Intel Insider Day (วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน, วาวี คอฟฟี่ ซอยอารีย์)

ผมได้รับเชิญจากทางบริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ให้ไปเข้าร่วม Intel Insiders Day (ไม่แน่ใจว่ารอบที่เท่าไหร่แล้วแต่น่าจะมากกว่า 2 เพราะรอบนี้ผมไปครั้งแรกครับ) โดยอินเทลจะเชิญบล็อคเกอร์ พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดชั้นสองของร้านวาวีคอฟฟี่ โดยงานนี้ผมขอสรุปใจความสำคัญเท่าที่จำได้มานะครับ

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

เมื่อเริ่มงานก็บรรยายเล็กน้อยประกอบกับการตามตอบเป็นระยะๆ ไม่ใช่แนวบรรยายในห้องเรียนสักเท่าไหร่ เพราะทางอินเทล เชื่อแน่ว่าทุกคนที่มางานก็ติดตามข่าวสารของอินเทลอยู่แล้วไม่น่าพลาดในรายละเอียดทั่วไปเท่าใดนัก

DSC_8982

ประเด็นที่คุณเอกรัศมิ์หยิบยกมาเป็นอย่างแรกคือ การผสมการทำงานในทุกๆ ระดับที่สามารถทำได้ และอินเทลคิดการณ์ใหญ่ในการนำชิปประมวลผลของตัวเองลงไปในทุกๆ อุปกรณ์ที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางในทุกระดับตั้งแต่ระดับ Enterprise (Super Computer) จนถึงระดับ Consumer ทั่วไปที่บุกไปถึงห้องนั่งเล่นและอุปกรณ์พกพาทุกรูปแบบ โดยใช้ Atom เป็นหัวหอกในด้านนี้ โดยรหัสพัฒนาที่ชื่อ Medfield  ที่จะออกมาในอนาคตอินเทลได้บอกเป็นนัยๆ ว่าจะมีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่นำไปใช้งาน โดยที่ราคาของ Atom นั้นจะลดต่ำลงจนสามารถสู้กับ ARM ในด้านราคาได้มากกว่านี้ และสิ่งที่อินเมลมั่นใจว่า Atom จะไปได้ดีคือ ARM นั้นจะทำให้นักพัฒนาที่อยู่บน x86 เข้าถึงได้ยากเพราะต้องเรียนรู้และศึกษาใหม่เยอะ และอาจจะไม่คุ้ม การที่ Atom ลงมาแข่งทำให้ x86 บุกเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ทำให้นักพัฒนามีทางเลือกนอกจาก ARM

ซึ่งทางคุณเอกรัศมิ์ ระบุต่อไปอีกว่า Atom จะถูกนำมาใช้ในงาน SoC (System On Chip) มากขึ้น และกินไฟน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่ใช่ปัญหาและข้อแตกต่างจาก ARM ในสถาปัตยกรรมที่ผลิตเล็กลงเรื่อยๆ นำไปสู่การเอาไปใส่ในอุปกรณ์ทั่วๆ ไปมากขึ้น

DSC_8979

ซึ่งสิ้นปีและต้นปีหน้า เราจะเห็น Atom ที่เป็น Series ใหม่ๆ ออกมา โดยตัวที่มุ่งเน้นก็คงเป็น Z-Series สำหรับโทรศัพท์มือถือ และ CE-Series สำหรับ TV ที่ไม่แน่ว่าเราอาจจะเห็นมากขึ้นในปลายปีนี้

DSC_8992

โดยทางคุณเอกรัศมิ์บอกต่อไปอีกว่าอินเทลมองเห็นทิศทางของ Netbook จะไปได้ไกลในปีนี้และต้นปีหน้า เพราะราคาของ Windows ที่ถ้าผู้ผลิตได้ราคาลิขสิทธิ์จากทาง Microsoft ต่อเครื่องลดต่ำลงเพื่อลงมาสู้กับ Android OS และ Ubuntu Linux เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโดยตัดราคาให้ได้ส่วนแบ่งมากที่สุดก่อนเน้นมูลค่าทางการตลาด

DSC_8984

สำหรับ CPU Desktop ที่สามารถนำไป Overclock ได้โดย "ไม่หมดประกัน" และทำได้ง่ายๆ ผ่าน Software คือ K-Series ซึ่งเป็น Core รุ่นที่ Overclock ได้  ซึ่งการรับประกันตัว CPU จะยังคงอยู่ แต่ถ้า Overclock แล้วไปทำไหม้ก็ไม่รับประกันนะครับงานนี้ (คือข้างกล่องจะมีบอกว่า limit ของ CPU จะได้สูงสุดเท่าไหร่ถึงจะมีผลทำให้ไหม้ได้) ซึ่งรุ่นนี้จะไม่มีพัดลมมาชุดติดตั้ง เหตุผลเพราะคนที่เอามา Overclock มักใช้อุปกรณ์ระบายความร้อนที่ซื้อแยกต่างหากอยู่แล้ว

สำหรับเหตุผลว่าทำไมถึงทำ K-Series ออกมาให้ Overclock ได้ทั้งๆ ที่น่าจะทำ CPU ออกมาในขนาดความเร็วเท่านั้นไปเลย เหตุผลทางคุณเอกรัศมิ์ บอกว่าเป็นเหตุผลทางการตลาดและความสามารถในการผลิตตัว CPU ต่างๆ ในแผ่น Wafer เดี่ยวอาจจะเอามาทำรุ่น K-Series ได้ในจำนวนหนึ่งเท่านั้น รวมไปถึงบางครั้งความต้องการของ CPU บางรุ่นอาจจะต้องเอา Core CPU ที่ผลิตไดไป underclock เพื่อเอาไปขายให้ทันส่งลูกค้า นั้นคือเหตุผลว่าทำไม CPU บาง lot ที่ขายๆ กันในอดีต-ปัจจุบันจึงสามารถ Overclock ได้ในระดับสูง ในบาง lot บางช่วงเวลานั้นเอง ซึ่งอินเทลก็ใช้จุดนี้มาทำการตลาดแบบนี้เช่นกันใน K-Series นั้นเอง

สำหรับสุดท้ายตลาด Enterprise นั้นทางอินเมลระบุว่ากำลังไปได้ดีในตลาดนี้ ดูได้จากส่วนแบ่งในการนำไปใช้ในตลาด Super Computer ขนาดใหญ่ที่มีรายงานออกมาจากทาง TOP500 เมื่อไม่นานมานี้ ที่การใช้งานเป็น Xeon อยู่ 80% และคาดว่าจะกินส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในอนาคตเป็น 90% ได้ในไม่นานนี้

สำหรับข้อมูลอื่นๆ เก็บตกบางส่วน อ่านได้จาก Intel Insider Day: Medfield จะทำให้เราประหลาดใจ, TSMC ไม่เคยได้ผลิตชิป Atom ครับ