Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ

นับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad brand จาก IBM ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นในด้านการออกแบบอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าคุณสมบัติดีๆ หลายๆ อย่างถูกใส่เข้ามาไม่หยุดซึ่งก็ได้แก่

  1. Roll Cage (โครงเครื่องที่ผลิตจาก Magnesium) ทั้งตัว
  2. Touchpad ที่ใหญ่ขึ้น ช่วยในการวาดและทัชได้ง่าย
  3. ยังคง Trackpoint ที่ทำให้การใช้งาน cursor นั้นทำงานได้โดยไม่ต้องละมือออกจากตัวคีย์บอร์ด
  4. การรองรับ WWAN สำหรับติดต่อ 3G ได้ทั่วโลก
  5. การออกแบบบานพับที่เปิดได้ราบรื่นมากขึ้น
  6. คีย์บอร์ดที่มีการพัฒนาในด้านของการจัดวาง ตั้งแต่ในรุ่น T400 – T420
  7. กล้อง Webcam และไมค์ที่รองรับการประชุมแบบ VOIP ได้ดี
  8. มาตรฐานการออกแบบด้านระบบระบายความร้อนที่เงียบและระบายความร้อนได้ดี
  9. การใช้ Carbon Fiber กับฝากหลัง T Series เพื่อทำให้ฝาหลังบางลง
  10. การใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings ทำให้ผิวสัมผัสที่ฝากจอดูจับได้สบายขึ้น
  11. การมีตัวเลือกจอภาพแบบ Anti-glare IPS Panel เพิ่มเติมเข้ามา
  12. การยังคงไว้ซึ่งการเชื่อมต่อกับ VGA port ที่ยังเป็นมาตรฐานอยู่ใน projector ทั่วโลก

และอีกมากมายที่ทำให้ ThinkPad นั้นยังคงเหมาะสมกับ Business Notebook อยู่เรื่อยมาในด้านความทนทานและการใช้งานที่ตอบโจทย์ของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่กับ Notebook ตลอดทั้งวันได้สบายๆ แต่ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงในตัว ThinkPad ก็เกิดขึ้นตามความคาดหมาย หลังจากการมาของ ThinkPad Edge ได้เพียงไม่นาน (ประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้) โดยการมาของ ThinkPad Edge นั้นเป็นเหมือนการลองตลาดของการปรับเปลี่ยนตัว ThinkPad Classic ทีละน้อยตามแนวคิด ThinkPad ของ Lenovo เอง ซึ่งเมื่อสิ่งที่ใส่มาใน Edge Series ได้รับผลตอบรับที่ดี (คงเพราะราคามันถูกเลยขายได้ดี) ก็จะค่อยๆ ใส่ลงมาใน Classic Series แบบไม่ต้องสงสัย และแล้วในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา เป็นปีของ “ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ThinkPad Classic Series หมดความน่าสนใจลงไปจนหมดสิ้น” อย่างแท้จริง!

t431s-hero-tabbed

ThinkPad Classic Series ในปี 2012 นั้นมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ThinkPad ที่มีอายุของแบรนด์กว่า 20 ปี นั้นคือการปรับเปลี่ยนจาก Traditional Keyboard มาเป็น AccuType keyboard (อ่านเรื่องราวต่อได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)) และหลังจากนั้น ด้วยผลตอบรับที่ “คิดว่าดี” ของ AccuType keyboard ที่เปลี่ยนเข้ามาใน ThinkPad รุ่น 2012 (จริงๆ มีแฟนๆ เริ่มบอกว่า Lenovo ขาย ThinkPad ได้ในตอนนี้เพราะบุญเก่าที่ทำมาสมัย IBM เยอะมาก) ทำให้ในปี 2013 นี้ Lenovo ทำได้ทำลายภาพของ ThinkPad แบบเดิมไปจดหมดสิ้นแล้วด้วยการออกแบบตัว ThinkPad ทั้งหมดบนแนวคิดใหม่ในรุ่น ThinkPad T431s ที่มีการปรับเปลี่ยน Keyboard อีกครั้ง และนี่เป็นการปรับเปลี่ยนลักษณ์ของ Keyboard ครั้งที่เท่าไหร่แล้วของ Lenovo ของ Lenovo? ซึ่งถ้านับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad จาก IBM มา ได้มีการปรับเปลี่ยน Keyboard ซึ่งมีความหลากหลายของ Keyboard เกือบ 10 แบบทั้ง ThinkPad Edge และ ThinkPad Classic

