DRM คำตอบของสื่อออนไลน์ หรือสร้างปัญหากับผู้ซื้อ ?

ผมรู้สึกว่าเดี่ยวนี้คนทำสื่อบางจำพวกเริ่มบ้าเข้าไปทุกที ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องป้องกันการ copy อะไรให้มากมายจน "คนซื้อที่เป็นลูกค้าของคุณจริง ๆ ต้องเดือดร้อน" เพราะผมซื้อแผ่นหนังมา กลับเจอโปรแกรมที่ทำตัวเหมือน malware ทำการโหลดตัวเองเข้าสู่ System แต่ดีที่ไหวตัวทัน terminate มันทัน แล้วไล่เก็บกวาดการทำงานแบบขยะ ๆ ของมันอีกครึ่งวัน ไม่งั้นคงซวยหนักกว่านี้ แล้วอยากจะบอกว่ามันไม่สนุกนะโว้ยยยยย ซื้อของแท้มา แต่กลับได้ผลของการกระทำที่จะปกป้องอะไรบ้่า ๆ บอ ๆ ของพวกคุณน่ะ คือคนซื้อของแท้ก็อยากจะดูในคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถที่จะดูได้นะ ตอนนั้นเลยคิดว่า "เอาวะ ลองใน linux ซะเลย" จบครับ การป้องกันใช้ไม่ได้ผล ฮ่า …. ซวยไป copy โดยเอา DRM หรือระบบ Lock ซะเลย และตั้งแต่นั้นมา ถ้าแผ่นหนังแผ่นไหนบอกว่าห้ามใช้กับคอมฯ หรือมีข่าวว่าแผ่นไหนมีแบบนี้ แผ่นนั้นผมก็จะไม่ซื้อ ตรูรอซื้อ import ก็ได้ แพงกว่าแต่สบายใจ

คือผมเป็นพวกไม่ชอบ copy เท่าไหร่อยู่แล้ว (นับตั้งแต่เริ่มเขียนโปรแกรมออกขายก็เริ่มซื้อแต่ของแท้มา เข้าใจและเห็นใจครับ) อย่างมากก็ copy ไว้ 1 แผ่นสำหรับดูส่วนตัวเท่านั้น ส่วนแผ่นจริง จะไม่พยายามหยิบมาดูด้วยเหตุที่ว่ากลัวมันเป็นรอย และไม่อยากให้ใครมาจับด้วย แผ่นที่เรา copy มันจะพังช่างมัน แผ่นต้นฉบับยังอยู่สบายใจกว่า ซึ่งคนที่ทำแบบผมมีเยอะมาก เพราะว่าแผ่นแท้มันราคาไม่ใช่ถูก ๆ และที่ซื้อเพราะชื่นชอบ อยากสบับสนุนงานดี ๆ ต่อไป แต่มาเจอพวก Lock หรือปล่อย Malware นี่หมดอารมณ์ไปเลยเหมือนกัน

ซึ่งการป้องกันเรื่องพวกนี้มันไม่ได้ผลหรอก ผมว่ามันยากกว่าการมาสอนและสร้างจิตสำนึกเสียอีก เรื่องแบบนี้มันต้องแก้ที่คน ไม่ใช่ไปแก้ที่ระบบ เดี่ยวนี้ซีดีเถื่อน ต่อไปก็ดีวีดีเถื่อน แล้วต่อๆ ไป บราๆๆๆๆ คือมันมีมาทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว และในปัจจุบันดันมี Bittorrent ที่กระจายไฟล์มีเดียต่าง ๆ ได้ง่ายมาก ๆ เอาง่าย ๆ แค่คลิปวิดีโออื่อฉาวต่าง ๆ หลุดมาหรือเป็นข่าวคุณสามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ตาม Bitterrent Tracker ต่าง ๆ ได้ทั่วเว็บไทย ได้ไม่ยาก ในเวลาเพียง 5 นาที แล้วผมถามว่าถ้าสื่อมีเดียที่มี DRM หรือระบบ Lock ต่าง ๆ นา ๆ ถูกเจาะได้ใน คงใช้เวลาไม่นานในการกระจายตัวของไฟล์มีเดียเหล่านั้น

คำถามก็คือจะป้องกันอย่างไร ?

