Work and Study

In 1960, a researcher interviewed 1500 business-school students and classified them in two categories: those who were in it for the money – 1245 of them – and those who were going to use the degree to do something they cared deeply about – the other 255 people. Twenty years later, the researcher checked on the graduates and found that 101 of them were millionaires, and all but one of those millionaires came from the 255 people who had pursued what they loved to do!

Research on more than 400,000 Americans over the past 40 years
indicates that pursuing your passions – even in small doses, here and there each day – helps you make the most of your current capabilities and encourages you to develop new ones.

Ref : “The Other 90%” by Robert K. Cooper, Three Rivers Press 2001.

การจีบสาวก็ไม่ต่างอะไรกับตอนเราฝึกเขียนโปรแกรม

ตอนนี้มีเรื่องบางเรื่องที่ทำให้ต้องเขียนเอามาเปรียบเทียบกัน ฮ่า …. (จริงไหมเพื่อน)

ผมยังจำได้ดีภาษาโปรแกรมมิ่งภาษาแรก ที่เขียนคือภาษาซี เป็นอะไรที่เข้าใจยาก และใช้เวลานานในการเขียนมันให้มันแสดงผล ก็คงไม่ต่างอะไรกับ การทำความรู้จักใครสักคนหนึ่ง ที่เราคงต้องศึกษา และทำความรู้จักให้มากเข้าไว้ จนสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนว่า "แห้ว" หรือ "ยังไม่แห้ว" จะคบต่อไป หรือจะล้มเลิกความตั้งใจ หรือเราเข้ากันไม่ได้ (อืมมม) ไม่ใช่ว่ายังไม่ได้ลงมือเขียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ ก็บอกว่ามันยากเสียแล้ว และยิ่งถ้าคนเราตั้งธงตั้งแต่แรกแล้วว่า เรียนภาษาโปรแกรมมิ่งแล้วไม่รู้เรื่องแน่ ๆ ทำไม่ได้แน่ ๆ ก็ไม่ต่างอะไรกับ เราจีบผู้หญิงแล้วก็คิดไปเอง และตั้งธงไว้เลยว่า "แห้วแน่ ๆ"

"แล้วถ้าคิดว่า แห้วแน่ ๆ เราจะไปจีบทำไมให้เสียเวลาเนี่ย ชอบเค้าก็ลุยเลย รออะไรหล่ะคร้าบบบบ ท่านนนนนน" -_-‘

มนุษย์เราก็เหมือนตัวภาษาโปรแกรมมิ่ง บางคนเข้าใจง่ายอย่าง Ruby หรือ Python หรือเข้าใจยากสุดกู่แบบ Java และหรือแม้แต่พวกที่ต้องอาศัยความพยายามสูงส่งในการทำความเข้าใจอย่าง Machine Code

ถึงแม้ภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่บางครั้งกว่าจะรู้ก็ต้องศึกษาอย่างถึงแก่น ก็ไม่ต่างกับศึกษานิสัยคนที่กว่าจะรู้ธาตุแท้ก็ต้องใช้เวลาศึกษากันนานหน่อย

แต่การจะศึกษาภาษาโปรแกรมมิ่งมันก็ต้องใช้ความพยายาม มั่นฝึกฝน, ศึกษา และทำความเข้าใจทุกเช้าเย็น ก็คงไม่ต่างกับการจีบสาวที่มันก็ต้องศึกษาเขา และมั่นเข้าใจใส่ โทรหาบ้าง ตามแต่เวลาจะอำนวย แล้วอย่าไปคิดแทนคนที่เราจีบ ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะเขาและเราไม่ใช่คนเดียวกัน ก็เหมือนภาษาโปรแกรมมิ่งที่มันแตกต่างกันภาษา Ruby และ Python ถึงแม้จะคล้าย ๆ กัน แต่มันก็ใช่ว่าจะเขียนแบบเดียวกันได้ทั้งหมด จริงแมะ ;) นั้นหมายความว่าจงอย่าเอาความเคยชินของตัวเองมาตัดสินแทนคนอื่นในเรื่องนี้

อืมมม วันนี้ออกแนวบ้า ๆ หน่อย อิๆๆๆ

ตกขบวน ?

