อนาคตเราใครกำหนด

นี่คือคำถามที่ใครหลายคนคิดไว้ในใจ ตั้งแต่ เราเริ่มรู้หลักเหตุ และผล รวมถึงเสรีภาพในด้านต่างๆ

ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน การเรียนก็ดี ทั้งในระดับ ประถมฯ, มัธยมฯ, สถาับันด้านวิชาชีพต่างๆ หรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยฯ (หมายรวมถึงสถาบันที่ว่าด้วยการจบมาได้วุฒิปริญญาตรี) ถึงแม้เป็นการศึกษาที่เราๆควรจะได้ศึกษากันทุกคน หรือย่างน้อยๆ ก็มีความรู้ติดตัว

แต่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดตัวเองเสียแล้ว ในเรื่องที่ว่าเราจะได้เล่าเรียน หรือจะได้เรียนให้สิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่สนใจหรือไม่

เรากลับหันหลัง และมองในสิ่งที่ชอบ ที่สนใจ ที่รัก เป็นงานอดิเรก หรืองานที่ทำยามว่างเท่านั้น

แต่เราหน้าไปหาสิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดแทน น่าแปลกที่สิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดนั้น 80% ของคนที่ทำให้ตัวเองอยู่รอด ไม่มีความสุขในสิ่งที่ทำ เพราะด้วยเหตุและปัจจัยรอบด้าน รุมเร้าให้ต้องทำ เช่น ต้องส่งเสียเหล่าพี่น้องในครอบครัว, ทำให้ได้ดั่งใจพ่อแม่, เพราะตามเพื่อนจนตัวเองลำบาก ฯลฯ ปัญหาอีกมากมายนานับประการนี้ มีปัญหานึงที่เราจะมาพูดกันในวันนี้คือ “ค่านิยมในอาชีพของสังคมไทย”

จริงๆ ไม่อยากหยิบเรื่องเหล่านี้มาพูดหรือมาเขียนหรอก เพราะอาจโดนตีหัว หรือโดนต่อต้านได้ แต่มันรู้สึกว่ามันหน้าจะสะท้อนอะไรในสังคมไทย ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ผมเห็นเพื่อนๆ ผม ,รุ่นพี่ หรือรุ่นน้องผม มักถามผมตอน ม.6 ก่อน Entrance ว่า จะไปต่ออะไรหล่ะ แล้วจบไปอยากทำงานอะไร ผมต่อว่า อยากเรียน “วิทยาการคอมพิวเตอร์” เหล่าคุณครู หรือแม้แต่เพื่อนๆ มองผมด้วยสายตา สงสัยในตัวผมด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่า “ไอ้ฟอร์ด เก่งคอมฯ ตายห่า เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หล่ะ” ทุกคนถามผมด้วยคำถามนี้จนต้องมาอธิบายยืดยาว …….

ใช่ผมอยากเข้า “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นวิชาเอกที่ชื่อดูดี “แต่ผมอยากเรียน” แม่ผม ก็ถามด้วยคำถามนี้เหมือนกัน แต่ก็ด้วยว่าผมยืนกราน แน่วแน่ แล้วท่านก็ปล่อยถามความคิดของผม เพราะท่านให้อิสระกับการตัดสินใจของผมอยู่แล้ว

ทำไมหล่ะ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หางานง่ายกว่า เท่ห์ กว่าด้วย สาวกรี้ด อีกต่างหาก จบไปบอกว่าจบ วิศวกรรม ใครๆ ก็มองว่าคนเก่ง แต่พอบอกว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์ กลับมองเหมือนพวก คนชั้น 2 – 3 ไปได้ ……”

น่าคิดนะ “สังคมไทย เป็นอะไรกันไปแล้ว”

เรามองคนระดับหัวกระทิผิดแนวทางกันไปหรือเปลา่ ???

จริงอยู่คนที่เข้าคณะวิศวกรรม คือคนเก่ง คนมีคะแนน Entrance สูง แต่ที่มันสูงเพราะค่านิยมมิใช่หรือ คนแห่กันไปเข้า คะแนนมันก็ปีนกันไป จนมันสูงโด่ง …….

รากหญ้าแห่งการแก้ปัญหาทั้งหมด คือ “วิทยาศาสตร์” แต่เราคนไทย มอง เป็นเพียงแค่วิชาที่เอามาใช้การอะไรได้ยาก เพราะอะไรหรือ ???