แล้วคุณมีอะไรจะเสียอีกเหรอ !!!! เพราะในตอนนี้คุณเสียส่วนแบ่งทางตลาดไปกับแผ่นผี ทั้ง ๆ ที่คุณก็บอกถึงคุณภาพและลดราคาลงไปแล้ว จริงไหมมมม แล้วเรื่องแบบนี้เราจำเป็นต้องป้องกันขนาดที่มานั่ง lock แผ่น บ้าบอ ขนาดทำให้ผู้ซื้อที่ซื้อของแท้จากคุณต้องเดือดร้อนด้วยหรือไงฟร่ะ …. ไม่เข้าใจ การป้องกันการคัดลอกยังไงก็ทำไม่ได้หรอก ถึงแม้ติด DRM มันแค่ชะลอไม่ให้กระจายตัวในตอนแรกแค่ 1 – 3 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับ DRM และกรรมวิธีในการแกะไฟล์มีเดีย เช่นไฟล์เพลง 1 เพลง เราสามารถคัดลอกเสียงภายในเพลงได้ด้วยการอัดเสียงธรรมดาได้ง่าย ๆ ไม่ยากเย็นและคุณภาพเสียงเท่าเดิม ได้ง่าย ๆ แผ่น Wave Out ของ Windows หรือ Audio Out ของระบบอื่น ๆ (เจ้า Wave Out คือการทำ Loop Back Audio Out เพื่อเข้าสู่ Line-in หรือ Mic โดยตรงโดยไม่ต้องใช้สายอะไร มันผ่านเข้าและออกผ่านในระบบปฎิบัติการและซอฟต์แวร์เท่านั้น ทำให้ไม่สูญเสียสัญญารบกวน) ซึ่งผมเคยทำแบบนี้กับรายการพวก MCOT.NET หลาย ๆ รายการที่ติด DRM ไม่ยอมให้แปลกเป็น mp3 มาแล้วหลายครั้ง รวมไปถึงไฟล์วีดีโอที่ใส่ DRM ก็สามารถแกะได้ด้วย Video Screen Capture ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถทำได้ แต่ต้องปรับแต่งการบันทึกดีๆ สักนิด ก็ได้คุณภาพเท่ากับที่ไฟล์วีดีโดที่ใส่ DRM มานั้นแสดงให้เราดู

จากที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น เราไม่สามารถป้องกันการคัดลอก (copy) ได้เต็ม 100% เหมือนกับ มีคนป้องกันก็มีคนแกะ มีคนปิดก็มีคนเปิด ไม่ช้าก็เร็วเท่านั้นเอง

และเช่นเดียวกัน ผมขอพูดถึงการดาวน์โหลดเพลงลิขสิทธิ์ในไทยหน่อยแล้วกัน

ผมรู้สึกว่าเพลงที่ขายแบบออนไลน์นั้น น่าเป็นรูปแบบไฟล์ที่เป็น mp3 ไปเลย และรวมไปถึง CD Audio ที่ขายกันอยู่มีการแนบไฟล์ mp3 มากับแผ่นเลย ในระดับ bit rate ที่ประมาณ 192kbps – 320kbps (จะใช้ VBR เพื่อลดขนาดก็ได้ แล้วแต่จะเลือก) ซึ่งมันอาจจะทำให้คนทำคิดว่ามันจะช่วยป้องกันการ copy ได้หรือ ? ผมมองว่าถ้าคุณไม่แข่งที่คุณภาพ คุณก็ต้องแข่งที่ราคาด้วย ซึ่งราคาคุณก็แข่งแล้ว แต่คุณภาพหล่ะ โดยถึงแม้จะบอกว่า CD Audio มันจะมีคุณภาพดี แต่ …… ในขณะนี้มีคนฟังเพลงสัดส่วนเท่าไหร่ระหว่างแบบ CD Audio Player กับ Portable Media Player หล่ะ ซึ่งตอนนี้มือถือต่าง ๆ ก็เป็น Portable Media Player ทั้งนั้น การจะโหลดเพลงสักเพลงหนึ่ง รวมไปถึง RIP เพลงมาฟัง จาก CD Audio นั้น ต้องคนที่มีพื้นความรู้ด้านคอมฯ เพียงนิดหน่อยก็สามารถทำได้แล้ว แต่คุณภาพหล่ะ วัดกันที่ตรงไหน เพราะแผ่นที่เอามา RIP นั้นถ้ามีรอย ก็ทำให้คุณภาพเสียงนั้นลดลงได้ การที่คุณแถม mp3 ลงในแผ่นไปเลยกับแผ่นจริง มันทำให้คุณภาพที่แท้จริงของแผ่นดีขึ้น และนำไป copy ลงเครื่องต่าง ๆ ของผู้ใช้ได้ง่ายและได้คุณภาพที่ดีกว่ามา RIP เองแน่นอน และถ้าถ้าพูดถึงความสะดวกแล้ว Portable Media Player สะดวกกว่าทั้งในการพกพาเครื่องและสื่อบันทึกด้วย เพราะมันเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์เพลงลงในเครืองแล้วพกพาไปได้ในจำนวนเพลงที่มีตั้งแต่เพลงเดียวไปจนถึง 20,000 เพลง ซึ่งเรายังสามารถจัดเพลงในรายการได้ว่าจะพังเพลงไหนก่อน รวมไปถึงแยกหมวดหมู่เพลงได้อีกด้วยทำให้สะดวกต่อการหา และพกพาอย่างมาก