เรากำลังตกขบวนรถไฟไอที ?

เมื่อวานได้อ่าน Blogging from Beijing ของพี่ mk จริง ๆ แล้ว feed เข้ามาในเครื่องแต่ว่าไม่ได้อ่าน พอดีว่าพี่เดฟ เอามาให้อ่านเลยมานั่งจับใจความอีกรอบ และได้นั่งฟังแนวคิดและความรู้สึกของพี่เดฟในเรื่องนี้ สิ่งหนึ่งที่กระแทกใจอย่างแรงจากที่พี่เดฟ ได้พูดไว้ในตอน Seminars ในแลป ก็คือ "รถไฟขบวนสุดท้ายได้จากเราไปแล้ว" ในสภาพโลกไอที ประเทศไทยโดนโดดเดียวไปแล้วหลาย ๆ เรื่องโดยที่คนใช้งานทั่วไปไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ เพราะตัวเองก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากมาย เพราะตัวเองไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาใช้เอง และหรือแม้แต่คิดที่จะสร้างซอฟต์แวร์หลาย ๆ ไม่มีแม้แต่รายการให้เลือกภาษาสำหรับคนไทย แต่กับประเทศเวียดนาม และหลาย ๆ ประเทศกลับมีให้เลือกอยู่แทบจะทุก ๆ ตัวที่ผมได้จับต้องมา ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในสังคมไอทีในบ้านเรา และควรจะเร่งรีบแก้อย่างมากคือมาตรฐานตัวอักษรไทย ที่ควรจะมีตัวใดตัวหนึ่งเป็นหลักให้คนทั่วโลกที่ต้องการสร้างซอฟต์แวร์ให้กับคนไทยใช้นั้นได้เอาไว้อ้างอิงแบบตัวอักษรได้ใช้ รวมไปถึงเรื่องการตัดคำของภาษาไทยที่ควรจะใช้งานได้ดีและมีมาตรฐานหลัก ๆ สักตัวให้คนที่ต้องการทำ Text-to-Speech และเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็นต้นใช้ได้มีมาตรฐานกลาง เพื่ออ้างอิงและนำไปใช้ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิดแล้วสุดท้ายทุกอย่างก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิมเท่าไหร่ งานด้าน Open-Source นั้นน่าสนใจ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของคนไทยส่วนใหญ่ที่มักจะแบ่งบันความรู้กันไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะออกแนวขัดขากันเสียมากกว่า เลยทำให้การแบ่งบันความรู้มีน้อย เพียงแค่เรื่องภาษาของเราเอง ที่มันเป็นรากของงานระดับบนในสังคมไอที ที่ทุก ๆ คนต้องไปอ้างอิงถึงยังไม่มีอะไรแน่นอน แล้วชาวต่างชาติที่ไหนจะมาอ้างอิงกับประทศที่ไม่มีอะไรแน่นอนในเรื่องพื้นฐานมาก ๆ แบบนี้ ซึ่งมันก็หมายถึงการทำซอฟต์แวร์ให้สนับสนุนภาษาไทยอย่างเต็มขั้น

