Review – Lenovo ThinkPad EDGE 11”

เป็นครั้งแรกที่ผมได้ใช้ ThinkPad EDGE Series อย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะจับๆ เล่นๆ ตาม Shop เสียมากกว่า แต่ครั้งนี้ผมได้นำมาใช้งานก่อนงานเปิดตัวในวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ถึง 4 วันด้วยกัน

ท้าวความก่อนว่า Lenovo ได้เปิดตัว ThinkPad EDGE Series และ X100e (e ที่ผมคิดว่ามาจากคำว่า EDGE นั้นเอง) โดยเป็นการแบก Class ออกมาเป็น 2 ส่วนคือ EDGE Series และ Classic Series โดยที่ EDGE Series ออกมาเพื่อรองรับในกลุ่มตลาดธุรกิจที่เน้นความสดใส ออกแนววัยรุ่นมากกว่า Classic ที่หลายๆ คนมองว่าแก่และดูล้าสมัย (อันนี้ผมก็เฉยๆ นะ แต่ EDGE มันก็สวยไปอีกแบบ และไม่ได้มีแต่สีดำที่หลายๆ คนบอกเชย)

โดยใน ThinkPad EDGE 11” Type 0328-23U ตัวนี้แม้จะมีขนาดเล็ก เบา แต่ขุมพลังด้านในไม่ได้เล็กตาม และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ Netbook แต่คือ Notebook ขนาดเล็ก

a5

โดย EDGE Series นั้นออกแบบมาโดยที่ไม่ได้เอาทุกความสามารถของ Classic Series มาทั้งหมด เนื่องจากคิดใหม่ทำใหม่ EDGE เน้นสวยและดูทันสมัยมากกว่า ไม่ได้อนุรักษ์นิยมแบบรุ่นพี่ซึ่งแน่นอนว่ามันมีแตกต่างหลักๆ คือ…

  • รูระบายน้ำด้านล่างคีย์บอร์ด
  • บานพับไม่ใช่แบบเหล็กกล้า
  • ไม่มีโครงเครื่องสุดแกร่งด้วยแมกนีเซียม Roll Cage
  • ไม่มีไฟส่องคีย์บอร์ด
  • ไม่มี Ultrabay
  • คีย์บอร์ด Layout 7 แถว
  • จอภาพแบบ Glossy
  • การปิดจอภาพใช้แม่เหล็กแทน
  • ไม่ใช่สีดำอย่างเดียว

ThinkPad EDGE 11” ตัวที่ผมนำมาทดสอบในวันนี้ เป็นรุ่นที่ใช้ CPU ของ Intel รุ่น Intel Core Processor i3-380UM (1.33GHz)ที่เป็นแบบ Dual Core + Hyper Threading ทำให้เวลาเราดูจำนวน Processsor ใน Task Manager จะเห็นแบบ 4 Processor ไปเลย จากการทดสอบนั้นสามารถเล่นไฟล์ภาพยนตร์ระดับ HD ได้สบายๆ

c3

โดยเครื่องนี้ให้สเปคมาในระดับที่นำไปใช้ทำงานได้สบายๆ เหมาะสำหรับคนที่ทำงานและเดินทางบ่อยๆ สบายๆ มาพร้อมกับ RAM 2GB ซึ่งเป็นมาตรฐานของ Notebook ในปัจจุบัน แต่ผมแนะนำให้เพิ่มเป็น 4GB หรือมากกว่า แต่อาจจะต้องเปลี่ยนรุ่น Windows 7 เป็น 64bit เพื่อให้ใช้งาน RAM ได้ครบ 4GB หรือมากกว่า

ผมจะพาไปดูตัวเครื่องกันครับ

a1

a2 a3

ตัวเครื่องนั้นเน้นความเงามันที่ฝาหลังเครื่อง แน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงสีดำเท่านั้น ตัวที่ผมได้รับมานั้นเป็นสีแดงสดขอบสีเทาเงิน สวยงาม สาวๆ เห็นแล้วยังอยากได้เป็นทิวแถว

a4

เมื่อเปิดฝาเครื่องมาก็พบกับพื้นที่ดำด้านตามแบบฉบับ ThinkPad Classic เช่นเดิม แต่เส้นขอบเครื่องยังคงความเป็นสีเทาเงินตลอดทั้งเครื่องเช่นเดิม โดยตัวปุ่มคีย์บอร์ดออกแบบมาเป็นแบบ ชิคเคล็ทคีย์บอร์ด (Chiclet Keyboard) แตกต่างจาก ThinkPad Classic ชัดเจน พร้อมจำนวนแถวของคีย์บอร์ดที่น้อยกว่าที่ 6 แถวแทน 7 แถวแบบในรุ่นพี่ๆ แต่เมื่อได้ทดสอบลองพิมพ์และใช้งานนั้นพบว่าการตอบสนองของการกดไม่แตกต่างจาก ThinkPad Classic แม้ว่าตัวเครื่องจะเล็กแต่ตัวคีย์บอร์ดไม่ได้ถูกบีบและออกแบบให้เล็กตาม ยังคงระยะห่างและขนาดปุ่มที่ง่ายต่อการพิมพ์อยู่มาก โดยผมพิมพ์งานและทวีตข้อความอย่างรวดเร็วบน twitter และ facebook พบการพิมพ์ผิดน้อยมาก แม้จะไม่มีการสกรีนตัวภาษาไทยมาให้ แต่ผมก็ยังคงพิมพ์ภาษาไทยบนคีย์บอร์ดตัวนี้ได้อย่างสะดวกสบายและไม่ผิดบ่อยครั้งนักครับ

