อนาคตเราใครกำหนด (2)

“มันน่าจะเป็นสภาวะก้ำกึ่งนะ เช่น เราอาจจะดับดวงอาทิตย์ได้ อาจจะมีชีวิตอยู่ไปจน
จักรวาลสิ้นสุดได้ แต่เราก็จะมีมวลไม่พอจะล้มล้าง sigularity หรือ เราคงหยุดการ
สิ้นสุดของจักรวาลไม่ได้ เพราะชีวิตก็มีกรอบของมัน หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่คำตอบ
สำหรับชีวิตทุกชีวิต ดังนั้นส่วนตัวคิดว่า การกำหนดบทบาทตัวเอง เป็นสภาวะขับเคี่ยว
(dual state nature) ของ self (อัตตา) กับ universe (ปรมัตตา,อนัตตา)
จริงๆคิดว่า อะไรที่ทำแล้วมีความสุขความสงบก็น่าจะเป็นทางออกของชีวิต แต่ปัญหาคือ
ไอ้พวกที่มันไม่คิดอย่างนี้มันมักจะมายุ่มย่ามกับชีวิตเราและทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุข :)

จาก ที่ได้อ่านไปแล้วในตอนแรกนะครับ ก็อย่างที่ว่าไปแล้ว เราคนไทยมอง และกำหนดคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า เค้าเป็นเรา หรือเราเป็นเค้า หรืออย่างไร จริงๆ

ผมว่าไม่ควรกำหนดว่าใครต้องทำอะไรเพื่อใคร ถ้าเค้าไม่เต็มใจทำ แต่ที่แย่กว่าคือ เมื่อเค้าทำตามอย่างที่เราต้องการแล้ว ! ดันไปบอกว่ามันยังไม่ดี หรือยังดีไม่พอ มันดูเป็นการตั้งความหวังในตัวเค้ามากเข้าไปอีก เออ มันกลายเป็นการบันทอน ศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการทำงานรวมถึงกำลังใจ เข้าไปอีก

แต่เหตุและปัจจัยที่ผมได้กล่าวไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้มากนัก แต่อยู่ที่ค่านิยมครับ

สังคมเราเปลี่ยนไปหรือเปล่า ?

เปล่าเลย มันเป็นมาแต่เริ่มมีระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยแล้ว หล่ะ

เราคาดหวังกับการเรียนว่าออกมาต้อง “เข้าไปรับราชการ” กันมากเกินไป เราไม่ได้มองถึงส่วนที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่า “จบออกมาต้องเป็นหัวหน้า หรือผู้สร้าง ในอีกนัยความหมายนึงคือเจ้าของกิจการ รวมถึง สร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา”

รวมถูกสอนให้ “ตาม หรือลอก” มากกว่า “คิด และสร้าง”

ช่างน่าภูมิใจที่เราเป็นนักลอกเลียนที่เก่ง แต่เรากลับสร้างได้น้อยมาก …..

ปัญหาคือ !!!

เราไม่มี R&D รองรับมากเท่ากับคนจบ หรือคนเก่งๆ

คำตอบคือ !!!

มันทำให้เกิดปัญหาคนเรียนเปลี่ยนสายการเรียน เพราะ “เรียนไปแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรได้มากเท่าที่เห็น” หรือ “มองที่ด้านหลังของคำถามมากกว่า ด้านหน้าของคำตอบที่ออกมา”

ก็อย่างที่บอกในตอนที่แล้วว่า “มองผล ก่อนเหตุ” มอง “ตัวงานที่จะทำ มองค่าตอบแทน ค่านิยม หรือความเท่ห์ ก่อนความพอใจ หรือความสนใจ ของเรา”

แล้วจะไปรอดหรือ ……. ?

คนมันไม่มีใจเรียน มองแต่การตอบแทนในอนาคต คือบางคนมองด้านเดียว บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนไปทำไม หรือเอาไปทำอะไร

ตีโจทย์ในการค้นหาตัวเองไม่ออก ก็เหมือนกับ คนเดินป่าไม่รู้ทิศทาง

ชีวิตมันไม่ง่ายเหมือนกับ จีบสาว หรือชงเหล้า ….

