A: เค้าว่า Barcamp Bangkhen งาน Geek? B: ก็ใช่! #BCBK

ต้องแนะนำให้อ่าน BarCamp Bangkok Winter 2008 งาน Barcamp ครั้งแรกในไทย ก่อนจะเป็นที่รู้จักกันเป็นวงกว้างใน Barcamp Bangkok 2, The next topic is … (ตอนที่ 1-4) และจัดกันมาต่ออีกในครั้งที่ 3 และ 4 ที่ ม.ศรีปทุม แต่ผมไม่ว่างไปครั้งที่ 4 และก็ไม่ได้ไปงานที่จัดที่เชียงใหม่และสงขลาเลยแม้แต่ครั้งเดียว

ผมจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงของ Barcamp Bangkok นับจาก 1 จนถึง 4 แม้จะไม่ได้สัมผัสแต่คิดว่าครั้งที่ 4 คงไม่ต่างจาก 3 เท่าไหร่จากการอ่าน Blog ในภายหลัง จากความที่ Barcamp Bangkok เปลี่ยนแปลงจาก Geek และ Hardcore Developer มาเป็น Newbie และ Consumer มากขึ้น เพื่อชักชวนคนที่ต้องสายใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่อย่างนั้นก็จะเห็นแต่หน้าเดิมๆ ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะชุมชนและคนเข้าร่วมงานเป็นคนผลักดันและทำให้เกิดขึ้นเองด้วยตัวของคนเข้าร่วมงานเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องบอกก่อนว่า Barcamp เกิดจาก Geek และเป็นแนวทางของ Geek ที่มารวมตัวกันแล้วทุกคนคือคนร่วมงานและคนจัดงานในคนเดียวกัน แต่นอนว่าต้องถูกปรับเปลี่ยนตามสภาวะแวดล้อมแบบคนไทย และเป็นการปรับตัวที่ดี แต่ก็มีชาวต่างชาติมางานครั้งแรกจะงงทุกรอบเพราะมันไม่เหมือนกับที่ต่างประเทศจัดกัน อีกอย่างคืองาน Barcamp ส่วนใหญ่ที่จัดกันไม่ใหญ่แบบประเทศไทยเพราะฉะนั้น ถือเป็นเรื่องดีที่เราสามารถรวมคนที่สนใจเรื่องราวคล้ายๆ กันมารวมกันได้มากมายขนาดนี้

ต้องจำกัดความก่อนว่า Geek ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงแวดวงไอทีเท่านั้น แต่หมายถึงทุกๆ สาย แต่ด้วยความที่ช่องทางในการชักชวนและเข้าถึงข้อมูลนั้นผ่าน Internet และ Social Networking จึงไม่แปลกที่จะมีหัวข้อเกี่ยวกับไอที หรือเรื่องราวที่คนไอทีสนใจหนักๆ เยอะ เป็นปรกติ

กลับมาที่งาน Barcamp Bangkhen นั้นเป็นงานที่เกิดจากสิ่งที่ผมเขียนสรุปไว้ใน Barcamp Krungthep – Note เมื่อปีก่อน เป็นการพูดคุยกันเล็กๆ บน Twitter จากพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ หลายๆ คน แน่นอนว่า จัดจริงๆ ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เขียนไว้ แต่สุดท้าย ทุกอย่างก็ถูกผลักดันและเป็นไปในทางที่ดี และผมก็ไม่ได้เป็นต้นหัวในการจัดงานของ Barcamp Bangkhen ทั้ง 2 ครั้ง มาก่อไฟให้น้องๆ นักศึกษา ม.เกษตรแล้วก็จากไป ;P

ต้องย้ำว่าเครดิตและรูปแบบการจัดงานต่างๆ เกิดและถูกดูแลโดยอาจารย์และน้องๆ นักศึกษาของ ม.เกษตร 100% เพราะงั้น งานจึงมีความเป็นลักษณะสนุกสนาน น้องๆ นักศึกษาเต็มงาน ซึ่งรูปแบบการจัดงานอาจจะมีรูปแบบคล้ายๆ กับ Barcamp Bangkok บ้างในบางส่วน เพราะถ้ามันดีก็เป็นเรื่องดีที่ควรนำมาใช้ แนวทางของงานผมว่าหลักๆ คงต้องการให้เป็นงานแนวไอทีหนักๆ แบบเดิมๆ มากกว่า ทำให้หลายๆ คนที่ติดภาพจาก Barcamp Bangkok อาจจะงงๆ ว่ามันไม่เหมือนเดิม แต่ที่แน่ๆ สิ่งนึงที่รู้สึกคือน้องๆ ได้เจอคนที่ทำงานไอทีจริงๆ ได้เจอของจริง แนวคิดจริงๆ ตอนทำงาน (เพราะน้องๆ ที่จัดเค้าเรียนด้านไอทีกันทั้งหมด)

