อมูลให้ Facebook และเราจะปิดการส่งข้อมูลของแอปต่างๆ ให้ Facebook ได้อย่างไร

เปรียบทียบ Microsoft Pro IntelliMouse และ Microsoft Classic IntelliMouse

ในไทยมี Microsoft Classic IntelliMouse ขายอยู่มาปีกว่า ๆ แล้ว แต่ Microsoft Pro IntelliMouse นั้นยังไม่ได้เอามาขายสักที ส่วนตัวผมสั่ง ตัว Pro IntelliMouse มาใช้งานตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว จนถึงวันนี้ (วันที่ลง blog) ทาง Microsoft ก็ยังไม่เอามาขายสักที จนราคาที่ญี่ปุ่นมันลงมาจนทำราคาได้ดีขึ้นมาก (ถูกลงมากว่า 1,000 บาท รวมค่าส่งและภาษี) ก็เลยเอาข้อมูลมาลงอีกรอบใน blog เปรียบเทียบทั้งสองตัว

  1. ตัว Sensor
    Pro เป็น PixArt PAW 3389PRO-MS รองรับ DPI 16,000 (200-16,000), polling rate 1,000Hz และ refresh rate 12,000 FPS
    การปรับเปลี่ยน DPI ทำผ่านปุ่มด้านซ้ายที่เป็น shortcut key ผ่าน software driver เช่นกัน
    Classic เป็น PixArt PAW 3808EK BlueTrack รองรับ DPI 3,200 (400-3,200) และ polling rate 1,000Hz
  2. ตัว Switch
    Pro ใช้ Omron D2FC-F-7N (การันตี 20 ล้านคลิ๊ก)
    Classic ใช้ Omron 70g (การันตี 10 ล้านคลิ๊ก)
  3. ยางที่ใช้ใช้ทำกริป Pro ใช้ของคุณภาพดีกว่า Classic
  4. ตัวไฟ LED ท้าย mouse ของ Pro เป็น RGB ปรับเปลี่ยนสีได้ผ่าน software driver
  5. สายของ Pro เป็นสายผ้าแบบถัก ส่วนของ Classic เป็นยาง
  6. งานสี งานออกแบบ และงานประกอบ Pro ดีกว่า Classic

ว่ากันง่ายๆ ด้วย sensor และการเลือกใช้ switch ก็พอสรุปได้ว่า “Pro คือ Gaming mouse ส่วน Classic คือ Office mouse”

จากการใช้งานมา 4-5 เดือน Pro IntelliMouse สามารถใช้แทน Gaming mouse ในระดับราคาใกล้ๆ กันได้ดี แน่นอนว่าตัวปุ่ม และลูกเล่นอาจจะเทียบกับกลุ่มที่ทำออกมาเฉพาะได้ยากหน่อย แต่ถ้าคุณชอบแนวการออกแบบของ Pro IntelliMouse ดั่งเดิม ที่มาพร้อมกับ sensor ที่แม่นยำและปุ่มที่ทนทาน เป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่ง

สำหรับราคา

  • Microsoft Classic IntelliMouse ราคาขาย $39.99 ราคาในไทยประมาณ 1,390 บาท
  • Microsoft Pro IntelliMouse ราคาขาย $59.99 ยังไม่มีจำหน่ายในไทย ส่วนตัวสั่งผ่าน Amazon JP ซึ่งรวมค่าส่งและภาษีแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 2,3xx บาท ราคาเดือน 8 ปี 2019 (ข้อมูล ณ วันที่ 28/1/2020 ลงมาอยู่ไม่เกิน 1,500 บาทแล้ว โดยรวมค่าส่งและภาษีแล้ว)