Review: adonit Jot Mini

วันนี้มาเล่าเรื่องการใช้งาน adonit Jot Mini ให้ฟังกันสักหน่อยนึง แต่ก่อนอื่นอยากให้ทราบก่อนว่า adonit Jot Mini เป็น 1 ใน 5 ของสินค้าในกลุ่ม adonit Jot (ณ. วันที่ 10 ก.ค. 2012)

ผมได้ adonit Jot Mini (ตัวสีฟ้าตรงกลางในรูปด้านล่าง) จากร้าน Gadgetrend สาขา The Nine ถ.พระราม 9

DSC_0025

Jot Mini เปิดตัวในงาน CES 2012 เมื่อต้นปีที่ผ่านมาครับ และเริ่มวางขายประมาณเดือน ก.พ. มีผู้สนใจหาซื้อมาใช้เป็นจำนวนมากครับ เพราะแปลกใหม่ และแตกต่างจาก Stylus ตัวอื่นๆ ในท้องตลาด แต่จะแตกต่างอย่างไรเรามาดูกัน

DSC_0081

ตัวเนื้องานนั้นวัสดุโดยรอบของด้ามปากกา Jot Mini ทำจากอลูมิเนียมขัดด้านทำให้จับกระชับมือดีแม้จะมีขนาดเล็ก ด้วยขนาดของ Jot Mini เพียง 5.5” ซึ่งเหมาะสำหรับพกพาใส่กระเป๋ากางเกงคู่กับมือถือตัวเก่งของท่าน หรือแม้แต่ Tablet รุ่นเล็กๆ เองก็ตามที พกคู่กันก็ดูไม่เป็นภาระเท่าไหร่

DSC_0094

ตัวปากกานั้นมีฝาปิดที่สามารถหมุนเก็บที่ปลายอีกด้านนึงได้เป็นวัสดุชนิดเดียวกับตัวด้าม ทำให้รู้สึกเข้ากันได้ดีและแข็งแรงมาก

โดยตัวส่วนหัวของปากกา Jot Mini ที่สัมผัสกับหน้าจอนั้นจะมีแผนวงกลมใสยึดอย่างหลวมๆ ให้สามารถขยับได้กับตัวหัวปากกาที่เหมือนเข็มหมุนไว้ ซึ่งสามารถที่จะโยงไป-มาได้อิสระเพื่อให้แผ่นวงกลมตรงกลางยังคงสัมผัสบนตัวหน้าจอได้ในระนาบเดิมตลอดเวลาแม้จะเอียงตัวปากกาทำมุมเหมือนเราเขียนในสภาวะปรกติ

DSC_0089

การออกแบบให้ตัวหัวปากกาที่มีแผ่นวงกลมใส โดยตรงกลางของแผ่นวงกลมใส่มีวัสดุคล้ายโลหะฝั่งอยู่เพื่อนำไปทำให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าบนจอ capasitive touch screen นั้นตกลงบริเวณที่เรานำไปสัมผัส โดยผมลองถอดแผ่นวงกลมดังกล่าวออกเหลือแต่หัวปากกาล้วนๆ จะไม่สามารถใช้งานกับหน้าจอ capacitive touch screen ได้

ซึ่งปลายปากกาเป็นเข็มหมุดแบบนี้นั้น ทำให้เรามองเห็นว่าเรากำลังสัมผัสหรืออยู่ในช่วงใดของหน้าจอในจุดที่เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งปรกติแล้ว stylus รุ่นที่มีขายโดยทั่วไปจะใช้การเรียนแบบนิ้วมือซึ่งจะมีหน้าสัมผัสและจุดที่ใหญ่คล้ายๆ นิ้วมือเรา แต่ด้วยการออกแบบของ Jot Mini นั้น ทำให้เราเขียนบนหน้าจอ capacitive touch screen ที่รับการสัมผัสบนจุดที่ใหญ่กว่าได้แม่นยำกว่าเดิมมาก ซึ่งเหมาะมากสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำในการเขียนสูงๆ เช่นกันวาดรูป รีทัชภาพต่างๆ ที่ต้องกรีดตัวแปรงทาสีบนช่องว่างแคบๆ ได้ดีขึ้น

สำหรับตัวแผ่นวงกลมใสที่หัวนั้นสามารถถอดเปลี่ยน และยังมีอะไหล่สำรองซึ่งต้องซื้อแยกต่างหากขาย จึงมั่นใจได้ว่าถ้าแผ่นวงกลมนี้หายไปก็ไม่ต้องซื้อด้ามใหม่ทั้งหมดแต่อย่างใด

DSC_0096

ที่ด้านปลายด้ามอ้างแบบเป็น Clip สำหรับหนีบที่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง แต่น่าจะเหมาะกับกระเป๋ากางเกงมากกว่า เพราะกระเป๋าเสื้อมันตื้นไป

ในกลุ่มของสินค้า adonit +Jot นั้นนอกจาก Jot Mini แล้วยังมี Classic, Pro, Flip และ Touch อีกด้วย (แต่ที่นำเข้ามาขายในไทยตอนนี้มี Pro, Mini และ Flip)