จากย่อหน้าแรกจะเห็นได้ว่าแค่เรื่องพื้น ๆ เรายังไม่มีรากเป็นของตนเองเลย และเรื่องต่อมาที่ทำให้พี่เดฟรู้สึกเซงมาก ๆ ก็คือเราตกขบวนไปแล้ว โดยในขณะที่คนระดับบนของรัฐฯ กำลังนั่งไล่ล่าหาข้อมูลด้านการทุจริตต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดที่แล้ว และกระทรวง ICT ก็นั่งไล่ปิดเว็บโป๊, เว็บที่เป็นภัยต่อความมั่นคงต่าง ๆ และรวมไปถึง Camfrog อีกฝากหนึ่งของโลก และอีกหลาย ๆ พื้นที่ในโลกที่ไม่ไกลจากเรามากนัก อย่างเวียดนามกำลังสร้างบุคคลไอทีระดับหัวกระทิมากมาย, มีทรัพยากรบุคคลมากมายให้กระจายแนวคิดและความรู้ต่าง ๆ ลงไปให้กับคนระดับกำลังศึกษา ซึ่งคนในระดับกำลังศึกษานั้นมีความตื่นตัวสูงมากในการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งมันอยู่ในระดับที่น่ากลัวมาก เพราะเค้าถูกกดทับด้านความคิดและความรู้มานาน ทำให้เมื่ออะไร ๆ มันเปิด คนทุกคนก็หวังจะมีอะไรที่ดี ๆ มากขึ้นทุกคนเร่งรีบพัฒนาตัวเองเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เหมือนภูเขาไฟที่สะสมพลังงานมาอย่างยาวนาน เมื่อทุกอย่างได้ที่ก็ระเบิดออกมาราวกับแผ่นที่จะพังทลายเสียให้ได้ ทำให้ทุกคนทั้งโลกรู้ว่าที่นี่กำลังเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ทุกคนมุ่งสู่ตลาดใหม่ ๆ อย่างไม่ลังเล ด้วยพลังที่ระเบิดออกมาอย่างมหาศาล และทุก ๆ คนที่อยู่รวบนอกภูเขาไฟนั้นกำลังต้องการพลังงานที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทุกคนจึงมุ่งเข้าสู่แหล่งพลังงานนั้น ส่วนเราประเทศไทยในตอนนี้นั้นเหมือนภูเขาไฟที่ไม่ได้ถูกสะสมพลังงานมามากพอ และดูเหมือนกับว่าภูเขาไฟข้าง ๆ หลาย ๆ ลูกที่กำลังระเบิดออกมาพร้อม ๆ กันปล่อยเถ้าถ่านมากมายมหาศาลออกมาแล้วตกลงมากองลงที่ภูเขาไฟที่ชื่อว่าประเทศไทยเสียมิด จนกลบภูเขาไฟเราเสียสิ้น เมื่อคนแสวงหาแหล่งพลังงานมาสำรวจและค้นหา กลับเดินข้ามเราไปสู่ที่ที่มีพลังงานที่มากและสูงกว่า ช่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก

"โลกกำลังหมุนไป, โลกไม่คอยเรา แต่เราคนไทยกำลังคอยให้โลกเหวี่ยงเราไปตามแรงหมุนของโลกแทน โดยที่เราไม่เดินหรือวิ่งตามแรงของโลกที่หมุนไปเพื่อให้ทันกับกระแส ระวังให้ดี แรงของการเหวี่ยงของโลกจะทำให้เราหนีจากศูนย์กลางของโลก และเราจะหลุดและตกโลกไปในไม่ช้า"

อีกเรื่องคือ เรายังไม่ทันต่อการมาและไปของสิ่งต่าง ๆ เรามีแผนงานรองรับสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ทันทั้งในภาครัฐฯ, ภาคเอกชน และรวมไปถึงบุคคลทั่วไป ประเทศเรารับเทคโนโลยีได้ไวมาก โลกมีอะไร เราคนไทยรู้และพร้อมใช้งานได้ทันที แต่เราไม่สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ภายในว่ามันทำงานอย่างไร และเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เราเป็นผู้รับที่ดี แต่เราไม่เป็นผู้สร้างที่ดี ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างฉายฉวย ซื้อมาและขายไป มากกว่าการวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อใช้เองภายในประเทศโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาต่างประเทศทั้งหมด ตอนนี้เราตกขบวนแต่สิ่งที่เราน่าจะเริ่มทำ และทำทันที นั้นคือไล่ตามรถไฟขบวนนั้นไป ถือแม้ว่าธุรกิจด้านไอทีจะเร่งความเร็วสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทุก ๆ 18 เดือน แต่ปีนี้เป็นช่วงพลัดใบของไอที เป็นช่วงชะลอตัวที่สุดในรอบหลาย ๆ ปี การไล่ตามทันในช่วงนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดช่วงหนึ่ง ถึงแม้ประเทศอื่น ๆ จะรู้ทิศทางนี้เช่นกัน และกระโดดลงเล่นกับมันไปแล้วก่อนหน้านี้หลายปี นับตั้งแต่ Microsoft ปล่อย .NET 2.0 และตัวซอฟต์แวร์ช่วยพัฒนาอย่าง Visual Studo Express 2005 Version (รุ่นใช้งานได้ฟรี) ออกมา เพื่อเอามาทดสอบ และทำแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ๆ  ในขั้นต่อไป แต่ก็มีน้อยคนและน้อยทีมที่จะปรับเปลี่ยน Project ที่ทำจากรุ่น 2002 และ 2003 มาเป็น 2005 ซึ่งที่ทำนั้นเพื่อรองรับแนวคิดใหม่ ๆ ที่ยังผลให้ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นกับ OS รุ่นใหม่ ๆ ได้ทันทีที่ออก นั้นก็คงไม่ต่างกับค่าย Apple ที่มี OS ตัวใหม่ และได้ปล่อยชุดพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ออกมาเพื่อรองรับการ OS รุ่นต่อไป ซึ่งก็คงไม่ต่างกัน และในตอนนี้ซอฟต์แวร์มากมาย ต่างรอคอยให้ระบบ OS ต่าง ๆ นั้นเปิดตัวเมื่อนั้นซอฟต์แวร์เก่า ๆ ทุกตัวก็สามารถทำงานได้ทันที ซึ่งในไทยนั้นมีน้อยมากที่มีแผนรองรับเรื่องนี้