กล่าวสรุปโดยรวมของงานนั้น การเข้าถึงและจุดลงทะเบียนถ้ามาถึงนี่ชัดเจนไม่หลง ตามทางเดินมีแปะ url และ QR Code เพื่อเข้าถึงตารางของหัวข้อของงานตามทางเดินไว้ชัดเจน ทำให้ไม่ต้องมานั่งถามว่าเข้าไปดูได้ที่ไหน สถานที่และห้องที่พูดนั้นเยอะและมีพื้นที่ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกพวกปลั๊กไฟเพียงพอ ระบบ internet ที่เตรียมไว้ให้พร้อม จำนวณห้องอาจจะต้องเดินขึ้นไปๆ มาๆ จากชั้น 1-4 แต่ก็ดูจะไม่เป็นปัญหา (แต่ชอบแบบ Barcamp Bangkok 2 มากกว่าชั้นเดียว และเดินยาวเลย) เพราะหัวข้อถูก online แบบ real time บน google docs และแปะไว้ที่ชั้นสองไว้ตามช่วงเวลา แน่นอนว่าเมือมัน real time ย่อมต้องมีคนไม่ทราบว่าตัวเองได้พูด (ผมก็คนนึง เพิ่งทราบก่อนจะเริ่มหัวข้อตัวเอง 1 ชั่วโมง) แน่นอนว่า ส่วนตัวเตรียมตัวเรื่องที่พูดมาบ้าง แต่เกือบทั้งหมดพูดสดกว่า 80% จากการที่คิดได้ตอนนั้นเลยก็ว่าได้

สำหรับรูปแบบงานครั้งที่ 3 จะยังคงแนวทาง Geek แบบนี้หรือไม่ ผมเชื่อว่าขึ้นอยู่กับคนไปงาน ไม่ใช่คนจัดงานแล้วหล่ะครับ ประเด็นที่เกิดในงานเมื่อวานหลายๆ คนไปแล้วผิดหวัง เพราะรูปแบบหัวข้อหนักมากๆ คนไปบางคนนั่งงง มันคืออะไรเยอะมาก แต่แน่นอนว่า แนวทางของ Barcamp ที่ผมได้สัมผัสคือ ทุกคนที่มางานต้องได้พูด ไม่ว่าทางใดก็ทางนึง หัวข้อที่คุณเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ถ้าได้โหวตคุณก็ได้พูด สนใจเรื่องอะไรก็โหวตเสีย หัวข้อบางหัวข้อ เป็นลักษณะการนั่งพูดคุย นั่งปรึกษา ถกเถียงกัน มันไม่ใช่งาน Lecture ที่มีคนพูดยืนพูดๆ แล้วนั่งฟัง จบแล้วแยกย้ายกลับบ้าน ทุกคนในห้องมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด และถ้าไม่มีหัวข้อที่ถูกใจ มีอยู่สองทางคือ “เปิดใจ ลองฟัง และถกเถียงในสิ่งที่ไม่รู้” หรือ “เดินกลับบ้านและมางานครั้งหน้าใหม่พร้อมหัวข้อที่อยากพูดและพาเพื่อนๆ คอเดียวกันมาด้วย” มันเป็นแนวทางของคนร่วมงานที่จะทำให้มันเกิด ไม่ใช่คนจัดงาน มันคืองาน “อสัมนา” ที่ไม่มีหัวข้อแน่ชัดว่างานรอบนี้มีอะไรเด่นๆ จนกว่าคุณจะได้ไปและได้ฟัง ได้พูด และถกเถียงในงาน

งาน Barcamp เป็นงานที่ไร้หัวข้อตอนเริ่มต้น แต่สุดท้ายก็จะมีทิศทางของมันโดยคนเข้าร่วมงานเองเป็นหลัก ไม่ใช่คนจัดงาน การผลักภาระให้ใครคนใดคนนึงมากเกินไป ที่อยู่บนความคาดหวังที่มากเกินไป อาจทำเราไปร่วมงานไม่สนุกได้ครับ ;)

สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อยากเสนอแนะงาน Barcamp Bangkhen อย่างไรก็เข้าไปเสนอได้ที่ Barcamp Bangkhen 2 – Feedback Form

วิถีแห่ง Developer vs Photographer #BCBK

จากการเป็น Developer มานานและถ่ายรูปมาได้เกือบๆ 4 ปี ได้สัมผัสและได้รู้ว่าความแตกต่างและการทำให้ชีวิตนั้นอยู่ตรงกลางนั้นยากแค่ไหน เมื่อวานจากงาน Barcamp Bangkhen 2 เลยได้เล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้คนที่สนใจได้ฟังกัน

สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่กล่าวถึงใน blog นี้ถือว่า exclusive content ใน session แล้วกันนะครับ ;P