ข้อแตกต่างของทั้ง 5 รุ่นมีดังนี้

  • adonit Jot Classic (http://adonit.net/product/jot)
    Feature_32
    รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก ยังไม่มีลูกเล่นใดๆ นอกจากใช้เป็น stylus ที่วาดได้แม่นยำขึ้นและแปลกใหม่กว่าในท้องตลาด
  • adonit Jot Mini (http://adonit.net/product/jot-mini-2)
    P3284
    สรุปง่ายๆ ว่าเป็นรุ่นขนาดย่อของ Jot Classic มี Clip หนีบกระเป๋าได้ พกพาสะดวก
  • adonit Jot Pro (http://adonit.net/product/jot-pro)
    Feature_38
    รุ่นที่เพิ่มเติมคุณสมบัติจากรุ่น Classic ซึ่งลักษณะและรูปร่างไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย
    – เพิ่ม MAGNETIC CLING (แม่เหล็ก) เพื่อให้ดูดติดกับตัว Tablet หรือพื้นวัสดุที่เป็นโลหะได้
    – เพิ่ม RUBBER GRIP เพื่อให้จับถนัดมือมากขึ้น
  • adonit Jot Flip (http://adonit.net/product/jot-flip)
    Best-of-Both-Worlds_Small1
    รุ่นที่เพิ่มเติมคุณสมบัติจากรุ่น Classic
    – เพิ่มปากกาเข้ามาทำให้หน้าตานั้นแตกต่างจาก Classic อยู่พอสมควร และด้วยการเพิ่มปากกาเข้ามา ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นพอสมควร เพราะมีไส้ปากกาขนาดใหญ่อยู่ด้านใน
    – เพิ่ม MOBILE CLIP สำหรับใช้เหน็บที่ประเป๋าเสื้อ
    – เพิ่ม RUBBER GRIP เพื่อให้จับถนัดมือมากขึ้น
  • adonit Jot Touch (http://adonit.net/product/jot-touch)

    รุ่นล่าสุดที่เพิ่มเติมความสามารถจากรุ่น Classic เข้ามา
    – มีปุ่ม shortcut ที่ปากกา 2 ปุ่มสำหรับสั่งงาน App เพื่อเรียก shortcut บน App ขึ้นมาใช้โดยไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งที่เรากำลังวางมือไปทัชส่วนของเมนูไปๆ มาๆ อีก โดยใช้การสั่งการผ่าน Bluetooth
    – ตัวปากกาทำงานด้วยแบตเตอร์รี่ภายใน ทำให้มี USB Charger เพิ่มเติมเข้ามาด้วย
    – ระบบ DAMPENING TIP ที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการสัมผัส คล้ายๆ กับสปริงตัวเล็กๆ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนเขียนอยู่บนกระดาษ

เว็บอ้างอิง http://www.adonit.net

ขอบคุณร้าน Gadgetrend สาขา The Nine ถ.พระราม 9 ที่ให้ลองตัวปากกา Jot Mini จนผมเสียเงินซื้อจนได้ ฮา …. ><”\

ราคาจำหน่าย (ณ.วันที่ 19 ก.ค. 2555)

  • adonit Jot Mini: 1,090 บาท
  • adonit Jot Pro: 1,190 บาท
  • adonit Jot Flip: 1,490 บาท

อะไรคือ Patch Tuesday & Zero-day Wednesday?

Patch Tuesday เป็นชื่อเรียกรอบการ update patch ของ Microsoft โดยเริ่มใช้คำนี้ตั้งแต่ระบบปฎิบัติการ Windows 98 เป็นต้นมา ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ Windows Update โดยจะมีการ update patch ในซอฟต์แวร์ลกลุ่ม Windows, Office และกลุ่ม Server ของ Microsoft เป็นหลัก

โดยปรกติจะมีการออก patch ในวันอังคารที่ 2 ของทุกๆ เดือน ซึ่งจะส่ง patch ประเภท Critical security updates เป็นหลัก และอาจจะพ่วง non-security updates ที่เกี่ยวข้องเข้ามาด้วย และปัจจุบันมีการออก patch ในวันอังคารที่ 4 ของทุกเดือนเพิ่มเข้ามา โดยมุ่งไปที่ Optional updates และ non-security updates เป็นหลัก โดยการแยกการ update patch ออกเป็น 2 ช่วงคาดว่าเพราะต้องการลดภาระของระบบที่ต้องรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์จากทั่วโลก

โดยการส่ง patch ของทั้งสองวันข้างต้นจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18:00 หรือ 17:00 UTC (หรือประมาณ 0:00 – 01:00 ของคืนที่ย่างเข้าเช้าวันพุธประเทศไทย)

Zero-day Wednesday หรือ Exploit Wednesday เป็นการโจมตีอันเรื่องจากการที่ hacker/cracker รับรู้การข้อผิดพลาดหรือช่องโหว่จาก patch ที่เพิ่มเติม update เข้ามาแล้วทำการโจมตีจากช่องโหว่นั้น จนต้องเข้าสู่การออก patch หรือแจ้งให้ update แบบ Zero-day Critical security updates ซึ่งคือ update patch โดยทันทีเนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของระบบซึ่งมีไม่บ่อยครั้งนัก โดยเวลาในการส่ง patch นั้นไม่มีความแน่นอนนัก แต่คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18:00 หรือ 17:00 UTC (หรือประมาณ 0:00 – 01:00 ของคืนที่ย่างเข้าเช้าวันพุธประเทศไทย) เช่นเดียวกับ Patch Tuesday