แต่ปัญหาต่อมาคือการแจกจ่าย ผมมองว่าถึงคุณไม่ทำ ใช้ CD Audio ธรรมดาแบบที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ก็ขอยืมแผ่นกันไปๆ มาๆ อยู่แล้ว ในหมู่เพื่อน ๆ คุณคงไปบังคับไม่ได้ว่าคนอยากฟังต้องซื้อกันคงละแผ่น เอาง่าย ๆ ในหนึ่งครัวเรือน จะมี CD เพลงของอัลบั้ม X เพียงแค่ 1 แผ่นเท่านั้น แต่มีคนฟังอยู่ 5 คน และถ้าคนนี้อยากฟังก็ต้องไปซื้อมาใหม่หรือว่า copy แผ่นใหม่ขึ้นมา อันไหนง่ายกว่ากัน อย่าลืมว่าครอบครัว หรือหมู่เพื่อนเดียวกันคงไม่อยากเสียเงินหลายรอบ ในเมื่อก็มีอยู่แล้ว จริงไหม ยังไงก็ป้องกันไม่ได้ในส่วนหนึ่งอยู่แล้ว การทำให้สามารถ copy ในไฟล์ mp3 ได้นั้นน่าจะดีกว่าในหลายๆ ส่วน เพราะยังไง CD Audio มันก็ copy ได้อยู่ดี (ยิ่งใช้เครื่อง Duplicate ด้วยยิ่งเร็วใหญ่)

ต่อมาในเรื่องของออนไลน์มีเดียนั้นผมมองว่าน่าจะทำได้แล้ว และไม่สมควรที่จะใช้ DRM อย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่ว่าในตลาดเครื่องเล่น Portable Media Player มีสัดส่วนเท่าไหนที่รองรับ DRM ที่คุณใส่มากับเพลงที่โหลดมา อย่างเช่น wma ที่แนบ DRM ของ Microsoft นั้น ก็ใช้ได้กับเครื่องเล่นบางรุ่นที่รองรับ WMA DRM ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ใช้กันอยู่ในวงจำกัดอยู่ รวมไปถึง ACC DRM ของ Apple เอง (บริษัทผู้ผลิต iPod) ซึ่งก็มีแต่เครือง iPod ที่เล่นได้เท่านั้น รวมไปถึงการลงทุนกับระบบ DRM ของแต่ละค่ายนั้นก็เป็นเงินสูงมาก เพราะเราต้องพูดถึงค่าลิขสิทธิ์การใช้ระบบ DRM ของค่ายนั้น ๆ ในหลักหลายร้อยล้านบาทแน่ ๆ ลองคิดดูว่าคุ้มหรือไม่กับการลงทุนลงไป แล้วใช้ได้กับคนกลุ่มน้อย ๆ กลุ่มหนึ่งที่มีเครื่องรองรับได้ไม่เท่าไหร่ หรือจะบอกว่าเอาไว้ฟังกับคอมฯ ที่ลงระบบ Windows + Windows Media Player 9  ขึ้นไปที่ติดตั้ง DRM ด้วย ซึ่งมันก็ดูจะแคบลงไปอีก เพราะมันคัดลอกลงใน Portable Media Player ลำบากอีก หรือมีน้อยเครื่องที่รองรับในตลาด ถามว่ามันเป็นผลดีไหมกับการลงทุนไปหลายร้อยล้าน แต่ใช้เวลาคืนทุนนานนับปี