การหายไปของ Traditional Keyboard นั้นทำให้เหล่าผู้ใช้งานรุ่นเก่าเริ่มมองยี่ห้ออื่นๆ มาทดแทนมากขึ้น การใช้ AccuType Keyboard นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับการปรับเปลี่ยนการจัดวางปุ่มใหม่ที่ทำให้ Home/End, PgUp/PgDn และ F 1-12 นั้นอยู่ชิดติดกันจนทำให้การพิมพ์เอกสารและการป้อนตัวอักษรนั้นยุ่งยากมากขึ้น รวมไปถึงปุ่มหลายๆ ปุ่มถูกนำไปใช้เป็น Shortcut Key แทนการกดปุ่มตามมาตรฐาน IBM Keyboard ไปเสีย เพราะคนใช้งาน ThinkPad กว่าครึ่งซื้อ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดที่ได้สัมผัสที่ดี มีการจัดวางปุ่มที่ใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดของ Desktop Computer ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการพิมพ์ซึ่งเหมาะกับองค์กรและคนที่ต้องทำงานสลับไปมาระหว่าง Notebook และ Desktop Computer อย่างมาก และแน่นอนว่า Traditional Keyboard นั้นเหมาะอย่างมากในการทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows ได้อย่างดีมากๆ แต่ Lenovo กลับคิดว่าโลกนี้มีเพียง Microsoft Windows ที่เป็น OS เพียงหนึ่งเดียว ปรับเปลี่ยนปุ่มอย่าง Pause/Insert/Break ไปในจุดที่ยากต่อการใช้งาน ทำให้ความน่าสนใจในการซื้อ ThinkPad มาใช้งานดูลดน้อยลงไปในกลุ่มของ Business Notebook ขึ้นเรื่อยๆ และถ้ายังจำกันได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน Lenovo: Design Blog ได้บอกกับผู้ใช้ว่าปุ่ม Esc และปุ่ม Delete มีการใช้งานมาก จึงได้ปรับเปลี่ยน Traditional Keyboard ในตอนนั้นในรุ่น T410 และ T420 ให้ใหญ่ขึ้น และนั้นดูสมเหตุสมผลมาก และเป็นสิ่งที่แฟนๆ ชื่นชม แต่มาในปีที่ผ่านมา Lenovo กลับทำตรงข้ามกันคือทำให้ทัั้งสองปุ่มนั้นเล็กลง เพียงเพื่อให้มันเข้ากับ 6 row ของ AccuType Keyboard ตัวเอง คำถามที่ Lenovo ต้องตอบแฟนๆ คือ “สิ่งที่ทำมามันเป็นการตลาดเฉยๆ ?” ซึ่งโดยส่วนตัวผิวสัมผัสในการพิมพ์ AccuType Keyboard ไม่ได้แย่ แต่พลาสติกและตัวเนื้องานนั้นแย่ มันให้สัมผัสแรกในการใช้ที่บอบบางและดูราคาถูกลงกว่า Traditional Keyboard อย่างมาก และนั้นทำให้ X1 Carbon ดูราคาถูกลงไปเลยในสายตาของแฟนๆ ที่กำลังจะซื้อมาใช้งานในราคาที่แฟนๆ ต้องจ่ายที่ดูแพงกว่าความเป็นจริง

ในปีนี้ (2013) ปุ่ม Trackpoint ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ก็เริ่มหมดความสำคัญไป การมาของ ThinkPad Buttonless Trackpoint นั้น ทำให้แฟนๆ ThinkPad ได้ลองสัมผัสกับ Buttonless ของ Touchpad ใน ThinkPad X220/X230 มาก่อนหน้านี้แล้วบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห่วย” และนั้นกำลังเกิดขึ้นกับ Trackpoint ที่เป็นสัญลักษณ์มาอย่างยาวนานของ ThinkPad กว่า 20 ปี และคาดว่าจะได้สัมผัสการกดที่ไม่แตกต่างจาก Trackpad ของ Macbook เท่าไหร่นัก ซึ่งนั้นอาจเป็นจุดจบของ ThinkPad ได้ไม่ยาก

การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่องรุ่นหลังๆ เพราะไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบนไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องคีย์บอร์ด แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการหายไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟส่องคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา

การเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนอาจไม่ทราบในปี 2012 คือรูปแบบช่องเสียบ Charger ที่มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้งในรอบ 5 ปี ซึ่งกว่า 10 ปีของ ThinkPad นั้นหัวเสียบ Charger  ยังคงใช้แบบเดียวตลอดมา ทำให้รุ่นเก่า-ใหม่สามารถใช้หัวเสียบ Charger ร่วมกันได้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนช่องเสียบ Charger ใหม่ถึง 2 รอบ ทั้งแบบกลม (รุ่นก่อนปี 2012) และแบบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า (รุ่น X1 Carbon ปี 2012 และรุ่นปี 2013) ทำให้การใช้งานร่วมกันของ Charger ระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่นั้นทำไม่ได้เลย และอีกทั้งยังไม่มีคำตอบจากทาง Lenovo ว่าจะมีการออกตัว Convertor ของช่องเสียบที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือไม่

