Notebook สำหรับเด็กขายฝันเกินไปหรือเปล่า ?

เรื่องนี้ผมต่อต้านพอสมควร ผมว่ามันเป็นนโยบายประชานิยมมากเกินไป การพัฒนาแบบฉาบฉวยดูจะได้ผล แต่จริง ๆ แล้วเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำมากกว่า ผมเคยเขียนและบอกกล่าวไปแล้วใน blog เก่า ๆ ลองไปอ่านได้ที่นี่ครับ นโยบาย Notebook สำหรับนักเรียนประถม ของท่านผู้นำ …

ซึ่งเรื่อง Notebook สำหรับเด็กไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ ไม่ว่าจะยกเหตุผลใดๆ มาอ้างก็ตาม ผมมี Notebook ใช้ตั้งแต่ ม.5 ตอนนี้ ปี 3 แล้ว ใช้มา 2 เครื่อง และ Desktop อีก 1 เครื่อง

เรื่อง MIT Notebook นี้ จริงๆ แล้วไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในไทยเท่าไหร่ และประเทศพัฒนาหลายๆ ประเทศ ที่นักเรียนกว่า 30 – 40% สามารถซื้อ Notebook ได้ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครใช้ มาแทนการใช้งานหนังสือเท่าไหร่

เพราะหนังสือ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ และไม่ทำลายสายตาเท่ากับจอคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะเป็นจอ LCD กรือ OLED ก็ตามที ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากระดาษธรรมดาที่มีตัวหนังสือให้อ่าน และมันสามารถอ่านได้ทุกๆ ที่โดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าแบตจะหมด หรือไม่ต้องมานั่งปั้นไฟ แบบ MIT Notebook ตัวนี้ แถม หนังสือมันทำให้เราฝึกการเขียน วิเคราะห์ ย่อความ หรือการเรียบเรียงใหม่อีกมากมาย

ถึง Notebook จะสะดวก แต่มันทำให้คนเรายึดติดมันมากเกินไป ผมมี eBook ในเครื่องกว่า 10GB และ VDO Training อีก 20 GB ผมเปิดๆ ดู เปิดๆ อ่าน ก็สะดวกดี แต่ …….

พอเราอยู่นอกบ้าน มันไม่สะดวกเท่าหนังสือ การหยิบจับมันง่ายกว่ามาก หลายๆ คนคงบอกว่า Notebook มันเก็บหนังสือได้มากกว่ากระเป๋าหนังสือ 100 เล่ม อันนี้ไม่เถียง แต่ผมเถียงในเรื่องของคำว่า “พยายาม” ตอนผมเรียน ม.ปลาย หนังสือที่ผมเอาไปเรียนก็ว่าเยอะแล้วนะ แต่ตอนมาเรียน มหาลัยฯ เยอะกว่าหลายเท่า และในปัจจุบัน หนังสือเรียนรุ่นๆ ใหม่ๆ ของเด็กประถม ก็น่าอ่านกว่าแต่ก่อนเยอะ แต่เนื้อหามากขึ้นลึกขึ้น พอสมควร ผมถามว่า Notebook ไม่ใช่สิ่งที่มาแทนที่หนังสือ และไม่สามารถทดแทนได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ผมยังเห็นคนที่เรียนด้านคอมฯ และคนทำวิจัยเก่งๆ ที่มี Notebook ดีๆ มี External H/D ความจุสูง ยังซื้อหนังสือ Text Book มาอ่านอยู่เลย ทั้งๆ ที่มีให้โหลดแบบ PDF กันดาดดืน ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรู้สึกที่ได้อ่าน และโน๊ตลงไปมันทดแทนไม่ได้ และความสะดวกในการหยึบอ่านมันมีมากกว่า อ่านที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องคิดมาก

อีกอย่างที่ผมว่าไม่เหมาะสมคือ ความรับผิดชอบในสิ่งของ ของเด็กๆ ระดับเล็ก แม้แต่ ม.ต้น บางคนก็มีความรับผิดชอบที่ต่ำ และเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตัวเด็กในเรื่องของอาชญากรรม ด้านการลักขโมย และลักทรัพย์ครับ เรื่องนี้น่าเป็นห่วงมากกว่าครับ

ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และการสอนการใช้งาน อย่าลืมว่าระบบที่แน่นอนแล้วคือ Linux แน่นอน ซึ่ง ok linux ในปัจจุบันใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อน แต่ปัญหาไม่ใช่อยู่เพียงแค่นี้ ปัญหาคือความเคยชิน มากกว่า ระบบ linux นั้นทำงานได้ดีในการทำงานระดับ Office ครับ คือทำงาน Word Processing, Speadheet, Presentation Slide , ฯลฯ ซึ่งซอฟต์แวร์พวกนี้ รองรับระบบไฟล์บางอย่างของ microsoft ได้ยาก เช่นไฟล์ .doc ซึ่งเป็นของ microsoft word เป็นต้น ซอฟต์แวร์ openoffice หรือ koffice ของ linux ยังคงอ่านไฟล์ของ microsoft word ยังไม่สมบูรณ์ และดีพอ ซึ่งต้องทำให้นักเรียน และคุณครูทั่วไปเคยชินต่อระบบ linux ก่อน และยอมรับ format ไฟล์ของ openoffice หรือ koffice ก่อน ซึ่งระบบราชการไทย ยังใช้ ms word กันอยู่เลย -_-” แถม font พวก Angsana New หรือตระกูล UPC ทั้งหลายใน Linux ไม่มีครับ ต้องหา Copy จาก Windows ซึ่งผิดลิขสิทธิ์เต็มๆ แต่ก็เหอะ พี่ไทยเราคงไม่สนใจ จริงแมะ ……

ส่วนเรื่องการเอามาลง Windows คงเป็นไปได้ยาก เพราะ Memory และ H/D คงไม่เอื้อให้คุณสามารถลงได้เต็มที่ ไม่แน่แค่ลง Windows ก็เหมาะเนื้อที่แล้ว

ซึ่งผมมองว่า เห็นโครงการขายฝันมากกว่า ดูดีครับ แต่ใช้งานได้ยาก และไม่มีเหมาะกับสังคมไทย ที่ยังใช้เทคโนโลยีอย่างแฟชั่น และการใช้งานแบบ All-in-one ซึ่ง MIT Notebook ตัวนี้คงไม่ตอบโจทย์ และความต้องการเท่าไหร่

และไม่เหมาะกับเด็กไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ผมสังเกตุว่าประเทศหลายๆ ประเทศ อย่างญี่ปุ่น เค้าไม่เห็นสนใจโครงการนี้เท่าไหร่ ….. อีกอย่างญี่ปุ่นยังใช้กระดาน กับช็อค เรียนกับหนังสือ และสมุดอยู่เลย ….

2 thoughts on “Notebook สำหรับเด็กขายฝันเกินไปหรือเปล่า ?”

  1. เป็นความเห็นที่เป็นรูปธรรมที่สุด ครบถ้วนในเหตุและผล ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ โดยเฉพาะยิ่งต้องคำนึงถึงเรื่อง วุฒิภาวะของตัวบุคคลนั้นๆ เป็นสำคัญ

  2. After research a number of of the weblog posts on your website now, and I really like your method of blogging. I bookmarked it to my bookmark web site list and shall be checking back soon. Pls take a look at my website as effectively and let me know what you think.

Comments are closed.