แล้วในเรื่องของการจัดจำหน่ายเพลงออนไลน์นั้น ผมมองว่าการจัดจำหน่ายเพลงนั้น จากประเทศต้นแบบอย่างอเมริกานั้นจะมีการจัดจำหน่ายเพลงเป็นรายเพลงในราคาหนึ่ง และเหมาอัลบั้มอีกราคาหนึ่ง โดยที่พิเศษกว่านั้นคือ เพลงใดที่เป็น single ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว จะมีให้โหลดทันที โดยไม่ต้องรอให้เพลงที่ศิลปินนั้นมีเพลงครบอัลบั้มก่อน แล้วจึงขาย มันทำให้เกิดการสร้างโอกาสของการแข่งขันกับแผ่นผีได้มาก เพราะว่าเพลงที่ออกจะมีได้ทันต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันที เช่น วันนี้เพลงจากศิลปินดังจะออก single ทางวิทยุเป็นวันแรกในเวลา 9.00 น. โดยในตอนนั้นทางเว็บค่ายผู้ผลิตเพลงก็เปิดให้ซื้อได้ในเวลา 9.00 น. โดยมีเพลงดังกล่าวเปิดให้สามารถซื้อและดาวน์โหลดได้ทันทีหลังจากที่เพลงดังกล่าวนั้นมีคนฟังจบ โดยมันเป็นการสร้างโอกาสก่อนที่แผ่นผีจะออกมาในอาทิตย์หน้า และคุณภาพเสียงดีกว่าที่แผ่นผีทำด้วย เพราะยังไงแผ่นผีมันก็คงต้องอัดจากวิทยุต่าง ๆ มากกว่าที่จะได้จากต้นฉบับจริง ๆ (นี่คือเรื่องจริงที่ว่าเพลง Single ในแผ่นผีต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่กว่า 95% เป็นเพลงที่อัดจากวิทยุทั้งสิ้น ส่วน 5% มักเป็นเพลงที่หลุดมาจากห้องอัดเอง หรือสถานีวิทยุซึ่งไม่ขอยืนยัน เพราะเป็นข่าวในวงคนฟังเพลงแผ่นผีเค้าเล่ามาอีกที) ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่ดี รวมไปถึงเว็บโหลด ringtone ต่าง ๆ ก็มีให้โหลดพร้อมเสร็จ ผมมว่ามันเป็นการสร้างโอกาสที่ใช้ทุนต่ำกว่า และได้ผลตอบรับที่ดีกว่าอีกด้วย ซึ่งยังไงเพลงที่ได้ไปมันก็เร็วกว่าแผ่นผี ในราคาที่น่าจะพอจับได้ที่เพลงละประมาณ 15 – 20 บาท (แล้วลดราคาพวก Rintone ต่าง ๆ ลงเหลือเพลงละ 5 – 10 บาทก็ได้) ซึ่งถ้าราคา 15 บาท/เพลง ถ้าอัลบั้มมี 10 เพลง ซื้อเหมายกอัลบั้มก็เหลือ 99 ก็ได้ ยังไงก็ไม่มีต้นทุนค่าแพ็คเก็จ หรือจัดจำหน่ายอยู่แล้วยังไงก็ได้กำไรมากกว่าอยู่แล้ว (ค่าจัดจำหน่ายต่าง ๆ และค่าแพ็คเก็จต่าง ๆ ก็กินส่วนราคาแผ่นไปแล้วน่าจะประมาณ 40% – 75% ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน อันนี้ผมประมาณเอาตามการคาดเดา จากที่เคยขายของมา) ทำให้น่าจะได้กำไรมากขึ้นด้วย แถมมีคนอยากโหลดเพลงใหม่ ๆ ก่อนใครอยู่แล้ว จริงไหม ส่วนมันจะ copy ไปให้คนอื่นหรือเปล่า มันก็อีกเรื่อง เพราะที่ทำแบบนี้เพราะเราต้องตีตลาดแผ่นผีที่คุณบอกว่าคุณภาพแย่กว่าของคุณ โดยราคาที่คุณให้นั้นคุ้มค่ากว่าในเรื่องของเพลงที่สดใหม่กว่า คุณภาพดีกว่า รวดเร็วกว่า แถมด้วยค้นหาได้ง่ายกว่าอีกด้วย