เอกลักษณ์ของ “สีดำสนิท” ถูกแทนที่ด้วย “สีดำผสมสีตะกั่ว” (Black to Graphite Black) โดยใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings  มากขึ้น ทำให้การหยิบ ThinkPad ออกมาใช้งานไม่ได้มีเอกลักษณ์ใดให้คนได้เห็นว่าคุณใช้ ThinkPad อีกต่อไป ซึ่งถ้าให้เทียบก็คงออกแนวเดียวกับค่ายรถ Ferrari ไม่ขายรถสีแดงอีกต่อไปแล้วนั้นเอง ซึ่งจากการนำ Polyurethane Soft-touch Coatings  มาใช้มากขึ้นนั้น ทำให้รู้ว่า Lenovo นั้นไม่ใส่ใจต่อปัญหาของ Polyurethane Soft-touch Coatings  ที่มีเสียงตอบรับไม่ดีตลอดมานับตั้งแต่มีการใส่เข้ามาที่ฝาหลังเครื่อง ThinkPad แต่อย่างใด ปํญหาทั้งการหลุดล่อนออกมาเมื่อมีการขัดสีกับพื้นผิว การดูแลรักษาที่ยากเพราะเป็นรอยเปื้อนได้ง่ายและทำความความสะอาดยาก ทำให้ตัวเครื่องดูเก่าได้ง่ายมากขึ้น ทำให้แฟนๆ รุ่นเก่าๆ เริ่มรู้สึกว่าไม่ทนทาน ดูเก่าง่ายมากกว่ารุ่นเดิมๆ อย่างมาก

การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ของ Lenovo ที่ใส่ลงไปมาใน ThinkPad นั้น ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับ Consumer Notebook ที่เป็นสีดำ และเป็นการผลักไสแฟนๆ ของ ThinkPad ให้ไปใช้งานยีห้ออื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มี Keyboard ที่ดึงดูดการใช้งานที่ดี, Trackpoint ที่เริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งาน, สีดำด้านที่ดูแลรักษายากขึ้น จอภาพที่มีคุณภาพแย่ลงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาด เอาง่ายๆ แค่ว่าจอภาพมือถือ Nokia Lumia 920 ผมยังได้คุณภาพและความละเอียดที่ดีกว่าจอภาพ ThinkPad T420 ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือ ThinkPad T430 ที่ขายในท้องตลาดตอนนี้ และ ThinkPad T431s ที่กำลังออกมาขายนั้นยังให้ความละเอียดจอภาพที่น้อยกว่า Samsung Galaxy S4 หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมาในตลาดปีนี้อีกหลายรุ่น และ Lenovo ต้องคิดใหม่ในเรื่องนี้ได้แล้วว่าจอภาพ Full HD และ IPS Panel คือสิ่งที่ตลาดต้องการ ทั้งยังไม่รวมเรื่องของการอัพเกรด RAM ที่ยากขึ้น เพราะเริ่มใช้แนวคิดการใส่ตัว RAM ลงบน M/B ทำให้อัพเกรดไม่ได้ หรือมีช่องใส่ RAM เพียงช่องเดียว รวมไปถึงมีหลายๆ รุ่นที่ไม่สามารถเปลี่ยน Battery ได้ง่ายแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้ความสามารถในการอัพเกรดนั้นลดลงไปอย่างมาก

เหตุผลง่ายๆ ที่แฟนๆ ยังใช้ ThinkPad อยู่ในตอนนี้คือ Keyboard และ Trackpoint ถ้ามันหมดไป แล้วทำไมต้องซื้อ ThinkPad เพราะการโฆษณาว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” นั้นไม่ได้ช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้งาน Notebook กว่า 90% ต้องใช้งาน Notebook ผ่านสิ่งเหล่านั้น และจากการที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ที่ซื้อ ThinkPad ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บอกกับผมว่า ThinkPad ในตอนนี้มีเนื้องานผลิตที่ไม่ได้รู้สึกว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” แต่อย่างใด เพราะจากการเฝ้ามองการที่กลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ก็บ่นกับมากขึ้นว่าเสียง่ายขึ้น ความทนทานเป็นแค่ราคาคุย เหมือนไม่ได้ผ่าน QC รวมไปถึงงานประกอบที่เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ นี่ยังไม่รวมถึงบริการหลังการขายที่มีปัญหามากกว่าแต่ก่อนทั้งในไทยและในต่างประเทศเอง

และทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา เหล่าแฟน ThinkPad คงต้องกลับมาตอบคำถามตัวเองแล้วว่า แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

Change is hard. But wrong change is a disaster !!!

Lenovo’s Mission complete. Last ThinkPad traces destroyed at all.

R.I.P. ThinkPad (1992 — 2011)

Congratulations Lenovo for removing everything that makes a ThinkPad a ThinkPad.

3 thoughts on “Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ”

  1. การทำลายมันง่ายกว่าการสร้างเยอะ ที่แย่คือทำตัวเองนี่แหละ จะโทษใครได้ รักสุดใจแต่ก็ทนเธอไม่ไหวแล้วจริงๆ เครื่องหน้าก็ลาขาดแล้วล่ะจ้ะ

  2. หรือ Lenovo ถือหุ้น Apple อยู่เยอะ? (หัวเราะทั้งน้ำตา)

Comments are closed.