เพราะ “เราไม่ได้ผลิต นวัฒกรรม ต่างๆ ขึ้นใจเอง เราเป็นเพียงแค่ ประเทศผู้ถูกจ้างให้ผลิตสินค้าตามที่ต้องการ” ซึ่งทำให้เรา มองสิ่งที่เรียกว่า “รากแห่งความรู้เป็นเรื่องรองๆ” แทนที่จะมองเป็นเรื่องหลัก

เรามีนักวิชาการที่จบ ปริญญาเอก หรือสูงกว่านี้ นั้นน้อยมาก และในตอนนี้เราน้อยกว่า เวียดนาม แล้ว และเมื่อ 50 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เราได้ส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่อเมืองนอกมากมาย ตอนนี้เค้ากลับมาใช้สิ่งที่ควรมากเพียงใด หลายคนจบมา อุดมการณ์แรงกล้า หวังกลับมาช่วยชาติบ้านเมืองพัฒนา ด้วยแนวคิดใหม่ๆ แต่กลับถูก วัฒนธรรมองค์กรแบบ “ข้าราชการ ไทยเช้าชาม เย็นชาม เ้ข้าเสียส่วนมาก” เพราะทำอะไรเกินหน้าเกินตาเจ้ากระทรวงไป, เจ้านาย หรือหัวหน้า ก็จะโดนเล็งหมายหัว หรือจะโดนยิงหัวเอา ……

นั้นกลับทำให้สังคมไทยเราย่ำอยู่กับที่มานานกว่า 20 ปีีแล้ว เราถูกสิงค์โปร์ และมาเลเซียแซงไปแล้ว ซึ่งในตอนนี้เวียดนาม ก็กำลังตามเรามาติดๆ เรียกได้ว่าเราล้มเมื่อไหร่ โดนเวียดนามเหยียบเมือนั้น ……

อ้าว !!! ………. ไปไกลแล้ว กลับๆๆๆ

ดังเรื่องที่ออกทะเลไปเมื่อด้านบนนั้น จะเห็นได้ว่า เรามองตัวเองผิดกันไป ……..

ในตอนนี้เด็กได้ในสังคมไทยเลือกเรียนที่ “จบออกมาแล้วมีงานทำ”, “จบออกมาแล้วเท่ห์”, “จบออกมาแล้วทำงานสบาย” หรือ “จบออกมาแล้วหวังเพียงมีใบปริญญาติดออกมาเท่านั้น”

จะมีสักกี่คนที่เลือกเพราะ “อยากเรียน”, “สนใจ” และ “อยากรู้”

ช่างน่าเศร้าจริงๆ ที่เท่าที่ผมถามมา 98% หาคนที่เลือกทางเดินชีวิตไม่ได้ ซึ่งคือยังคิดไม่ออกว่าตัวเองชอบอะไร (ค้นหาตัวเองไม่เจอนั้นเอง) หรือสนใจศาสตร์ด้านใด (ในที่นี้ไม่นับพวกหลุดเข้าไปวังวนของสิ่งไม่สร้างสรรค์นะครับ)

ซึ่งผมจากที่ผมได้ อ่านข่าว และได้ประสบ พบเจอ จะว่าเห็นคนที่ชอบ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเรียน และทำงานกับมันด้วยใจรัก ไม่ต่ำว่า 90% นั้นประสบความสำเร็จทั้งนั้น บุคคลเหล่านั้น ได้สิ่งดีๆ ในชีวิตโดยมีความสุขในสิ่งที่ทำ และทำได้ดีด้วย และอีกเช่นกันคนเหล่านี้มักถูกชาวต่างชาติ ชักชวนไปทำงานร่วมกับพวกเค้าที่ต่างประเทศ

“คนเราถ้าสนใจ และชอบในสิ่งที่ทำ ซะอย่าง แม้แต่ทำให้ดวงอาิทิตย์ดับก็ทำได้”

มันเป็นความจริงของโลกนี้นะ ที่คนเราควรจำกำหนดสิ่งที่ตัวเองจะต้องเจอในอนาคต

………………………………………………………..

เดี่ยวมาเขียนต่อนนะครับ ง่วงแล้วไปหล่ะ ………..

2 thoughts on “อนาคตเราใครกำหนด”

  1. จริงอยู่คนที่เข้าคณะวิศวกรรม คือคนเก่ง คนมีคะแนน Entrance สูง <– คุณก็แสดงให้เขาดูเลยสิว่า คะแนนที่คุณสอบเข้า science ได้นั้น, สูงพอๆ กับฐานคะแนนของ engineer เลย.

  2. ซึ่งผมจากที่ผมได้ อ่านข่าว และได้ประสบ พบเจอ จะว่าเห็นคนที่ชอบ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเรียน และทำงานกับมันด้วยใจรัก ไม่ต่ำว่า 90% นั้นประสบความสำเร็จทั้งนั้น <– จริงเหรอ, แสดงว่าผมอยู่ในอีก 10% ที่เหลือสิเนี่ย.

    1. 90% ของคนที่ประสบความสำเร็จ เป็นคนที่ทำในสิ่งชอบ? หรือว่า
    2. 90% ของคนที่ทำในสิ่งที่ชอบ จะประสบความสำเร็จ?

    อย่างไหนกันแน่ครับ?

Comments are closed.