อีกประเด็นคือ เพลงเก่า อย่าลืมว่าคนอยากได้เพลงเก่า ที่เพราะ ๆ ดี ๆ เยอะมากนะครับ การนำเพลงเก่า ๆ มาขายในรูปแบบออนไลน์น่าจะสร้างมูลค่าและตัวเงินได้มากขึ้นให้กับบริษัทเพลง เพราะว่าเพลงเก่าเหล่านี้ส่วนใหญ่ร้านขายเพลงไม่ค่อยเก็บไว้ มักส่งคืนหรือขายลดราคาไปหมด จนหาซื้อไม่ได้แล้ว การเอามาขายในรูปแบบที่บอกเป็นการตีตลาดเพลงเก่าของแผ่นผีได้ดีมาก เพราะแผ่นผีบางครั้งก็หาเพลงเหล่านั้นไม่ได้ด้วย

ซึ่งถ้าจะทำแนะนำว่าระบบการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์นั้นสมควรจะมีการทำระบบสารบัญ และระบบค้นหาที่ดีเพื่อการค้นหาเพลงที่ง่ายและรวดเร็วทำให้การซื้อขายเพลงราบรื่นมากขึ้นอีกด้วย

ต่อมาคือเรื่องของบริการเสริมในกรณีที่ซื้อแบบออนไลน์ อย่างผมอยากซื้อเพลงแบบเลือกได้แล้วสั่งอัดลง CD แล้วเอาเพลงต่าง ๆ ที่ได้นั้นเอามารวมเป็นอัลบั้มพิเศษ แล้วสั่งซื้อเป็น CD ของขวัญอะไรพวกนี้ แล้วมีปกเพลงที่เราเลือกเองได้ อย่างการใส่รูปตัวเอง หรือรูปแฟน อะไรพวกนี้ลงไปได้ พร้อมสกีนแผ่นให้ด้วย แล้วมีเลือกแพ็คเก็จดี ๆ สวย ๆ หรือมีส่วนของการเพิ่มรายเซ็นนักร้องคนนั้นใส่ไปด้วย (ยังไงแผ่นผีมันก็ไปขอให้เซ็นให้ไม่ได้อยู่แล้ว) น่าจะทำให้มูลค่าของสินค้าเหล่านี้สูงขึ้น (อาจจะเพิ่มราคาตาม option ที่เลือกไป ตั้งแต่ 150 – 300บาท ขึ้นอยู่กับ option ที่เลือกว่ามากแค่ไหน) ทำให้ดูมันเป็นอัลบั้มเพลงที่คน ๆ นั้นได้เลือกจริง ๆ เพราะเป็นการเลือกเพลงเองของผู้ใช้ซึ่งไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าทำแบบนี้ดี น่าจะทำให้การซื้อขายเพลงแบบออนไลน์ทำรายได้ให้กับศิลปินเพิ่มมากขึ้น แถมการทำอัลบั้มพิเศษเหล่านี้ยังเป็นการทำวิจัยตลาดไปในตัวว่าคนฟังชอบแนวไหนบ้าง รูปแบบแพ็คเก็จแบบไหนที่คนชอบ โดยไม่ต้องมาให้นักวิจัยตลาดออกไปหาข้อมูลเราสามารถหาได้แบบออนไลน์ได้เลย ซึ่งดีกว่ามาก ๆ แถมข้อมูลเที่ยงตรงอีกต่างหาก

คราวนี้คนทำเพลงก็ไม่ต้องทำเพลงให้ครบอัลบั้ม ทำออกมา 1-2 เพลงก็เอาออกขายได้เลย แล้วคนซื้อเป็นคนตัดสินว่าเพลงไหนดีไม่ดี รู้กันไปเลย ไม่ใช่มัดมือชกซื้อให้ครบทั้งอัลบั้ม ฟังอยู่ 2 เพลงอะไรแบบนี้ ซึ่งทำออกมาแล้วขายเลย มันทำให้รายได้ถึงตัวนักร้องและค่ายเพลงได้รวดเร็วด้วย