แต่จุดที่อาจจะดูขัดๆ สำหรับผมคือการใช้งานปุ่ม Function Key F ต่างๆ ที่ต้องการ ต้องทำการกดปุ่ม fn ค้างไว้แล้วจึงกด Function Key F ได้ ตรงนี้สำหรับคนที่ใช้ปุ่ม Function Key F บ่อยๆ แบบผมนี่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ เพราะผมใช้งานปุ่มพวกนี้บ่อยมาก

ตัวเครื่องหนักประมาณ 1.75 กิโลกรัมโดยประมาณ ถ้าร่วมสายชาร์จก็เกือบๆ 2 กิโลกรัม

แน่นอนว่าจอภาพแบบผิวมัน (Glossy) ด้านบนจอภาพมีกล้อง Webcam ความละเอียด 0.3Mbpx พร้อมไมค์ในตัว โดยที่จอภาพมีขนาด 11.6” มี Resolution ขนาด 1366×768 pixel แบบ LED Backlit และจากที่นำมาใช้ดูภาพยนตร์แล้วให้สีสันที่สดใสมากๆ ทีเดียว

c5

จอภาพของ ThinkPad EDGE 11” ตัวนี้นั้นให้ ความกว้างของ Gamut RGB color space ที่อยู่ในมาตรฐานของ Notebook ทั่วไป เพราะฉะนั้นนำไปใช้งานได้หายห่วงและไม่ต้องกลัวว่าการแสดงผลของสีบนจอขนาดเล็กแบบนี้จะแสดงสีแพ้รุ่นใหญ่ โดยจอของ ThinkPad ทุกรุ่นปรกติจะติดสีอมฟ้าอยู่พอสมควร ถ้านำไปใช้งานด้านกราฟฟิกอาจจะต้อง Calibrate Monitor เสียก่อน

a7 a8

ตัวเครื่องมาพร้อมกับ UltraNav (TrackPoint + TouchPad) โดยที่ TouchPad มีขนาดความกว้างเทียบกับ Ratio ของจอภาพเลยทีเดียว และจะเห็นว่าไม่มีช่องเกียวยึดจอภาพแบบ ThinkPad Classic

a10 a11

ตัวบานพับนั้นมีความลื่นในการเปิดและปิดกว่า ThinkPad Classic อยู่พอสมควรเลย ทำให้ถ้านำไปใช้บนรถหรือสถานที่ที่มีการสั่นสะเทือนมากๆ อาจจะต้องจับจอภาพไว้สักหน่อยเพื่อไม่ให้จอภาพพับไปมา เดี่ยวบานพับจะหักเสียก่อน

a13 a12

a14 a15

a16 a17

  • 3 USB (2 Standad, 1 Always On USB)
  • 1 HDMI Port
  • 1 External VGA Port
  • 4-in-1 card reader (MS, MS Pro, MMC, SD)
  • 1 Port 10/100/1000 Gigabit Fast Ethernet

ซึ่งตัวเครื่องนั้นถือว่าไม่ได้บางเท่าไหร่นัก หนาประมาณ 1.1 นิ้วเห็นจะได้ แต่ก็ทำให้จับถือได้สะดวกและเบาทีเดียว

a18

ภายในมาพร้อมกับ …

a19 a24

CPU Intel Core i3 U380 1.33GHz  และ VGA Intel Graphics Media Accelerator HD ซึ่งสามารถเล่น File ภาพยนตร์ HD 720p และ Full HD 1080p ได้สบายๆ

Battery มีให้เลือก 2 ขนาดคือ 3 cell และ  6 cell แต่เครื่องที่ผมได้มานั้น มาพร้อมกับขนาด 3 cell เมื่อผมนำไปใช้งานสามารถใช้ดูภาพยนตร์ DVD ได้ประมาณ 1 เรื่อง (หรือเปิดได้ประมาณ 2 ชั่วโมง) และใช้ทำงานทั่วไปที่ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ แต่ถ้าเป็นแบบ 6 cell ที่ขายกันน่าจะได้เยอะกว่านี้

a21 a22

RAM ขนาด 2GB RAM DDR3 และเหลือช่องสำหรับใส่เพิ่มอีก 1 ช่อง

a23 a20

  • HDD ขนาด 320GB 5400rpm จาก WD
  • WWAN Qualcomm Gobi 2000
  • ช่องใส่ SIM
  • Intel Centrino Wireless-N 1000 (802.11b/g/n)
  • Bluetooth