ถ้ามันง่ายขนาดนั้น ป่านนี้คงไม่มีคนจนหรอก ….. ซึ่งเรามองแต่ด้านนอก เรามองที่มายา เราโดนการตลาดของ สื่อยัด เขาขยะเข้าหัว ขยะโฆษณาที่พร้อมจะทำให้เราตกเป็นทาสของมันได้ไม่ยาก

ใครเป็นคนกำหนดว่า เราต้องใช้ หรือไม่ใช่สินค้านั้นๆ นอกจากตัวเราเอง แล้วทำไมเราต้องไปตาม มันด้วย

อีกอย่างที่ตอนนี้เราตกเป็นทาส “เทคโนโลยี” มากมายเกินไป …. แถม ไม่ยอมรับในสิ่งที่คนไทยด้วยกันเองผลิต แต่กลับไปชื่นชม สินค้าต่างประเทศ มากกว่า

เพราะเราไม่เคยมองว่ามันดี ทั้งๆ ที่ของที่เราผลิต ต่างประเทศยอมรับมากมาย ขึ้นชื่อว่าสินค้า เกรด A ด้วยซ้ำไป

เรากำลังดูถูกตัวเอง ดูถูกคนในชาติกันเอง มันเลยย้อนกลับมาคนคนรุ่นใหม่ และทัศนคติใหม่ๆ ว่า …

“คุณต้องออกมาทำงาน ไม่ต้องคิดเองหรอก เอาความรู้ที่ได้มา เอามาทำยังไงให้มันขายได้เป็นพอ ส่วนเรื่องอื่น นายจ้างจัดการเอง”

เวรกรรม กลายเป็นว่าเราเป็นเครื่องจักรไปซะแล้ว

เอ้า !!! กลับมาที่เรื่องเราต่อ เท้าความมากเกินไปเดี่ยวออกทะเลอีก ……..

เราจะเห็นได้ว่าสังคมเรานั้นชอบกำหนดตัวบุคคล ทุกๆ คนว่าต้องไปตามนี้มากกว่า จะถามเค้าว่าอยากไปทางไหน เรากำหนดโดยยึดตัวเราว่า เราทำได้ เค้าต้องทำได้ ….

อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นชัด …… และชัดมากคือ มาตรฐานการเรียนการสอน การออกข้อสอบ …

เราสอนให้ทำ ให้ท่อง แต่ไม่ได้สอนให้ “เข้าใจ” ทำให้เราเรียนขั้นสูงแล้วหัวไม่ดี หางก็เสีย สรุป ตายน้ำตื่น ……

ตัวอย่างง่ายๆ คือ พีรามิด …… หรือรากของต้นไม้ …. มันต้องเริ่มจากฐานที่แน่นหรือใหญ่ หรือรากต้นไม้ที่ฝั่งลึกลงไปไปในดิน

แต่เรากลับไปเอาแต่กิ่งได้ ก้าน หรือลำต้น กันก่อน ……

อย่างใกล้ตัวที่สุด เรื่องการเรียนคอมฯ ถ้าไม่เข้าใจหลักการทำงานของคอมฯ คือ Computer Architecture หรือ Computation Theory แล้ว เราจะมองอะไรได้น้อย และเข้าใจมันลำบาก หรืออาจจะแค่ท่องๆ มันเท่านั้น ให้ผ่านๆ ไป แล้วก็สอบ

แล้วอย่างนี้ พอไปเจอตัวต่อไป ก็หน้าหงายครับ เพราะว่ามันใช้พื้นเดิมมาช่วยกัน ปัญหานี้เจอมากับตัวเลยต้องไปนั่งอ่านใหม่อีกรอบ มันถึงจะไม่งง ถึงได้เข้าใจเลยว่าพื้นไม่ดี ก็จบกัน …..

นั้นก็เหมือนกับที่ผมเขียนมายืดยาวครับว่า

“ถ้าไม่รู้จักตัวเอง, ไม่มีจุดยืดที่แน่นอน และสร้างสรรค์ ก็หาทางไปไม่เจอ เราก็จะโดนคนอื่น(สังคม) กระทำอย่างที่เค้าต้องการ รวมถึงค่านิยม และสื่อโฆษณาที่ประดังเข้ามา โดยเฉพาะสังคมที่พร้อมจะเหยียบคุณเมื่อคุณแพ้ได้เสมอ ซึ่งถ้าคุณไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แล้วก็ยากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไข หรือสร้างใหม่ได้ คนรุ่นใหม่ มักจะกลบความอ่อนแอด้วยการแสดงออกไหนหลายรูป ทั้งดี และไม่ดี ความอ่อนแอเหล่านี้ถ้าเราสร้างมันเป็นจุดด้อย มันจะกัดกินเรา แต่ถ้าเราสร้างมันให้กลายเป็นปมเขื่องใจ บอกให้สู้กับมัน น่าจะดีกว่ามันนั่งกลบมันไว้”

(ปมเขื่อง ตรงข้ามกับปมด้อย)

อยากให้คนที่ได้ blog เข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับชีวิต มากกว่าที่จะไหลไปตามกระแสสังคม มันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ว่ามันดีกว่าเราไหลไปแล้ว หาจุดยืนไม่เจอ ……

“คนเราล้มแล้วลุกยืนที่มั่นคงเดินไปในสิ่งที่ต้องการ ดีกว่ายืนแล้วเหมือนคนเมาใครจูงไปไหนก็ไป”