Ratina Display กับ iPad 2 ที่ยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่จำเป็น)

จริงๆ กะเขียนเกี่ยวกับ iPad 2 เรื่องจอของตัวมันสักหน่อยว่าในความคิดผมจำเป็นแค่ไหนที่จะเป็น Ratina Display แต่คิดๆ แล้ว ออกแนวบ่นๆ มากไปดูจะไม่ได้ (ถ้าใครตาม twitter ผมจะทราบ)

ประเด็นคือในตอนนี้ผมคิดว่าผมจะยืนพื้น iPad 2 เป็นหลักซะ (เอาไปอ้างอิงถึง Tablet อื่นๆ หรือ Notebook ด้วยก็ได้มั้ง)

อย่างแรกก่อน Ratina Display เป็นคำเรียกของ Apple ที่เรียกจอภาพความละเอียดสูงที่ใช้กับ iPhone 4 เป็นครั้งแรก และใช้ใน iPod Touch 4 ในคราวต่อมา ซึ่งมีความละเอียดต่อนิ้วในระดับที่สายตาคนซึ่งคนเราสามารถแยกแยะพื้นที่ 1 ตารางนิ้วได้ประมาณ 300 จุด (dot per inch หรือ dpi) ซึ่งจอภาพดังกล่าวที่ Apple เรียกนั้นสามารถทำได้ถึง 326dpi ที่ขนาดจอ 3.5″ ทำให้ได้ Resolution ของจอภาพดังกล่าวนั้นแสดงผลถึง 960×640 pixel ซึ่งสูงมากสำหรับจอภาพระดับ 3.5″

แต่ประเด็นคือในการเปิดตัว iPad 2 ที่ผ่านมานั้น มีการคาดการณ์ว่า ตัว iPad 2 จะใช้ Ratina Display ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่ได้ใช้ (หลายคนผิดหวัง) แต่ผมมองว่า ถ้า iPad 2 จะใช้ Ratina Display จะต้องใช้ resolution เท่าไหร่?

เพราะขนาด iPhone 4 ยังใช้ที่ 960×640 pixel ที่ 3.5″ แล้วจอ 9.7″ หล่ะ คิดว่า CPU/GPU ต้องใช้ขนาดไหนถึงจะสามารถประมวลผลภาพออกมาแสดงผลได้ในระดับสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า!!

หลายคนอาจจะบอกว่า CPU/GPU แรงขึ้นมาก น่าจะไหวนะ แต่ลองเทียบง่ายๆ แค่จอภาพ 7″ แล้วให้เป็น Ratina Display ซึ่งผมยกตัวอย่างว่าให้ยัดใส่ใน Samsung Galaxy Tab ก็จะได้ Resolution ถึง 1920×1280 pixel ถึงจะได้ความละเอียดระดับ Ratina Display ที่ 326 dpi เท่าๆ กับ iPhone 4 จากตัวอย่างที่บอกมา จะเห็นว่านี่มันมากกว่าจอ Full HD 23″ อีกนะครับ และนี่ไม่ต้องมองไปถึงจอ 9.7″ ของ iPad 2 เลยด้วยซ้ำ ถ้าเทียบว่า CPU ของ iPad 2 เร็วขึ้น 2 เท่านะ เอาง่ายๆ คิดเร็วๆ ไม่ต้องเยอะ แต่แน่นอนเอาเข้าจริงมันเยอะกว่านั้นมากๆ ซึ่งถ้า 9.7″ นี่ผมคิดว่าระดับ Resolution ของภาพน่าจะเกือบๆ ได้จอแสดงผล Super Full HD ไปแล้วมั้ง (ผมย้ำว่าคิดเร็วๆ)

คือแค่ CPU A5 ผมยังคิดว่าการแสดงผล Full HD ที่ระดับ 1080p นั้นยังทำได้ดีในระดับที่ทำงานได้แต่ถ้าทำ multi-tasking มากๆ อาจจะมีปัญหาได้ การใช้ Ratina Display มาทำให้กินแรง CPU/GPU เพิ่มขึ้น ผมเกรงว่าแค่สร้างภาพให้แสดงและทำงานทั่วไปก็เต็มที่ของมันแล้วมั้งครับ ถ้าเอาการแสดงผลของ Super Full HD มาใส่ ผมว่าลำพังแค่ CPU/GPU ของอุปกรณ์ขนาดเล็กในตอนนี้คงยังไม่ไหว (ในอนาคตไม่แน่) เพราะแค่ CPU High-End ยังแสดงผล Super Full HD ยังเต็มกลืนเลยในตอนนี้

ที่น่าคิดมากๆ ต่อมาคือ มีจอความละเอียดสูงๆ แต่เนื้อหาและสื่อต่างๆ (Content) ของ Apple มีตัวไหนบ้างที่แสดงผลได้ในระดับ 1280p (หรือสูงกว่า) ในตอนนี้ เพราะตอนนี้ใน Apple Store ก็มีไฟล์หนังระดับ Full HD ระดับ 1080p เท่านั้นเอง ถ้าเอา Full HD มาแสดงบน Ratina Display ขนาด 7″ ยังแตกและไม่เนียน อย่าหวัง 9.7″ ใน iPad 2 เลยครับ!!!

ประเด็นสุดท้าย ซึ่งผมมองว่าเป็นความพอดี ที่ต้องเข้าใจ คือบางคนไม่ได้คิดถึงระยะทางการมองเห็น (Viewing Distance, ยังไงลองไปหาอ่านเพิ่มนะครับ ไม่อธิบายเพิ่มเดี่ยวยาว) ของสิ่งที่ตัวเองใช้งานเลยว่าความเหมาะสมอยู่ที่ตรงไหน การเพิ่มขึ้นของ dpi เท่ากับการประมวลผลมหาศาลอย่างที่บอกไปแล้วนั้น ความเหมาะสมในการใช้งานของ iPhone 4 และ iPad นั้นแตกต่างกัน ระยะการมองเห็นของดวงตาถึงจอภาพไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการใส่ Ratina Display ลงบน iPad 2 จึงเป็นการสิ้นเปลืองและเพิ่มต้นทุนของจอภาพโดยใช่เหตุ ลองคิดๆ ว่าจอภาพของ iPhone 4 กับจอของ iPad ที่ใช้ๆ กัน จอแบบไหนแพงกว่ากัน ในมุมผมแล้วนั้นจอ iPhone 4 มีราคาแพงกว่าแน่นอน เพราะฉะนั้นยิ่งทำจอ Ratina Display ใหญ่มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นการทำให้ iPad มีราคาสูงขึ้นมากเท่านั้น และด้วยสงครามราคาในตอนนี้ด้วยแล้ว Apple คงต้องการทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อชิงพื้นที่ส่วนแบ่งให้มากๆ เป็นหลักก่อน