ส่วนเรื่องต่อมาก็แนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั้น หลาย ๆ ตัวเป็นเรื่องที่เราเห็นจนชินชา และได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดต่างประเทศ แต่ในไทยยังคงพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งช่างน่าเศร้าไปอีกที่หนังสือและตำราเรียน รวมไปถึงผู้สอนบางท่านยังคงแนวความคิดเดิม ๆ เขียนหนังสือ และนำเสนอแนวทางพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดิม ๆ ทำให้คนที่เรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น ก็เอาแนวคิดนั้นไปใช้อย่างผิด ๆ และล้าสมัย รวมไปถึงการหลาย ๆ อย่างที่นำเสนอนั้นกลับแทบจะไม่สามารถใช้งานได้จริงแล้วในปัจจุบัน แต่กลับยังคงแนวการสอนแบบเดิม ๆ โดยไม่ได้ดูว่าโลกนั้นใช้อะไร และไปถึงไหนแล้ว เรายังสอน OOP โดยที่ไม่รู้ว่ามันทำอะไรได้บ้าง บางคนสอน OOP เพราะ OOP มันคือ class เท่านั้น (บ้าไปแล้ว -_-’) หรือการสอน OOP นั้นควรสอนอะไรที่ให้แนวคิดมากกว่าท่องจำ ควรเรียนและนำแนวคิดใหม่ ๆ นั้นเอาไปปรับใช้ จริง ๆ สอน OOP มันไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด เพราะ OOP มันเหมือน Concept ที่ไม่ควรยึดติดกับภาษาใดภาษาหนึ่ง จริง ๆ เรียนควบคู่กับ Design Pattern น่าจะช่วยให้มองเห็นภาพมากขึ้นว่า OOP เอาไปแก้ปัญหาอะไร ได้บ้าง ซึ่งมันน่าจะเป็นอะไรที่อิสระมากกว่านั้น เหมือนภาษา Imperative ต่าง ๆ นั้นรูปแบบการเขียนก็ไม่ต่างกัน หรือภาษา functional ก็มีแนวทางหลัก ๆ ในการเขียนไม่แตกต่างกัน นั้นหมายความว่าคุณเขียน OOP ด้วยภาษาใด ๆ ที่เป็น Imperative เช่น Java คุณก็สามารถเขียนได้ใน VB.NET หรือ C# ได้ เพราะมีแนวทางไม่ต่างกันโลกส่วนหลัก ๆ แค่เรียนรู้ syntax เท่านั้นเอง (ลองเขียน VB.NET และ C# ควบคู่กัน แล้วดูว่ามันไม่ต่างกันเท่าไหร่ในส่วนหลัก ๆ)

แนวการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ นั้นมีมากมาย แต่คนที่เรียนจบและทำงานแล้ว มักไม่สนใจ และนำไปใช้กับมากนัก ทำให้คนรุ่นหลัง ๆ เข้าทำงาน หรือเพิ่งเริ่มเรียนรู้จากคนที่ทำงานแล้วนั้นมักได้แนวความคิดเก่า ๆ ไปแทน ซึ่งน่าเสียดายยิ่งนัก ซึ่งผมโชคดีที่ได้เรียนรู้กับคนที่มองอะไรบนแนวคิดใหม่ ๆ หลายท่านมาก นับตั้งแต่ ม.ต้นแล้ว ที่ได้แนวคิดใหม่ ๆ ในเรื่องพวกนี้ แต่วันหนึ่งมันก็เริ่มปรับตัวได้ช้าลงด้วยสภาวะแวดล้อมบางอย่างที่ทำให้เราดูเฉื่อยลงไป อย่างน่าใจหาย -_-’

จากที่ได้บ่น ๆ มา ทำให้เรารู้ว่าเราสอนอะไรต่าง ๆ นั้นบางครั้งก็เอาไปใช้งานจริงไม่เต็มที่ และรวมไปถึงเราสอนให้ผู้เรียนนั้นมองภาพไม่ออก ว่ามันมีความจำเป็นอย่างไร และมันเกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เราจะเจอในอนาคต

ต่อมาคือคนรุ่น ๆ ใหม่ ๆ บางพวก มักเรียนแบบส่ง ๆ แบบขอไปที และมักไม่มีความพยายามที่จะอดทนมากพอ ไม่เคยสอน ไม่ใช่หมายความถึงไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ได้ บางคนถึงแม้มีคนชี้นำให้แล้ว แต่กลับไม่พยายามต่อโดยที่โบ้ยไปว่าแปลไม่ออก หรือแม้แต่ไม่รู้จะหาที่ไหน เป็นประเภทใช้ของที่มีอยู่แล้วไม่เป็น อย่าง Google หรือโปรแกรมแปลภาษาต่าง ๆ และเดี่ยวนี้ผู้เรียนเลือกผู้สอน แต่ผู้สอนไม่มีสิทธิที่จะเลือกผู้เรียน ทำให้คนเรียนมีอำนาจเหนือผู้สอน จนทำให้ระบบการเรียนนั้นไม่สามารถเคี่ยวคนให้ข่น เป็นจอมยุทธระดับสุดยอดได้ เป็นแค่พวกปลายแถว แต่เพียงแค่โดยคู้ต่อสู้จับกระบี่ยังไม่ทันเอาออกจากฝักก็หัวใจวายตายคาสนามรบไปเสียแล้ว ดั่งเหมือนกับเจอปัญหา แล้วไม่ลองค้น ลองหา (ดร. Google) ลองทำเอง ก็ล้มเลิกความตั้งใจตั้งแต่แรกไปเสียแล้ว

ช่างน่าเศร้าที่เรามีคนไม่อดทน และไม่ทันต่อโลก แบบนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ว่าง ๆ จะมาบ่นเรื่องนี้ต่อ เพราะมีเรื่องให้บ่นอีกเยอะ

การปรับตัว

หายไปกว่า 2 อาทิตย์ เพราะต้องเข้าฝึกงาน ซึ่งก็จากตอนที่แล้วคงรู้กันหมดแล้วว่าฝึกงานที่ไหน ;)

ต่างที่ ต่างถิ่น ต่างความคุ้นเคย ทำให้รู้สึกตัวเองดู เหงา ๆ แต่เพราะมนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเก่ง เราก็ควรจะปรับตัวให้เข้ากับอะไร ๆ ให้มากขึ้น และก็เช่นกัน ก็ควรจะปรับตัวกับแนวคิด ใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีิวิตด้วย (แต่ที่แน่ ๆ หอพักที่อยู่ตอนนี้มันไม่มีน้ำอุ่นให้อาบ เหมือนหอเก่าที่มหาวิทยาลัย ทำให้จ้ากกก ทุกครั้งที่อาบน้ำ T_T)