ตอนนี้คนซื้อต้องการทางเลือกของ format MP3 ที่มากกว่าแผ่นผี (อย่าง VampireS Records ฮ่า …… ) ที่มีทั้งคุณภาพและราคาที่ดี รวมไปถึงทันความต้องการของผู้บริโภคที่จะต้องการเอามาฟัง

ถ้าจะให้ดีใส่ Art Work ลงใน Meta Data ของ MP3 หรือมี Art Work ให้โหลดด้วยก็จะดีนะ ;) เพราะผมฟังใน iPod nano ครับ ไม่มี Art Work มันดูเหมือนกับเพลงไม่มีชีวิตยังไงไม่่รู้ ( -_-‘ ซะงั้นอ่ะ )

อ่านเรื่องราวคล้าย ๆ ความคิดผมได้ที่ ถึงคนทำเพลงทุกท่าน ผมมีอะไรจะบอก เรื่อง MP3 และการละเมิดฯ

อ่านความคิดเห็นอื่น ๆ ได้ที่ PANTIP.COM : A4635984 ถึงคนทำเพลงทุกท่าน ผมมีอะไรจะบอก เรื่อง MP3 และการละเมิดฯ [ดนตรี]

8 thoughts on “DRM คำตอบของสื่อออนไลน์ หรือสร้างปัญหากับผู้ซื้อ ?”

  1. มีปัญหาเรื่องไฟล์ที่ได้จาก mcot.net เหมือนกันครับ

    ตอนนี้ใช้วิธีแปลงเป็นฟอร์แมตอื่น ๆ เพื่อ bypass ปัญหาไปครับ เสียเวลาแปลงแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ฟังครับ

  2. ขอทราบวิธีการ Loop Back Audio Out ได้ไหมครับ และต้องใช้ software อะไรบ้าง ครับ
    ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ซื้อแผ่นแท้เหมือนกัน ทั้งแผ่นเพลงของ Grammy หรือแผ่น Audio เพลงสากล แผ่นของไทย นั้น ไม่สามารถ copy ลงได้เลย เนื่องจาก มีโปรแกรม
    ป้องกันการ copy แผ่น เอาไว้ ปกติผมจะใช้ iTunes format apple หรือ aiff ในการฟังเพลง และ copy เพลงลงเครื่อง เนื่องจาก ไม่อยากให้แผ่นต้นฉบับเป็นรอย และการ copy ลงเครื่อง ก็สามารถใช้หมวดหมู่ และสามารถเลือกการฟังแบบหลากหลายกว่าได้

    ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ และสนับสนุนการซื้อแผ่นลิขสิทธิ์
    (แต่คุณเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็ควรเข้ากับผู้บริโภคบ้างครับ บ่อย ๆ เข้าผมชักเบื่อหน่ายสุด ๆ กับโปรแกรมป้องการการ copy ของท่านแล้วนะครับ)

  3. การทำ Loop Back Audio Out คือการที่เราอัดผ่าน Wave out mix ครับ แทนการอัดจาก Mic ครับ ซึ่งในตอนที่อัดต้องปิดเสียง effect ของ Windows ทั้งหมด แล้วอัดเอาครับ ;)

  4. เห็นด้วยครับ
    ผมซื้อเพลงจาก เว็บ Truemusic โหลดมาหลายเพลงเลย แล้วรวมบัญชีกับบิล ADSL
    พอจะเปิดเพลงมันถามระหัสผ่านของเพลง แล้วให้กดเข้าไปใน link ที่มันให้มา
    พอเข้าไปปุ๊ป กลับไม่เห็นมีอะไร จะฟังเพลงก็ไม่ได้ โทรไปถามศูนย์ืบริการมันบอกจะดูให้
    จะแข้ไขให้ จนป่านนี้ผ่านมาตั้งอาทิตย์ ก็ยังฟังเพลงไม่ได้ เสียดายเงิน เสียความรู้สึกมาก
    ผมเลยใช้วิธี เปิดฟังจากในเว็บ แล้วใช้ NeroWaveEditer Rec ออกมาเป็น wave แล้วค่อยไปแปลงเป็น mp3 อีกทีหนึ่ง (ไม่ต้องเสียเงิน ไม่เสียความรู้สึก)

Comments are closed.