แต่มียกเว้นสำหรับ Microsoft Windows Defender, Microsoft Forefront, Microsoft Security Essentials และกลุ่มที่ใช้ Malware definitions update ซึ่งจะมีการ update definitions database ทุกๆ วัน

อ้างอิง

การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยต้องเริ่มที่ตัวเรา

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีสูงมาก เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ราคาที่สูง, องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ไม่ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้การซื้อขายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์สามารถทำได้ง่ายกว่าการซื้อหาของถูกต้องตามลิขสิทธิ์, การไม่เคารพสิทธิ์ด้านทรัพท์สินทางปัญญา, แหล่งซื้อขายซอฟต์แวร์ถูกต้องตามลิขสิทธิ์หาได้ยาก, ข้อมูลซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ซับซ้อน ไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจเรื่องชนิดของลิขสิทธิ์หลากหลายรูปแบบ ฯลฯ

ปัญหาดังกล่าวทำลายวงการซอฟต์แวร์ในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยนั้นผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติและราคา เหมาะสมกับคนไทย แต่เมื่อนำไปเทียบกับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในราคาที่ถูกกว่า (ผู้เขียน: ถึงจะเป็นของต่างชาติหรือของคนไทยด้วยกันเองก็แล้วแต่ก็จะเจอข้อเปรียบ เทียบนี้ด้วยเช่นกัน) ทำให้ส่วนต่างราคามีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้ออยู่มาก

ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ และซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันอยู่มาก ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นต้องมีค่าใช้จ่ายในการงานวิจัยและพัฒนา, การสนับสนุนหลังการขาย โดยเฉพาะการติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขั้นตอนพัฒนา และการดำเนินการด้านการตลาด เป็นต้น ต่างจากซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีเพียงต้นทุนการคัดลอกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

ทางแก้ไขที่ดีกว่าน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดว่าซอฟต์แวร์นั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะได้มาด้วยรูปแบบของซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ซอฟต์แวร์เสรี ฟรีแวร์ แชร์แวร์ และรวมไปถึงซอฟต์แวร์ทดแทนอื่น ๆ ตรงนี้เกิดจากคนไทยส่วนหนึ่งไม่ได้มองว่าซอฟต์แวร์นั้นมีมูลค่าเช่นเดียวกับอุปกรณ์ไอทีที่จับต้องได้ เราควรมองว่ากำลังนำซอฟต์แวร์มาใช้งานเพื่อนำไปสร้างผลผลิตเช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่จับต้องได้ และเงินที่จ่ายให้บริษัทซอฟต์แวร์ไปนั้นถือเป็นการอุดหนุนวัฏจักรการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อีกทางเลือกหนึ่งการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์สหรือฟรีแวร์ แต่เราก็ควรจะผสมผสานการใช้งานทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ในจุดที่จำเป็น และซอฟต์แวร์ทดแทนให้จุดที่ใช้งานแทนได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะซอฟต์แวร์ทดแทนมีข้อจำกัดในบางด้าน เช่น การอ่าน-เขียนไฟล์ของซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ติดสิทธิบัตร ถ้าเราจำเป็นต้องใช้งานส่วนนี้ และซอฟต์แวร์ทดแทนไม่สามารถตอบสนองให้กับเราได้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือต้องยอมลงทุนลงไปเพื่อให้งานสามารถดำเนินต่อไปได้

ซอฟต์แวร์ทดแทนโดยทั่วไปมีรูปแบบการทำงานบางส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปจากซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์แบบเดิมๆ แต่เงื่อนไขของซอฟต์แวร์เสรีทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนตัวซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับที่ตัวเองต้องการได้เสมอ แต่นั่นหมายถึงเงินทุนและเวลาในการจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้แก้ไขตามที่เราต้องการ

การแก้ไขปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์จะต้องเริ่มต้นจากทุกคนช่วยกันสร้างเสริมแนวคิดที่ไม่ละเมิดลิขลิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยต้องเริ่มต้นในทุกระดับอายุ จึงต้องมีบุคคลต้นแบบ เพื่อให้เกิดการเอาเป็นแบบอย่างในการอ้างอิงแนวคิด และการเริ่มต้นส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์ทดแทน โดยทั้งหมดนี้ไม่ใช่ต้องการลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์จากต่างชาติทั้งหมด แต่เป็นการเริ่มต้นเคารพความคิดด้านทรัพท์สินทางปัญญา  ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจซอฟต์แวร์ภายในประเทศเติบโตต่อไปได้ ในอนาคตเราก็คงต้องต้องผลักดันกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ทุกอย่างเดินทางในเส้นทางที่ถูกต้องเสียที

ผู้เขียน Ford AntiTrust

จาก Blognone Year Book 2008