เมื่อมาถึง สิ่งแรกคือได้เข้าฟังการสอนของพี่เดฟ แค่ช่วงเวลา สั้น ๆ ก็ได้แนวคิดมากมาย ถึงแม้บางอย่างเรารู้แล้ว แต่บางอย่างก็ไม่รู้ แต่เมื่อเราเอามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้มาก่อน มันก็ทำให้เรามองอะไรชัดขึ้นอีกเยอะ ซึ่งตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ ก็ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในหลาย ๆ อย่าง ซึ่งก็พวกการเริ่มหันมาสนใจภาษาพวก Functional Programming มากขึ้น ลองเล่น Haskell แล้วนำแนวคิด ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกับ Imperative Language มาศึกษาดู ตอนนี้ก็เกือบอาทิตย์แล้วก็เริ่มมองภาพชัดเจนมากขึ้น ซึ่ง Functional Programming นั้น เรามักจะมีให้เห็นบ้างในภาษา SQL (SQL เป็นภาษาที่คุณลักษณะทั้ง object-oriented, functional และ procedural) และแนวคิดใน Functional Programming ก็เอาไปร่วมกับการทำ Lexical/Semantic Analysis ใน Compilers วิชานี้ก็เรียนมาและทำให้เข้าใจได้เลยว่าการทำ Compilers มันยากแสนยากยังไง แค่ทำให้มันบวกกันตามลำดับชั้นการคำนวณก็มึนแล้ว แถมตอนสอบให้มีการดัก if-else และนอกรอบก็ลองทำ loop ต่าง ๆ ดู สนุกสนานกันไป -_-‘

แต่ที่เด็ดโคตร ๆ คือการเอา Haskell มาอธิบายวิชา Data Structure ซึ่งเขียนได้สั้น, กระชับ และเข้าใจได้ง่าย ในเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งช็อคกันหลาย ๆ อย่างที่สุด…. มากเพราะบางอย่างที่เราเขียนในภาษา C โดยใช้เวลาเขียนยาว ๆ และใช้เวลานาน กลับใช้เวลาสั้นอย่างน่าใจหายใน Haskell ซึ่งเป็นภาษา Functional Programming ทำให้เราได้แนวคิดมาตอบโจทย์ หลาย ๆ อย่างได้เยอะดี ท่าทางต้องศึกษากันต่อไป

ต่อมาก็ตามด้วยศึกษาภาษา Ruby ซึ่งก็ไม่ยาก เพราะได้อิทธิพลมาจาก Python ซึ่งก็เคยทำ e-book มาก่อนหน้านี้แล้ว (หาใน blog นี้ไม่น่าจะยากนะครับ) ซึ่งจากที่ได้ลองเรียนรู้รูปแบบภาษาแบบคราว ๆ ก็ถือว่าเป็นภาษาที่เรียบง่าย อ่านแล้วรู้สึกเหมือนเขียนนิยาย และตรงไปตรงมา และที่ชอบที่สุดคือมันเป็น Dynamic Typing ซึ่งทำให้อะไร ๆ มันพัฒนาได้ง่ายมาก ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าผมเขียนโปรแกรมมิ่งได้สนุกเพราะ PHP ที่เป็นภาษา Dynamic Typing ทำให้เราใส่ไอเดียต่าง ๆ ลงไปแทนที่เราต้องมาคิดว่า Type มันจะถูกต้องหรือเปล่า ถึงแม้ว่าผมเรียนรู้การเขียนโปรแกรมจากภาษา c ก็ตาม แต่มันก็ทำให้ผมเข้าใจว่าการที่เราทำง่าย ๆ นั้น ทำให้เราสนุกกับการเขียนโปรแกรมมากขึ้นเยอะ โดยจากไล่ ๆ ดูตัวภาษา Ruby แล้วก็ทำความเข้าใจอะไร ๆ ไม่ยาก แล้วก็พยายามศึกษา Rails Framework ในแบบเส้นขนานกันไป ทำให้การสร้าง Web Application ต่าง ๆ นั้น ๆ ง่ายขึ้นมาก ๆ งานที่เราต้องทำอะไร ๆ นาน กลับทำได้ง่าย ๆ ภายในเวลาไม่นาน ซึ่งมันถือเป็นเรื่องที่สุดยอดมาก ๆ เลย ซึ่งคาดว่าจะเอามาใช้แทน PHP ในการพัฒนา Web Application ในอนาคตนี้แน่นอน (หา Web Hosting ให้ได้ก่อน ตอนนี้ -_-‘)