ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของใคร ? 1.นายจ้าง 2. ช่างภาพ 3. นางแบบ

อ้างอิง http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O10600195/O10600195.html

ความคิดเห็นที่ 17

ถ้าข้อเท็จจริงมีว่า ตากล้องเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทผลิตนิตยสารฉบับหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ไปถ่ายแฟชั่นหนึ่งเซ็ต

สิทธิของนายจ้าง : ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่มีสิทธินำภาพไปใช้ จะเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ก็ต่อเมื่อตอนทำสัญญาจ้างตากล้องมีข้อสัญญาบอกไว้ว่าสิทธิในงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นโดยตากล้อง ให้ตกเป็นของนายจ้าง ตามมาตรา 9 ซึ่งสัญญาจ้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะมีข้อนี้รวมอยู่ด้วย

สิทธิของลูกจ้าง : เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เต็มที่ เว้นแต่ในสัญญาจ้างได้ตกลงกันไว้ว่าเป็นของนายจ้าง แต่ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิที่เรียกว่า moral rights ที่จะได้รับเครดิตว่าเค้าเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นๆ

สิทธิของนางแบบ : ไม่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซะทีเดียว ถ้าพอจะเข้าข่ายตามกฎหมายไทยได้บ้างก็เทียบเคียงสิทธินักแสดง (ซึ่งถือเป็นสิทธิข้างเคียงของกฏหมายลิขสิทธิ และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าการโพสท่าเพื่อถ่ายภาพ ถือว่าเป็นการแสดงหรือไม่) แต่ถ้าเป็นกฎหมายในต่างประเทศ นางแบบจะได้รับความคุ้มครองในเรื่องสิทธิของผู้มีชื่อเสียง (right of publicity) ในการห้ามไม่ให้คนอื่นเอาภาพถ่ายของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่นางแบบเป็นผู้มีชื่อเสียง ถ้าเป็นบุคคลทั่วๆไป ก็ได้รับความคุ้มครองตาม สิทธิในความเป็นส่วนตัว

และถ้าโจทย์เปลี่ยนเป็นว่า บริษัททำนิตยสาร ได้จ้างตากล้องอิสระ (ไม่ได้เป็นลูกจ้างบริษัท) ให้ถ่ายแฟชั่นให้หนึ่งเซ็ท ถือว่าเป็นการจ้างทำของ เข้าข่ายมาตรา 10 ซึ่งหมายถึงว่า

สิทธิของผู้ว่าจ้าง : เป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ (ภาพถ่าย) ทั้งหมดในเซ็ทนี้

สิทธิของผู้รับจ้าง (ตากล้อง): ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นแล้ว แต่ยังมีสิทธิ moral rights ในการที่จะได้รับเครดิต หรืออ้างอิงถึงผลงานของตนตามสมควร แต่ไม่สามารถนำไป ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ได้

สิทธิของนางแบบ : ก็เหมือนข้อข้างบนค่า

นี่คือพิจารณาตามหลักกฏหมาย แต่ถ้ามีสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อแบ่งสรรค์ผลประโยชน์ ก็เป็นอีกเรื่องค่ะ

จากคุณ : Kazy
เขียนเมื่อ : 25 พ.ค. 54 23:17:12

ส่วนถ้าไม่มีผลตอบแทน ถ่ายให้ฟรี และค่าตัวก็ไม่มี อันนี้ผมมองว่าเป็นลักษณะกรณีแรก (ตามที่อ้างอิงมา)