Developer

  • นอนดึก เพราะอารมณ์ในเขียนโปรแกรมมาตอนดึก และตื่นสายเพราะนอนดึก และมักไม่ทันแสงอาทิตย์ยามเช้า และได้สัมผัสแสงอาทิตย์ยามเย็น
  • ใส่ใจรายละเอียดส่วนตัว หรือสิ่งที่ตัวเองกำลังสนใจ
  • ใช้ความรู้สึกจากภายนอกเป็นหลัก ใช้การอ้างอิงจากภายนอกเพื่อสนับสนุนความคิดตัวเอง
  • ไม่ชอบไปไหนมาไหน มักชอบอยู่กับที่
  • ตรรกะ ความคิด ผิด-ถูก

Photographer

  • ต้องตื่นเช้าเพราะแสงเช้าเป็นแสงสวย ดูอบอุ่น และชอบแสงอาทิตย์ยามเย็น เพราะดูสงบ ร่มเย็นและสวยงาม
  • ใส่ใจรายละเอียดภายนอก เน้นสิ่งที่ตัวเองกำลังจะถ่ายรูป
  • ใช้ความรู้สึกจากภายในเป็นหลัก มองเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกของสิ่งที่กำลังนำเสนอ
  • ชอบการเดินทาง ชอบท่องเที่ยว สัมผัสกับผู้คน ชอบพูดคุยและใส่ใจคนรอบข้าง
  • อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่เห็น และสัมผัส

ชมภาพผลงานผมที่ www.flickr.com/photos/fordantitrust/collections/

ทิ้งท้าย

Open your mind, make fun with your photos

BarcampBangkhen 2 กลับมาแล้ว!!! (บาร์แคมป์บางเขน 2)

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ณ อาคารนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กำหนดการ 9.00 – 17.00 น.

http://www.barcampbangkhen.org/

What is Barcamp?

เป็นงานสัมมนานอกกรอบ คือเป็นงานที่ไม่มีการกำหนดรูปแบบงาน ผู้พูด หรือผู้ฟัง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ “ผู้ร่วมงาน” ว่าจะจัดการอย่างไร โดยผู้ร่วมงานแต่ละคนเสนอหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ แล้วทุกคนก็ช่วยกันเลือกหัวข้อที่น่าสนใจขึ้นมาเอง แต่นิสิตนักศึกษาที่สนใจงานนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากช่องว่างระหว่างผู้ร่วมงานที่ห่างกันมาก หลายคนมองว่าผู้ที่มางาน Barcamp จะต้องมีความสามารถมากและตนเองไม่ได้มีความสามารถพอที่จะไปนำเสนออะไรให้ผู้อื่นฟังได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร

กำหนดการ
09:00 – ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และเสนอหัวข้อที่จะพูดพร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมงาน vote หัวข้อที่อยากฟัง
09:15 – ผศ.ดร. ภุชงค์ อุทโยภาศ ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน
09:30 – เริ่ม Session แรก
12:30 – พักรับประทานอาหารกลางวัน
17:00 – สิ้นสุด Session สุดท้าย

BarcampBangkhen (บาร์แคมป์บางเขน)

คาดว่าผมจะโดดการไปเที่ยวประจำปีกับบริษัทเพราะงานนี้แหละ ^^

แล้วเจอกันวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ อาคารนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

http://www.barcampbangkhen.org/

posterBCBK

Barcamp Krungthep – Note

เห็นเล่นๆ บน Twitter เมื่อตอนเย็นวันที่ 30 มิถุนายน 53 จาก blog ของพี่เก่ง http://keng.ws/2010/06/barcamp-chiang-mai-3/ เลยปรึกษาและเสวนาบน Twitter กันระหว่าง @sugree @lewcpe และ @rtsp เลยได้ชื่องานเป็น Barcamp Krungthep สถานที่ก็ ม.เกษตรฯ บางเขน ส่วนวันและเวลา เดี่ยวว่ากันอีกที แต่น่าจะเดือนสิงหาคมนี้ จำนวนห้องค่อยว่ากัน แต่ concept ผมคิดไว้ประมาณนี้

  • Reset Matrix !!!
  • ลดขนาดจำนวนคนเข้าร่วมงาน เราต้องการการมีส่วนร่วม จำนวนคน 100 –200 (หรือน้อยกว่านี้)
  • ย้อนกลับสู่อารมณ์เดิม เล็กๆ แต่ทำเยอะๆ เพราะเราอยากให้ทุกคนที่มางานต้องนำเสนอ
  • ไม่มีสปอนเซอร์ (ยินดีรับ แต่ว่าจะไม่ให้มีอิทธิผลต่องาน) ทำให้ทุกอย่างต้องดูแลตัวเอง ข้าว อาหารทุกอย่าง หากินกันเอง
  • ในงานไม่มีของแจก ซึ่งแน่นอนไม่มีเสื้อบาร์แคมป์ (แต่ใครจะทำมาขายก็ได้)
  • ไม่มีกำหนดการณ์แน่ชัดตามแนวทางบาร์แคมป์
  • ขายของในการนำเสนอได้ตราบใดที่คุณได้โหวตหัวข้อเข้าร่วม