โดยที่ WWAN Qualcomm Gobi 2000 เป็น WWAN Card ที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยรองรับเครือข่ายดังต่อไปนี้
– GSM/GPRS/EDGE (850, 900, 1800 & 1900MHz)
– HSPA/UMTS (800, 850, 900, 1900 & 2100MHz)
  Up to 7.2Mbps download, 5.76Mbps upload (HSPA/UMTS)
  Up to 3.1Mbps download, 1.8Mbps upload (EV-DO)
– มี GPS และ AGPS ในตัว

การต่อ WWAN สามารถใช้ Utility ชื่อ ThinkVantage Access Connections ได้ทันที โดยผมทดสอบผ่านเครือข่าย DTAC ผ่าน EDGE/GPRS และ 3G พบว่าทำงานได้ดีและสะดวกสบายมาก

c4

คะแนนที่ตัว Microsoft Windows 7 ให้กับเครื่องตัวนี้นั้นถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว (เยอะกว่า Lenovo ThinkPad Z61t ผมอีก ;P)

c2

กล่าวโดยสรุปแล้วนั้น

ข้อดีของเครื่องนี้แน่นอนคือขนาดที่เล็กน้ำหนักเบาเพราะไม่ต้องมีแมกนีเซียมให้หนักเครื่องโดยใช่เหตุ จอภาพขนาดเล็ก เน้นพกพาไปไหนมาไหนแบบสบายๆ โดยมุ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานระดับปานกลาง เหมาะกับคนที่ต้องการเพียงเทคโนโลยีเพียงบางส่วนของ ThinkPad Classic ในราคาค่าตัวที่ถูกกว่า ThinkPad X Series อยู่หมื่น-สองหมื่นบาท พร้อมกับความสามารถในการเชื่อมต่อ Internet ได้ทุกช่องทางในปัจจุบัน ถือว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากทีเดียว

ฝากสำหรับ ThinkPad Fan รุ่นเก๋า แต่อยากได้ ThinkPad EDGE 11” ต้องบอกคุณอีกครั้งว่า

  1. ถ้าคุณไม่แคร์ว่าจะมีรูระบายน้ำด้านล่างคีย์บอร์ดหรือไม่ เพราะปรกติก็ไม่ได้ทานน้ำหรือกาแฟแถวๆ เครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ไม่ค่อยสนใจว่าบานพับจะไม่ใช่แบบเหล็กกล้าที่ทนทานกว่า และบานพับของ ThinkPad EDGE ที่ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างเราๆ ผมคิดว่าก็ดูจะเหมาะสมกับตัวเครื่องที่ทำออกมาให้ดูสวยใส
  3. ไม่ได้เอาไปใช้งานสมบุสมบัน แบบเอาเครื่องมาโยนเล่น ก็คงไม่จำเป็นต้องมีโครงเครื่องสุดแกร่งด้วยแมกนีเซียม เหมาะกับใส่ในเป้หรือกระเป๋าเอกสารทั่วๆ ไปก็พอไหว (อย่างน้อยๆ ก็ใส่ softcase กันรอยสักหน่อยก็พอ)
  4. คิดว่าส่องคีย์บอร์ดมันไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่
  5. CD/DVD Drive ไม่ได้มีความจำเป็นอะไร นั้นทำให้ Ultrabay หมดความหมายไปในทันที
  6. เฉยๆกับคีย์บอร์ด Layout เดิมๆ และคิดว่า Layout 6 แถว ก็ทำงานได้ดีไม่แพ้รุ่นเก๋า แถม chiclet keyboards ก็ดูดีไปอีกแบบ
  7. อยากได้จอภาพแบบ Glossy เกลียดขอเกียวจอแบบเดิมๆ

และสุดท้ายน่าจะเหมาะกับคนที่ไม่อยากได้สีดำ  ผมเชื่อว่า ThinkPad EDGE 11” เป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียวครับ

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ ThinkPad EDGE 11” ที่นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

a25

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่

รายการเว็บด้านล่างนี้คือเว็บที่เราให้นำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อได้

  • Blognone.com
  • ThaiThinkPad.com
  • Lenovo.com

ย้ำอีกครั้ง “หากต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อไป”

3 thoughts on “Review – Lenovo ThinkPad EDGE 11””

  1. “ข้อดีของเครื่องนี้แน่นอนคือขนาดที่เล็กน้ำหนักเบาเพราะไม่ต้องมีแมกนีเซียมให้หนักเครื่องโดยใช่เหตุ”

    => น.น 2 โล นี่ไม่เบานะค๊าาา สำหรับผู้หญิง

    • น้ำหนักเฉพาะเครื่อง 1.75 โลก็ถือว่าเบานะครับ ยี่ห้ออื่นที่เจอเบาสุดก็ 1.6 โล (Fujitsu) แค่นี้ก็เบาแล้วล่ะครับ

Comments are closed.